ประสิทธิผลของการใช้ “เกณฑ์วิธีและแนวปฏิบัติตามคำสั่งการแพทย์และการอำนวยการสำหรับหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน เขตสุขภาพที่ 8 พ.ศ. 2564” ในเจ้าหน้าที่กู้ชีพระดับ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ขึ้นไป ของศูนย์สั่งการและ แจ้งเหตุ 1669 อุดรธานี
คำสำคัญ:
พนักงานฉุกเฉินการแพทย์, นักปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน, คำสั่งการแพทย์และการอำนวยการบทคัดย่อ
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งมีความสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีความปลอดภัย สามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์และทางสาธารณสุขได้อย่างรวดเร็วทั่วถึง ระยะแรกของการให้บริการเน้นการนำส่งผู้ป่วยให้เข้าถึง สถานพยาบาลที่เหมาะสมรวดเร็วเพียงอย่างเดียว ซึ่งยังไม่เพียงพอ จึงมีความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย ก่อนและระหว่างการนำส่งโรงพยาบาลมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวทางปฏิบัตินี้เป็นกิจกรรม ที่สำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้ลดอัตราความพิการ หรือเสียชีวิตลงได้ การศึกษานี้เป็นการศึกษาก่อนทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ “เกณฑ์วิธีและแนวปฏิบัติตามคำสั่งการแพทย์และการอำนวยการสำหรับหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน เขตสุขภาพที่ 8 พ.ศ. 2564” ในเจ้าหน้าที่กู้ชีพระดับพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ขึ้นไป ในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดอุดรธานี วิธีการวิจัยคือ เปรียบเทียบผลคะแนนการทำข้อสอบภาคทฤษฎีสำหรับการสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรปฏิบัติการฉุกเฉิน ระดับพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (พฉพ.) ก่อนและหลังการอบรม ของเจ้าหน้าที่กู้ชีพระดับพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ขึ้นไป ในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดอุดรธานี โดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนโดยใช้สถิติ Paired dependent T-test ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาคะแนนในการทำข้อสอบก่อนการอบรมโดยใช้ “เกณฑ์วิธีและแนวปฏิบัติตามคำสั่งการแพทย์และการอำนวยการสำหรับหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน เขตสุขภาพที่ 8 พ.ศ. 2564” มีค่าเฉลี่ย 91.3 คะแนน (SD=7.6) และหลังการอบรมคะแนนเฉลี่ย 103.7 คะแนน (SD=8.6) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)
สรุป การใช้ “เกณฑ์วิธีและแนวปฏิบัติตามคำสั่งการแพทย์และการอำนวยการสำหรับหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน เขตสุขภาพที่ 8 พ.ศ. 2564” ในการอบรมสามารถเพิ่มความรู้ และคะแนนในการทำชุดข้อสอบภาคทฤษฎีฯตามหลักการคัดแยกและจ่ายงานบริบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน 25 แนวปฏิบัติ (CBD) ซึ่งคาดว่าจะ เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย
References
เอกภักดิ์ ระหว่างบ้าน, บรรณาธิการ. เกณฑ์วิธีและแนวปฏิบัติตามคำสั่งการแพทย์และการอำนวยการสำหรับหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน เขตสุขภาพที่ 8 พ.ศ. 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร; 2564.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.). ชุดคลังข้อสอบภาคทฤษฎี สำหรับการสอบเพื่อขอรับประกาศนียบัตรปฏิบัติการฉุกเฉิน ระดับ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (พฉพ.)
Holliman CJ, Wuerz RC, Vazquez-de Miguel G, Meador SA.Comparison of interventions in prehospital care by standing orders versus interventions ordered by direct [online] medical command. Prehospital and Disaster Medicine 1994; 9(4):202-9.
Hagiwara MA, Kängström A,Jonsson A, Lundberg L. Effect of simulation on the clinical competence of Swedish ambulance nurses. The Official Journal of Paramedics Australasia 2014;11(2):1-7
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร