ประสิทธิผลการประเมินโอกาสรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บ ณ ห้องฉุกเฉิน โดยพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ดาวเรือง ข่มเมืองปักษ์ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี
  • รัตนา สังฆสอน กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

โอกาสรอดชีวิต, ระยะเวลารอคอยในห้องฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ประเมินประสิทธิผลการทำนายโอกาสรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา 1) พยาบาลวิชาชีพกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินจากโรงพยาบาลใน 5 เขตสุขภาพ คือ โรงพยาบาลอุดรธานี, โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, โรงพยาบาลราชบุรี, โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และโรงพยาบาลกำแพงเพชร จำนวน 82 คน 2) ข้อมูลเวชระเบียนผู้บาดเจ็บจากบันทึกทางการพยาบาล จำนวน 420 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ 1) คู่มือการประเมินโอกาสรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บ ณ ห้องฉุกเฉินโดยพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บของประเทศไทย 2) วีดิทัศน์สอนการใช้คู่มือการประเมินโอกาสรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บ 3) ข้อสอบ pre-test, post-test เรื่อง triage 4) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยเพื่อประสิทธิผลการทำนายโอกาสรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนการคัดแยกผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้คู่มือ ด้วยสถิติทดสอบ Paired T-test หาค่าการทำนายโอกาสรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บจากพื้นที่ใต้เส้นกราฟ ROC (area under curve: AUC) และวิเคราะห์การรอดชีพด้วยวิธี Kaplan-Meier เปรียบเทียบระยะเวลารอคอยในห้องฉุกเฉิน ด้วยสถิติ Log Rank test (Mantel-Cox)

               ผลการวิจัย พยาบาลวิชาชีพ 82 คน ส่วนใหญ่มีอายุในการปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉิน 10 ปี (median=10, IQR=12) ปฏิบัติหน้าที่คัดแยกผู้ป่วย 7 ปี (median=7, IQR=7) คะแนนเฉลี่ยการคัดแยกผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหลังการใช้คู่มือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.039) ข้อมูลผู้บาดเจ็บ 420 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 44.5 ปี (median=44.5, IQR=35.5) ส่วนใหญ่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร (62.4%) ระยะเวลาที่ได้รับการพยาบาลจากพยาบาลและแพทย์ คือ 2 นาที (median=2, IQR=4) และ 8 นาที (median=8, IQR=12) ตามลำดับ ส่วนใหญ่ใช้เวลาในห้องฉุกเฉิน 97 นาที (median=97, IQR=71.8) การทำนายโอกาสรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บได้ ร้อยละ 95.3 (95 % CI; 92.3-98.2) เปรียบเทียบระยะเวลาที่ได้รับการพยาบาลภายใน 10 นาที และมากกว่า 10 นาที รวมทั้งระยะเวลาในห้องฉุกเฉินไม่เกิน 2 ชั่วโมง และมากกว่า 2 ชั่วโมง มีระยะเวลารอดชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.001 และ p= 0.034 ตามลำดับ) ส่วนระยะเวลาได้รับการรักษาจากแพทย์ใน 10 นาที และมากกว่า 10 นาที แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.084)

 

 

 

Author Biographies

ดาวเรือง ข่มเมืองปักษ์, กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี

 

 

รัตนา สังฆสอน, กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี

 

 

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560 - 2579). ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1. ม.ป.ท.: 2561. ไม่ปรากฏโรงพิมพ์และสถานที่พิมพ์

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล: Service Plan. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน; 2561.

Horwitz LI, Green J and Bradley EH. United States emergency department performance on wait time and length of visit. Ann Emerg Med [Internet]. 2010 [cited 2023 Feb 28]; 55(2): 133–141. Available from: https://www.annemergmed. com/article/S0196-0644(09)01283-9/fulltext

Mahmoodian F, Eqtesadi R, and Ghareghani A. Times in emergency department after using the emergency severity index triage tool. Arch Trauma Res [Internet]. 2014 [cited 2022 Feb 20]; 3(4): 44-52. Available from: https://www. ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4329231/

ดาวเรือง ข่มเมืองปักษ์, นิตยา โรจน์ทินกร, ชไมพันธุ์ สันติกาญจน์, อนุชา เศรษฐเสถียร, สมประสงค์ ทองมีสี, ไผท สิงห์คำ และคณะ. สร้างสมการทำนายโอกาสรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บในประเทศไทย. วารสารอุบัติเหตุ 2564; 40(1): 1-18.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2563. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/08/kpi_2563_0611 62.pdf

ทีมพัฒนาระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้แบบบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/ 2016/media-detail.php?id=12878&tid=&gid=1-015-005

Paul Louangrath. Minimum Sample Size Method Based on Survey Scales. International Journal of Research & Methodology in Social Science [Internet]. 2017 [cited 2022 May 16]; 3(3): 44-52. Available from: https://www.researchgate. net/profile/Paul-Louangrath/publication/328 757833_Minimum_Sample_Size_Method_Based_on_Survey_Scales/links/5be0fcea92851c6b27 aa223e/Minimum-Sample-Size-Method-Based-on-Survey-Scales.pdf

ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรม PHER accident [ประมวลผล รายงาน onepage]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก http://203.157.103.41/reports/onepage_prov.php.

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. บริการด้านข้อมูล [ตาราง Summary IS Online 2018-ปัจจุบัน]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก https://dip.ddc.moph. go.th/new/isonline_sum

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตาม หลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนด. พิมพ์ครั้งที่ 3. ม.ป.ท.: 2558. ไม่ปรากฏโรงพิมพ์และสถานที่พิมพ์

ชลธิชา โภชนกิจ. การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.

Buschhorn HM, Strout TD, Sholl JM, Baumann MR. Emergency medical services triage using the emergency severity index: is it reliable and valid?.J Emerg Nurs 2013; 39(5): e55-63.

Gilboy N, Tanabe P, Travers DA, Rosenau AM, Eitel DR. Emergency severity index. 4th ed. Rockville: AHRQ Publication: 2005.

พิมพา วีระคำ, คัคนนันท์ วิริยากรณ์ประภาส, ศิริพร จักรอ้อม, พิชณุตม์ ภิญโญ.ประสิทธิผลของการอบรมการคัดแยกผู้ป่วยตามระบบ MOPH ED Triage ต่อความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วย โดยเจ้าหน้าที่กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สาย. วารสารกรมการแพทย์ 2562; 44(5): 70-74.

สุภารัตน์ วังศรีคูณ. การพัฒนาคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉิน. พยาบาลสาร 2561; 45(3): 158-169.

กฤตพัทธ์ ฝึกฝน, ทัศนีย์ ภาคภูมิวินิจฉัย, โสพิศ เวียงโอสถ. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2562; 20(1): 66-75.

Simon Jones, Chris Moulton, Simon Swift, Paul Molyneux, Steve Black, Neil Mason, Richard Oakley, Clifford Mann. Association between delays to patient admission from the emergency department and all-cause 30-day mortality. Emerg Med J 2022;39(3): 168–173.

Alexander Ayala, Kyle Tegtmeyer, Giancarlo Atassi and Elizabeth Powell. The effect of homelessness on patient wait times in the emergency department. The Journal of Emergency Medicine 2021;60(5):661–668.

William P. Qiao, Emilie S. Powell, Mark P. Witte, Martin R. Zelder. Relationship between racial disparities in ED wait times and illness severity. American Journal of Emergency Medicine 2016;34(1):10–15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30