ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์ ต่อการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก

ผู้แต่ง

  • ดลณชา อิสริยภานันท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์
  • นวลใย พิศชาติ คณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์
  • อุบล ชุ่มจินดา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์
  • วิเนตรา แน่นหนา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์

คำสำคัญ:

ความสุข, นักศึกษาพยาบาล, การเรียนการสอนแบบเชิงรุก

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์ ต่อการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (active learning) และปัจจัยที่มีผลต่อความสุขและวิธีการที่นักศึกษาใช้ในการจัดการเมื่อไม่มีความสุขกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นประชากรทั้งหมดที่เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 403 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความสุขของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์ต่อการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุกประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย ฉบับสั้น 15 ข้อ (Thai Happiness Indicators; THI – 15) ฉบับมาตรฐานของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับวิธีการจัดการเมื่อไม่มีความสุข จำนวน 25 ข้อ และ 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับความสุขในการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (active learning) จำนวน 25 ข้อ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย แบบสอบถามเกี่ยวกับวิธีการจัดการเมื่อไม่มีความสุข แบบวัดความสุขในการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (active learning) เท่ากับ 0.81, 0.80, 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและ One way ANOVA

               ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาล 403 คน คะแนนเฉลี่ยความสุขอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (x̄ = 32.17, SD = 4.11) โดยพบว่านักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยความสุขสูงสุด (x̄ = 33.35, SD = 4.18) อยู่ในเกณฑ์ดี รองลงมาคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 (x̄ = 33.02, SD = 3.91, อยู่ในเกณฑ์ดี) คะแนนเฉลี่ยความสุขอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง พบในชั้นปีที่ 2 (x̄ = 31.51, SD = 4.01) และชั้นปีที่ 3 (x̄ = 31.10, SD = 4.29) ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (active learning) มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.18, SD = 0.50) เมื่อพิจารณาปัจจัยแต่ละด้านพบว่า ปัจจัยภายในโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.24, SD = 0.62) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านภาวะสุขภาพอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.32, SD = 0.82) ส่วนปัจจัยภายนอกมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.11, SD = 0.63) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านครอบครัวอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.49, SD = 0.71) วิธีการจัดการเมื่อมีความทุกข์ใจ 3 ลำดับแรกคือ ยอมรับสภาพตัวเอง, มองโลกในแง่ดี และปรึกษาเพื่อน

 

 

Author Biographies

ดลณชา อิสริยภานันท์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์

 

 

นวลใย พิศชาติ , คณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์

 

 

 

อุบล ชุ่มจินดา, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์

 

 

 

วิเนตรา แน่นหนา , คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมธารัถย์

 

 

References

นิตยากร ลุนพรหม, อุมาพร เคนศิลา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความสุขของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานีการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3“นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก” 2562; 3(1): 555-563.

เกษร เกษมสุข, กรรณิกา วิชัยเนตร. การศึกษาความสุขของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ว.พยาบาลทหารบก 2560; 18(3): 228-235.

ธนพล บรรดาศักดิ์, กนกอร ชาวเวียง, นฤมล จันทรเกษม. ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. ว.สันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท 2560; 5(1): 357-369.

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. การจัดการเรียนรู้Active Learningให้สำเร็จ. ว.วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2562; 3(1): 135-145.

ภริมา วินิธาสถิตกุล, ชนินันท์ แย้มขวัญยืน. การเรียนรู้เชิงรุก: แนวทางการเรียนการสอนที่เป็นเลิศในศตวรรษที่ 21. ว.นวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย 2565; 6(3): 921-933.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบสอบถามดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย (Thai Happiness Indicators หรือ THI) ฉบับสั้น 15 ข้อ (THI – 15) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dmh.go.th

จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์, ภัทรกันย์ ติเอียดย่อ, จันทนี ปลูกไม้ดี, ศรัญญา ทิ้งสุข, สุพรรษา สุดสวาท, กนกพร สงปราบ. ความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2559; 34(5): 269-279.

อมรรัตน์ ศรีคำสุข ไซโตะ, วิภาพร วรหาญ, วิพร เสนารักษ์. ความสุขของนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต.ว.พยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2554; 34(2): 70-79.

ฐมาพร เชี่ยวชาญ, อภิฤดี พาผล. ความเครียดในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล. ว.วิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2564; 15(1): 21-28.

ยุพา วงศ์รสไตร, วราภรณ์ ดีน้ำจืด. ความสุขในการเรียนนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. ว.การพยาบาลและการศึกษา 2563; 15(1): 43-57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30