เปรียบเทียบผลลัพธ์ต่อมารดาและทารก ระหว่างสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลกุมภวาปี
คำสำคัญ:
ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์, ปัจจัยเสี่ยง, ผลลัพธ์การตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ต่อมารดาและทารกระหว่างสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และเพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลกุมภวาปี ทำการศึกษาในสตรีตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึง วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 รวมทั้งหมด 112 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 56 ราย และไม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 56 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและทำ multiple logistic regression
ผลการศึกษาพบว่า สตรีตั้งครรภ์อายุ ≥ 35 ปี ดัชนีมวลกาย (BMI) ≥ 27 kg/m2 และมีประวัติบิดามารดาเป็นเบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ; AOR 16.26 (95%CI 4.3-61.46), p<0.001, AOR 13.05 (95%CI 3.47-49.09), p<0.001 และ AOR 16.44 (95%CI 3.94-68.56), p<0.001 ตามลำดับ ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.004) โดยเฉพาะภาวะครรภ์เป็นพิษ (p = 0.006) และภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.01) โดยเฉพาะภาวะหายใจหอบ (p = 0.032) สรุปได้ว่า ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
ทิพาพร ธาระวานิช. Current Approach in GDM: Medical treatment in gestational diabetes. ใน: ประชุมวิชาการกลางปี 2562 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; วันที่ 24-26 เมษายน 2563; ณ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์. กรุงเทพฯ; 2562.
ประเสริฐ ศันสนีย์วิทยกุล, นลัท สมภักดี. เบาหวานขณะตั้งครรภ์. ใน: ประภัทร วานิชพงษ์พันธ์, กุศล รัศมีเจริญ, ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์, บรรณาธิการ. ตำราสูติศาสตร์. กรุงเทพฯ: พี เอ ลีฟวิ่ง; 2560. หน้า 152-165.
วิทูรย์ ประเสริฐเจริญสุข. Medical Complications in Elderly Gravida. Srinagarind Med J 2007; 22: 39-42.
Williams JW, Diabetes Mellitus. In: Cunningham FG, editor. Williams Obstetrics. 25thed. New York: McGraw-Hill Education; 2018. P.1097-1117.
Prakash GT, Das AK, Habeebullah S, Bhat V, Shamanna SB. Maternal and Neonatal Outcome in Mothers with Gestational Diabetes Mellitus. Indian J Endocrinol and Metab 2017; 21: 854-858.
ชัยยุทธ เครือเทศน์. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลโพธาราม: ความชุก ปัจจัยเสี่ยงทางคลินิกและผลลัพธ์การตั้งครรภ์. ว.แพทย์เขต 4-5 2553; 29: 86-93.
ศิริพร พรแสน, พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม, ชลธิลา ราชบุรี. ปัจจัยที่สัมพันธ์และผลลัพธ์การตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานที่มาคลอดโรงพยาบาลมหาสารคาม. ว.โรงพยาบาลมหาสารคาม 2561; 15: 126-134.
Johns EC, Denison FC, Norman JE, Reynolds RM. Gestational Diabetes Mellitus: Mechanisms, Treatment, and Complications. Trends in Endocrinology and Metabolism 2018; 29(12): 743-754.
อาทิตยา สิงห์วงษา, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่วินิจฉัยได้ในช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์. Thai J Obstet Gynaecol 2016; 24: 184-192.
สมบุญ จันทร์พิริยะพร. อุบัติการณ์ของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์โรงพยาบาลสมุทรสาคร. ว.แพทย์เขต 6-7 2550; 26: 36-45.
International Association of Diabetes and Pregnancy Study Groups Consensus Panel: International association of diabetes and pregnancy study groups recommendations on the diagnosis and classification of hyperglycemia in pregnancy. 2010 [cited 2022 Jan 2]. Available form https: http://diabetes journals.org/care/article/33/3/676/38903/International-Association-of-Diabetes-and
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร