ผลโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พรณภา ราญมีชัย กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ หน่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว, การเตรียมลำไส้, การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยก่อนทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการเตรียมลำไส้และความสะอาดของลําไส้ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยนอกที่จะเข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เป็นครั้งแรกที่โรงพยาบาลอุดรธานีตามเกณฑ์คัดเข้า ระหว่างเดือนเมษายน ถึง สิงหาคม พ.ศ.2564 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 36 คน จับคู่กลุ่มตัวอย่างด้วยเพศ อายุ และชนิดยาระบาย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวตามทฤษฎีการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวของ Ryan&Sawin ซึ่งนำครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย 5 ขั้นตอน คือ การตั้งเป้าหมาย สะท้อนความคิด วางแผนการปฏิบัติ ตัดสินใจและประเมินผล เครื่องมือในการวิจัยมีดังนี้ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว ประกอบด้วย คู่มือปฏิบัติตัวและสื่อวีดิทัศน์ผ่านไลน์แอปพลิเคชันการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพของผู้ป่วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลหลักและแบบประเมินพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แบบประเมินระดับความสะอาดของลำไส้ตามเกณฑ์ Aronchick Bowel Preparation Scale (ABPS) และ 3) แบบวัดความรู้การเตรียมตัวการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน คู่มือปฏิบัติตัวการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ สื่อวีดิทัศน์ผ่านไลน์แอปพลิเคชันการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพของผู้ป่วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลหลัก แบบประเมินพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ และแบบวัดความรู้การเตรียมตัวการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่มีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 0.80, 0.85, 1.0, 0.85, 0.80, 0.80 ตามลำดับ แบบประเมินพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ใช้ Mann Whitney U Test และ Chi-Square Test

               ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง 72 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.3 อายุเฉลี่ย 59.3 ปี กลุ่มทดลอง มีคะแนนพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ทุกกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์ดีกลุ่มควบคุม มีคะแนนพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ทุกกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง พฤติกรรมการเตรียมลำไส้ผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ทุกกิจกรรม เมื่อพิจารณาระดับความสะอาดของลำไส้ใหญ่ พบว่า กลุ่มทดลอง ผ่านเกณฑ์สะอาด ร้อยละ 97.2 ในคนที่กลุ่มควบคุม ผ่านเกณฑ์เพียง ร้อยละ 30.6 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ p<0.001

               สรุปได้ว่า การให้โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวมีผลต่อคะแนนพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องตรวจลำไส้ใหญ่ดีขึ้น

 

 

 

Author Biography

พรณภา ราญมีชัย , กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ หน่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร โรงพยาบาลอุดรธานี

 

 

References

Amitay EL, Niedermaier T, Gies A, Hoffmeister M, Brenner H. Risk Factors of Inadequate Bowel Preparation for Screening Colonoscopy. J Clin Med [Internet]. 2021 [cited 2022 Sep 1]; 10(2): 2740. Available from: https://doi.org/10.3390/jcm10122740

จิดา โรจนเมธินทร์. แผนยุทธศาตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ.2563-2565 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/th/Today/download2063-65.pdf

กรมการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2563 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2563/index.html

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. วิจัยระบบสุขภาพ 2561 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hsri.or.th/researcher/media/e-journal/editorial-letter/detail/11321

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. วันมะเร็งโลก 4 กุมภาพันธ์ สปสช. ชวนคนไทยคัดกรอง 3 มะเร็งร้าย [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso. go.th/news/3476

กรมการแพทย์ คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ.2561-256 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 28 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nci.go.th/th/File_download/D_index(2561)

Niederreiter M, Niederreiter L, Schmiderer A. Tilg H. Djanani A. Colorectal cancer screening and prevention-pros and cons. Magazine of European Medical Oncology [Internet]. 2019 [cited 2022 Sep 1]; 12:239-43. Available from: https://link.springer.com/article/10.1007/s12254-019-00520-z

Schwartz PH, Edenberg E, Barrett PR, Perkins SM, Meslin M, Imperiale TF. Patient Understanding of Benefits Risks and Alternatives to Screening Colonoscopy. Family medicine [Internet]. 2013 [cited 2022 Sep 1]; 45(2): 83-9. Available from: https://philarchive.org/archive/SCHPUO-6

Mohammadali Z, Cuong ND, Heffernan A, Johnston L, Mohammed A. Factors affecting bowel preparation adequacy and procedural time. An Open Access Journal of Gastroenterology and Hepatology [Internet]. 2019 [cited 2022 Sep 1]; 4: 206-14. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC71447 87/

Lebwohl B, Kastrinos F, Glick M, Rosenbaum AJ, Wang T, Neugut AI. The impact of suboptimal bowel preparation on adenoma miss rates and the factors associated with early repeat colonoscopy. Gastrointestinal Endoscopy [Internet]. 2011 [cited 2022 May 15]; 73(6): 1207-14. Available from: https://www.giejournal.org/article/S0016-5107(11)00120-9/pdf

Chan OO A, Louis NW, Lee WN L, Chan WC A, Ho NW, Chan LW Q, et al. Predictive factors for colonoscopy complications [Internet]. 2015 [cited 2022 May 10]; 21(1): 23-9. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25634931/

Elvas L, Brito D, Areia M, Carvalho R, Alves S, Saraiva S, et al. Impact of Personalised Patient Education on Bowel Preparation for Colonoscopy: Prospective Randomised Controlled Trial. GE Port J Gastroenterol [Internet]. 2017 [cited 2022 May 10]; 24(1): 22-30. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm. nih.gov/28848777/

Shah AS, Zhou E, Parikh ND. Factors affecting outpatient bowel preparation for colonoscopy. Int J Gastrointest Interv [Internet]. 2019 [cited 2022 May 10];8(2):70-3. Available from: https://www.ijgii.org/journal/view.html?volume=8 &number=2&spage=70

Su H, Lao Y, Wu J, Liu H, Wang C, Liu K, et al. Personal instruction for patients before colonoscopies could improve bowel preparation quality and increase detection of colorectal adenomas. Ann Palliative Med [Internet]. 2020 [cited 2022 May 30]; 9(2): 420-6. Available from: https://apm.amegroups.com/

กรพัชชา คล้ายพิกุล, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักในผู้สูงอายุ.ว. มฉก. วิชาการ 2561; 21(42): 123-37.

Tan L, Lin ZC, Ma S, Romero L, Warrier S. Bowel preparation for colonoscopy. Cochrane Database Syst Rev [Internet]. 2018 [cited 2022 May 30]; 11: 1-26. Available from: https://www. ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6516846/

Paraskevas GP, Tziatzios G, Papanikolaou IS, Triantafyllou K. Strategies to Improve Inpatients’ Quality of Bowel Preparation for Colonoscopy: A Systematic Review and Meta-Analysis. Gastroenterology Research and Practice 2019 Nov 8;2019:1-15.

Kastenberg D, Bertiger G, Brogadir S. Bowel preparation quality scales for colonoscopy Author information Article notes Copyright and License information Disclaimer. World J Gastroenterol 2018 Jul 14; 24(26): 2833–43.

Ryan P, Sawin K. The Individual and Family Self-Management Theory: background and perspectives on context, process, and outcomes. Nursing outlook 2009; 57: 217-25.

ญณัช บัวศรี. ศึกษาผลของโปรแกรมการจจัดการตนเองและครอบครัวต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

ซาลีฮา สา, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์, จารุวรรณ กฤตย์ประชา. พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมป้องกันการกลับเป็นโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดซ้ำในผู้สูงอายุมุสลิม. การประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019”; 15 พฤศจิกายน 2562; ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: 2562.

Ngam, C. [Screen name]. (2022, may 2). Sample size calculation using n4Studies [Video file]. Available from: https://www.youtube.com/watch?v=X17XUbRSybU

Walter B, Klare P, Strehle K, AschenbeckJ, Ludwig L, Dikopoulos N, et al. Improving the quality and acceptance of colonoscopy preparation by reinforced patient education with short message service: results from a randomized, multicenter study (PERICLES-II). Gastrointestinal Endoscopy [Internet]. 2019 [cited 2022 May 30]; 89(3): 506-13. Available from: https://pubmed.ncbi. nlm.nih.gov/30138612/

Turney S. Scirbbr [internet]. place unknown: publisher unknown; 2022 6 [cited 2023 April 21]. Available from: https://www.scribbr.com/statistics/central-limit-theorem/

สุทธานันท์ กัลกะ, รุ่งนภา จันทรา, อติญาณ์ ศรเกษตริน, ศุภลักษณ์ ธนาโรจน์, วิลาวัณย์ เศาจวุฒิพงศ์. ผลของการใช้สื่อวีดีทัศน์หนังตะลุงและคู่มือการดูแลตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27(1): 146-56.

เพ็ญศรี จะนู. ผลการใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต่อระดับความรู้และความพึงพอใจในผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก ห้องผ่าตัด หูคอ จมูก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ว.โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 2561; 3(3): 47-65.

Benjamin B. Taxonomy of education obectives the classification of educational Goals handbookI: Cognative domain [Internet]. New York: David Mckay; 1970 [cited 2022 may 28]. Available from: https://www.uky.edu/~rsand1/china2018/texts/Bloom%20et%20al%20Taxono-my%20of%20Educational%20Objectives.pdf

Aronchick AC. Bowel preparation scale. Gastrointest Endosc [Internet]. 2004 [cited 2022 Sep 20]; 60(6): 1037-8. Available from: https://www.giejournal.org/article/S0016-5107(04)02213-8/fulltext

Cronbach LJ. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika [Internet]. 1951 [cited 2022 May 5]; 16(3): 297-334. Available from: http://cda.psych.uiuc.edu/psychometrika_highly_cited_articles/cron bach_1951.pdf

ศุภางค์ ดำเกิงธรรม, ยุพาพร หงส์สามสิบเจ็ด, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. ผลการใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึกต่อความรู้และความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก โรงพยาบาลแพร่. ว.โรงพยาบาลแพร่ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2565]; 29(1): 54-64. เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/ACER/Downloads/ 10682-Article%20Text-16386-1-10-20210902%20(2).pdf

อุทัย ยะรี, มัณฑนา สีเขียว. การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในยุคไทยแลนด์ 4.0. ว.มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง 2562; 8(1): 222-238.

Desai M, Nutalapati V, Bansal A, Buckles D, BoninoJ, Olyaee M, Rastogi A, et al. Use of smartphone applications to improve quality of bowel preparation for colonoscopy: a systematic review and meta-analysis. Endosc Int Open [Internet]. 2019 [cited 2022 Sep 20]; 7(2): E216-E24. Available from: https://pubmed.ncbi. nlm.nih.gov/30705956/Madhav DesaiM.,et al.

Ye Z, Chen J, Xuan Z, Gao M, Yang H. Educational video improves bowel preparation in patients undergoing colonoscopy: a systematic review and meta-analysis. Annals of Palliative Medicine [Internet]. 2020 [cited 2022 Sep 7]; 9(3): 671-81. Available from: https://cdn.ame groups.cn/journals/amepc/files/journals/8/articles/40218/public/40218-PB3-8408-R2.pdf

แสงอรุณ สุรวงค์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์]. กรุงเพทฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

Jiang W, Feng M, Gao C, Li J, Gao R, Li J, Gao R, Wang W. Effect of a nurse-led individualized self-management program for Chinese patients with acute myocardial infarction undergoing percutaneous coronary intervention. Eur J Cardiovasc Nurs 2020; 19(4): 320-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30