ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่น: การศึกษาจากเหตุไปหาผลย้อนหลังแบบสหสถาบัน

ผู้แต่ง

  • กุลชาติ แซ่จึง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
  • เยาวเรศ กิตติธเนศวร กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลอ่างทอง
  • เมธา ทรงธรรมวัฒน์ กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลอ่างทอง
  • ปติณยา แสงอรุณ กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี
  • เอื้อมพร สุ่มมาตย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์
  • ศรีสุดา ทรงธรรมวัฒน์ กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี
  • พิมพ์ใจ มาลีรัตน์ โรงพยาบาลบ้านผือ
  • ชัชนาวดี ณ น่าน โรงพยาบาลเพ็ญ

บทคัดย่อ

การตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นเป็นปัญหาทางสูติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ งานวิจัยของไทยในเรื่องนี้ส่วนใหญ่มีขนาดตัวอย่างน้อย และเนื่องจากในปัจจุบันหญิงไทยมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเข้าสู่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่เร็วขึ้น การศึกษาถึงอายุมารดาวัยรุ่นไทยในปัจจุบันที่เริ่มเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์จึงมีความสำคัญสำหรับผู้ที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่น (>10-19 ปี) กับมารดาที่มีอายุระหว่าง 20-34 ปี และศึกษาอายุของมารดาวัยรุ่นที่เริ่มเพิ่มภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ รูปแบบวิธีวิจัยเป็นการศึกษาจากเหตุไปหาผลย้อนหลังแบบสหสถาบันในโรงพยาบาลอ่างทอง, อุดรธานี, บ้านดุง, บ้านผือ และเพ็ญ ช่วงเวลาที่ศึกษาอยู่ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 เกณฑ์การคัดเข้า ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น และหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุระหว่าง 20-34 ปีทุกราย ที่คลอดในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมวิจัยในช่วงเวลาที่ศึกษาและมีข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล เกณฑ์การคัดออกได้แก่ข้อมูลไม่ครบถ้วน ข้อมูลเชิงพรรณาจะนำเสนอโดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือจำนวนและร้อยละ ส่วนการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มมารดาวัยรุ่นและมารดาอายุ 20-34 ปี จะใช้การทดสอบ unpaired T test และ Pearson’ s chi square และทำการวิเคราะห์ค่า Crude และ adjusted Odds ratio และช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์โลจิสติกแบบถดถอยชนิดตัวแปรเดียวและพหุตัวแปร โดยปรับค่าตัวแปรที่อาจมีผลต่อภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก  และทำการวิเคราะห์อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนอายุของมารดาแต่ละปี

ผลการศึกษา พบมีผู้คลอดจำนวน 24,068 ราย โดยเป็นมารดาวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี ร้อยละ 13.24 ในมารดาวัยรุ่นมีภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 43.35 จะเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยมีค่า adjusted Odds ratio (aOR) เท่ากับ 1.15 (95% CI 1.05 - 1.25, p=0.002) เมื่อเทียบกับมารดาอายุ 20-34 ปี ความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ ทารกแรกคลอดน้ำหนัก <2,500 กรัม (aOR 1.24 (95% CI 1.09-1.40), p=0.001), ทารกคลอดก่อนกำหนด (aOR 1.16 (95%CI 1.02-1.32), p=0.023), ภาวะเลือดจางก่อนคลอด (aOR 1.62 (95% CI 1.42-1.85), p<0.001) และค่าคะแนน Apgar ต่ำ (aOR 1.27 (95% CI 1.04-1.54), p=0.018) โดยพบว่ามารดาวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี มีภาวะแทรกซ้อนสูงกว่ากลุ่มอายุ 15-19 ปี (aOR 1.82, (95%CI 1.25-2.65), p=0.002) และพบว่าความเสี่ยงของมารดาวัยรุ่นจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมารดา <15 ปี

สรุป พบความชุกมารดาวัยรุ่นร้อยละ 13.24 ของผู้คลอด มารดาวัยรุ่นมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม, ทารกคลอดก่อนกำหนด, ภาวะเลือดจางก่อนคลอด, ทารกค่าคะแนน Apgar ต่ำ โดยพบว่าความเสี่ยงของมารดาวัยรุ่นจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมารดาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 ปี

 

References

Pornpatkul V. Neonates outcomes from teenage mothers. J Preventive Med Asso Thai 2017;7:56-64.

Thongsamrit A. Pregnancy outcomes between teenage pregnancy and adult pregnancy. J Preventive Med Asso Thai 2017;7:223-35.

Strategy and Planning Division MoPH. Statistical Thailand 2017. Nonthaburi: Strategy and Planning Division, Minitry of Public Health.; 2017.

Department of Health, Ministry of Public Health. Birth Statistics of Thai teenagers in 2015. Bangkok: Agricultural Cooperatives of Thailand; 2015.

วิชญา เวชยันต์ศฤงคาร. ผลของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นที่คลอดครรภ์แรกในโรงพยาบาลบางใหญ่. ารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2555 ;29:82-92.

สลักจิต วรรณโกษิตย์. การศึกษาเปรียบเทียบผลการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ที่มาคลอดในโรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2555;29:283-92.

Meengeonthong D, Oberdorfer P. Comparison of complications of teenage pregnancy and adult pregnancy at Sanpatong Hospital Chiang Mai. J of Nakornping Hosp 2018;9:41-53.

Anusornteerakul S, Srisaeng P, Chanvirata S. Pregnancy and birth outcomes among adolescent mothers. J of Nursing Science & Health 2013;36:46-56.

มรกต สุวรรณวนิช. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดในโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5.2559;35:37-44.

Lawaratanakorn B. Maternal age and neonatal outcomes, in pregnant women and child who gave birth at Kanthaluck Hospital. J of ODPC 10th Ubon Ratchathani 2013;11:1-9.

รัตน์ มณีพิทักษ์สันติ. ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ของมารดาวัยรุ่นและมารดาอายุมากกว่า 35 ปีในโรงพยาบาลพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. ว.วิชาการสาธารณสุข. 2557;23:69-74.

Watcharaseranee N, Pinchantra P, Piyaman S. The incidence and complications of teenage pregnancy at Chonburi Hospital. J Med Assoc Thai 2006;89:118-23.

Kovavisarach E, Chaisaj S, Tosang K, Asavapiriyanont S, Chotigeat U. Outcome of teenage pregnancy in Rajavithi Hospital. J Med Assoc Thai 2019;93:1-8.

Makinson C. The health consequences of teenage fertility. Fam Plann Perspect 1985;17:132-9.

World Health Organization. Adolescent pregnancy. 2022. Available from: https://www. who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-pregnancy

Darroch J, Woong V, Bankole A. Adding it up: Costs and benefits of meeting the contraceptive needs of adolescents. New York: Guttmacher Institute; 2016.

UNFPA. Girlhood, not motherhood: Preventing adolescent pregnancy. New York: : UNFPA; 2015.

Neal S, Matthews Z, Frost M, Fogstad H, Camacho AV, Laski L. Childbearing in adolescents aged 12-15 years in low resource countries: a neglected issue. New estimates from demographic and household surveys in 42 countries. Acta Obstet Gynecol Scand 2012; 91: 1114-8.

World Health Organization. Global health estimates 2015: deaths by cause, age, sex, by country and by region, 2000–2015. Geneva: WHO; 2016.

Martin JA, Hamilton BE, Osterman MJK, Driscoll AK. Births: Final Data for 2019. Natl Vital Stat Rep 2021;70:1-51.

Department of Health, Ministry of Public Health. Yearly Report: 2019. Department of Health, Minitry of Public Health.; 2019.

Traisrisilp K, Jaiprom J, Luewan S, Tongsong T. Pregnancy outcomes among mothers aged 15 years or less. J Obstet Gynaecol Res. 2015 Nov; 41(11): 1726-31.

Ganchimeg T, Ota E, Morisaki N, Laopaiboon M, Lumbiganon P, Zhang J, et al. Pregnancy and childbirth outcomes among adolescent mothers: a World Health Organization multicountry study. BJOG 2014;121 Suppl 1:40-8.

Fraser AM, Brockert JE, Ward RH. Association of young maternal age with adverse reproductive outcomes. N Engl J Med 1995; 332: 1113-7.

พิริยา ทัตตินาพานิช. ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มาคลอดในโรงพยาบาลหนองคาย. Health science clinical research. 2563; 35:64-73.

Ekwo EE, Moawad A. Maternal age and preterm births in a black population. Paedriatric and Perinatal Epidemiology. April 2000; 14: 145-151.

Reichman NE, Pagnini DL. Maternal age and birth outcomes: data from New Jersey. Fam Plann Perspect 1997; 29: 268-72, 95.

Khashan AS, Baker PN, Kenny LC. Preterm birth and reduced birthweight in first and second teenage pregnancies: a register-based cohort study. BMC Pregnancy Childbirth 2010; 10: 36.

Sukhopon W, Anakrat W, Pradyachaipimon A. The Prevalence of Preterm Delivery and Adverse Pregnancy Outcomes in Healthy Singleton Teenage Pregnancies at Charoenkrung Pracharak Hospital. TJOG 2021;29:298-304.

Lockwood. CJ. Preterm labor: Clinical findings, diagnostic evaluation, and initial treatment. In: Vincenzo Berghella VAB, editor. UpToDate; 2022.

Ogawa K, Matsushima S, Urayama KY, Kikuchi N, Nakamura N, Tanigaki S, et al. Association between adolescent pregnancy and adverse birth outcomes, a multicenter cross sectional Japanese study. Sci Rep 2019; 9: 2365.

Macedo TCC, Montagna E, Trevisan CM, Zaia V, Oliveira RD, Barbosa CP, et al. Prevalence of preeclampsia and eclampsia in adolescent pregnancy: A systematic review and meta-analysis of 291,247 adolescents worldwide since 1969. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2020;2 48: 177-86.

Areemit R, Thinkhamrop J, Kosuwon P, Kiatchoosakun P, Sutra S, Thepsuthammarat K. Adolescent pregnancy: Thailand's national agenda. J Med Assoc Thai 2012; 95 Suppl 7: S134-42.

Scholl TO, Decker E, Karp RJ, Greene G, Sales MD. Early adolescent pregnancy: a comparative study of pregnancy outcome in young adolescents and mature women. J Adolesc Health Care 1984; 5: 167-71.

Phipps MG, Sowers M. Defining Early Adolescent Childbearing. American Journal of Public Health (AJPH). January 2002; 92: 125-128.

Olausson PM, Cnattingius S, Goldenberg RL. Determinants of poor pregnancy outcomes among teenagers in Sweden. Obstet Gynecol 1997: 89: 451-457

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31