การเปรียบเทียบกรณีศึกษาการพยาบาลห้องผ่าตัดผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
คำสำคัญ:
กระดูกข้อสะโพกหัก, การพยาบาลห้องผ่าตัด, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมบทคัดย่อ
กระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ เป็นการบาดเจ็บด้านศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ เป็นปัญหาสำคัญ ที่ต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม การรักษาโดยการผ่าตัดเป็นการรักษาที่ดีมากในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและฟื้นคืนสู่สภาพหลังผ่าตัด พยาบาลห้องผ่าตัดมีบทบาทสำคัญในการดูแลโดยใช้กระบวนการพยาบาล เพื่อการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัด ผู้ป่วยกลับไปใช้ขีวิตใกล้เคียงกับภาวะปกติ รายงานผู้ป่วยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย เรื่องการพยาบาลห้องผ่าตัดผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โดยเปรียบเทียบ ข้อมูลทั่วไป การวินิจฉัยทางการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล คัดเลือกผู้ป่วยหญิงสูงอายุที่มีโรคร่วม ที่มารับบริการผ่าตัดในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสกลนคร ระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้กรอบแนวคิดแบบประเมินสุขภาพตามแนวคิด 11 แบบแผนของกอร์ดอน (Gordon) และการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
ผลการศึกษา: พบว่า ข้อมูลทั่วไป สาเหตุ อาการและอาการแสดง การวินิจฉัยไม่แตกต่างกัน แต่การดำเนินโรคแตกต่างกัน ผู้ป่วยกรณีศึกษาที่ 1 ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ได้รับการผ่าตัด Bipolar cementless hemiarthroplasty Left femur, ORIF with wiring proximal femur ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย (Gerneral anesthesia) ผู้ป่วยกรณีศึกษาที่ 2 มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า และมีประวัติหลอดเลือดสมองตีบและความดันโลหิตสูง ควมคุมได้ไม่ดี ได้รับการผ่าตัด bipolar cementless hemiarthroplasty right femur โดยการให้ยาระงับความรู้สึกแบบฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง (Spinal block) ขณะผ่าตัด พบว่า กรณีศึกษา ทั้ง 2 ราย มีข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ใกล้เคียงกัน 19 ข้อ และข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่แตกต่างกัน 2 ข้อ หลังผ่าตัดผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ปลอดภัยจากการผ่าตัด ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้ป่วยกรณีศึกษา ทั้ง 2 ราย เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวร่วม ที่ต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัด จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบ จากทีมสหสาขาวิชาชีพ ดังนั้น พยาบาลห้องผ่าตัดซึ่งมีบทบาทสำคัญในทีมสุขภาพ ต้องมีสมรรถนะในการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ทั้งในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด หลังผ่าตัด รวมทั้งมีแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลที่เฉพาะ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
References
กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาการสาธารณสุขในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 [อินเทอร์เน็ต]. 2560-2564. [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www. moph.go.th.
กรมสุขภาพจิต. กระทรวงสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.
Singh, S., Charrles, L., Maceachem, C. F., & Changulani, M. Compkication of surgical management of hip fracture. Orthopaedics and trauma, 2016; 30(2), 137-144.
Folbert, E.C., Hegeman, J.H., Glerveld, R., Van Netten J.J., Velde D.V., Ten Duis H.J., slaets J.P. Complications during hospitalization and risk factors in elderly patients with hip tracture following integrated orthogeriatic treatment. Archives of Orthopaedic and Trauma Surgery, 2017; 137(4), 507-515.
บรรจง มไหสวริยะ และ บวรรัฐ วนดุรงค์วรรณ. กระดูกหักและข้อเคลื่อนบริเวณสะโพก. ใน: ธีรวัฒน์ กุลธนันท์, ภานุพันธ์ ทรงเจริญ, ตำราออร์ปิดิกส์ 1 Textbook of Orthopaedic 1. กรุงเทพมหานคร: มีเดียเพรส; 2551. 163 -180.
กีรติ เจริญชลวานิช. Hemiarthoplasty and total hip arthroplasty in orthopaedic nursing care, Advance orthopaedic nursing care. เอกสารประกอบการประชุมเนื่องในวาระครบรอบ ศิริราช ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทย์ศาสตร์สศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.
ไพรัช ประสงค์จีน. กระดูกหักและข้อเคลื่อน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์; 2552. 134 -135.
เรณู อาจสารี. การพยาบาลผู้ที่มารับการผ่าตัด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น พี เพรส; 2555.164.
สภาการพยาบาล. ประกาศสภาการพยาบาลเรื่อง มาตรฐานการพยาบาล พ.ศ. 2562, [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tnmc.or.th/
สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล บทที่ 8 มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2563.
สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย. สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ลักษณ์; 2554. 43.
ทัศนา บุญทอง. ทิศทางการปฏิรูประบบบริการพยาบาลที่สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพไทยที่พึงประสงค์ในอนาคต. กรุงเทพมหานคร : ศิริยอดการพิมพ์; 2543.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน), บรรณาธิการ. แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการ การผ่าตัดกระดูกข้อสะโพกหักในผู้ป่วยสูงอายุฉบับ 25 พฤศจิกายน 2563. การประชุมชี้แจงการดําเนินงานโครงการนําร่องการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีกระดูกข้อสะโพกหัก; 6 มกราคม 2564. เอกสารอัดสำเนา.
กลุ่มงานสารสนเทศโรงพยาบาลสกลนคร. สถิติผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักทีได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. โรงพยาบาลสกลนคร; 2565.
แผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2565. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nrct.go.th/e-publish1/actionplan-utilization/files/basic-html/page9.html.
สุภาพ อารีเอื้อ. การพยาบาลออร์โธปิดิกส์: จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก. กรุงเทพมหานคร: ไอดี ดิจิตอล พริ้นท์; 2564.
โสภิต เลาหภักดี. การพยาบาลผู้สูงอายุข้อสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมและมีโรคร่วม. วารสารวิทยาลัยพระจอมเกล้า. 2563; 3: 224-240.
พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล แบบแผนสุขภาพ การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์อักษร; 2558.
Gordon M. Gordon’s 11 Functional Health Pattern [Internet]. [cited 2022 January 20]. Available from: http://www.postrnbsn.blogspot. com/2019/05/gordons-11-functional-health-pattern.html.
เสาวภา อินภา.คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับกระดูกหักที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. 2557. 51-74.
World Health Organization. WHO Surgical Safety Checklist [Internet]. [cited 2022 January 20]. Available from: https://www.who.int/teams/integrated-health-services/patient-safety/research/ safe-surgery/tool-and-resources.
อรพรรณ โตสิงห์.การพยาบาลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.171-183.
ห้องผ่าตัด. โรงพยาบาลสกลนคร. แนวปฏิบัติตามแบบบันทึกการตรวจสอบความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด (Surgical Safety Checklist). 2565.
ห้องผ่าตัด. โรงพยาบาลสกลนคร. แนวปฏิบัติการนับอุปกรณ์เครื่องมือ ผ้าซับโลหิต. 2565.
จิณพิชญ์ชา มะมม. การพยาบาลผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อกรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2562.
ฉัตรประอร งามอุโฆษ. แนวทางการรักษาเบาหวานในเชิงปฏิบัติ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rama.ma hidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/practical%20treatment%20for%20diabetes.pdf
พรสินี เต็งพานิชกุล. การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. ใน ณัฐมา ทองธีรธรรม, ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง, พรสินี เต็งพานิชกุล, และอรพรรณ โตสิงห์, บรรณาธิการ, การพยาบาลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์.กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559. 172-182.
เสาวภา อินภา. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. งานการพยาบาลศัลยศาสตร์ออร์ปิดิกส์ โรงพยาบาลศิริราช. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https//www.xn12ct8frbwp.com/know ledges/book9.pdf
สุขใจ ศรีเพียรเอม. คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. งานการพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน. กระทรวงสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ19 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:http//lerdsin.go.th/ex/book/ortho_book.pdf.
ชมรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกผู้ป่วยเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. กรุงเทพมหานคร: เอ็นพีเพลส; 2561.21 - 52
วรรณี สัตยวิวัฒน์. การพยาบาลผู้ป่วยออร์ปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: เอ็นพีเพลส; 2553. 419 - 452.
ศิริวรรณ บุญฐิติกุล. คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. โครงการสอนสุขศึกษาในหอผู้ป่วย ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสิศิริราช. 2563; 10.
วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, ชูศักดิ์ กิจคุณาเสถียร, สุกิจ เลาหเจริญ สมบัติ, สรศักดิ์ ศุภผล. ออร์โธปิดิกส์ ฉบับเรียบเรียงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2560. 596.
Joanna Brigs Institute. Change practice: An introduction to systematic review 2020. [Internet]. [cited 2022 January 24]. Available from http:// www.Joannabrigs. edu.au.
Roberts KC, Brox WT. AAOS clinical practice guideline: management of hip fractures in the elderly. J AM Acad Orthop Surg. 2015;23:138-40.
Jillian M. Kazley MD, Samik Banerjee MBBS, Mostafa M. Abousayed MD, Andrew J. Rosenbaum MD. Brief Garden Classification of Femoral Neck Fractures. Clinical Orthopaedics and Related Research. 2018; 476:441-445. [Internet]. [cited 2022 January 24]. Available from https://www.ncbi.nlm.nih. gov/pmc/articles/PMC625 9691/pdf/abjs-476-441.pdf.
Joanna Brigs Institute. Change practice: Appraising systematic Review 2020. [Internet]. [cited 2022 January 24]. Available from http://www.Joannabrigs. edu.au.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร