การจัดการกับฟันที่หายไปเนื่องจากอุบัติเหตุโดยการใส่รากฟันเทียมในกระดูกขากรรไกรบนด้านหน้า; รายงานผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • ลดาวรรณ อมรมรกต กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความวิการของสันเหงือก, รากฟันเทียม, การปลูกกระดูกเพื่อเพิ่มความหนา

บทคัดย่อ

               การบาดเจ็บบริเวณใบหน้าที่ซับซ้อนมักสร้างความสูญเสียอย่างมากให้กับผู้ป่วยและเป็นสาเหตุของการสูญเสียฟันกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากในบริเวณที่ได้รับแรงกระแทกรวมทั้งส่งผลให้เกิดความวิการของสันเหงือก การใส่ฟันทดแทนในผู้ป่วยเหล่านี้มีความยุ่งยากและซับซ้อนเนื่องจากกระดูกและเนื้อเยื่อรองรับฟันเทียมไม่เพียงพอ การทดแทนฟันในขากรรไกรบนด้านหน้าต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านความสวยงามและการใช้งานทันตแพทย์ต้องอาศัยองค์ความรู้และประสบการณ์ในการเตรียมกระดูกและเนื้อเยื่อให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใส่ฟันเทียม

               บทความนี้เป็นรายงานผู้ป่วย ชายไทย อายุ 34 ปี ที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณใบหน้าและขากรรไกรบนด้านหน้าอย่างรุนแรง ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความวิการของสันเหงือกบริเวณขากรรไกรบนด้านหน้า ได้รับการบูรณะการใส่ฟันเทียมด้วยการฝังรากเทียมร่วมกับการปลูกกระดูกเพื่อเพิ่มความหนาร่วมกับการใช้แผ่นเยื่อกั้นชนิดมีการละลายตัว ติดตามการรักษา 1 สัปดาห์ และ 6 เดือน แผลหายสนิทดี ไม่พบลักษณะการอักเสบของเนื้อเยื่อจึงดำเนินการเตรียมเหงือกและใส่ฟันเทียมถาวร ติดตามผลการรักษาที่ระยะเวลา 2 ปี พบว่า ผู้ป่วยใช้ฟันเทียมได้ดี ไม่พบการอักเสบของเนื้อเยื่อ รากเทียมติดแน่น โดยรอบมีกระดูกรองรับ

 

 

 

Author Biography

ลดาวรรณ อมรมรกต, กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

 

 

References

Teevawat. P, Thanasak C, Suwit S, Natthapong T. The relationship between oral and maxillofacial trauma and traumatic brain injury: a retrospective case-control study. Thai journal of oral and maxillofacial Surgery 2019; 33(2): 88-94.

Ugolini A, Parodi GB, Casali C, Silvestrini-Biavati A, Giacinti F.Work-related traumatic dental injuries: Prevalence, Characteristics and risk factors. Dental Traumatology 2018; 34(1): 36-40.

Seymour DW, Patel M, Carter L, Chan M. The management of traumatic tooth loss with dental implants: part 2. Severe trauma. Br Dent J. 2014 Dec; 217(12): 667-71

Jensen SS. Timing of Implant Placement after Traumatic Dental Injury. J Endod. 2019 Dec; 45(12S): S52-S56.

Roden R.D., Principle of bone grafing. Oral Maxillofac Surg Clin North Am 2010; 22(3): 295-300.

Buser D, Martin WC. Optimizing esthetics for implant restoration in anterior maxilla: anatomic and surgical considerations. International Journal of Oral and Maxillofacial Implants 2004; 19: 43-61.

Marco E, Marie G, Ilias P, Pietro F, Heven V. Timing of implant placement after tooth extraction: immediate, immediate-delayed or delayed implant? A Cochrane systermatic review. Eur J Oral Implantol; 3(3): 189-205.

Schropp L,Isidor F.Timing of implant placement relative to tooth extraction. Journal of Oral Rehabilitation 2008; 35(suppl): 33-43.

Schwartz-Arad D, Levin L. Post-traumatic use of dental implants to rehabilitate anterior maxillary teeth. Dent Tramatol 2004; 13(2): 120-128.

Larsen P, Ghali GE. Guided bone and tissue regeneration. Peterson,s Principles of Oral and Maxillofacial Surgery. Hamilton, Ont: B.C. Decker; 2004. p.234-9.

Wang HL, Boyapati L. “Pass” Principles of predictable bone regeneration. Implant Dentistry 2006; 15(1): 8-17.

Malinin T, Temple H.T., Gary A.K. Bone alloy in dentistry: a review. Dentistry 2014; 23(4): 199.

Wang W, Yeung K.W.K. Bone grafts and biomaterials substitutes for bone defect repair: a review. Bioact Mater 2017; 2(4): 224-247.

Bobbert F.S.L., Zadpoor A.A. Effects of bone substitute architecture and surface properties on cell response, angiogenesis and structure of new bone. J Mater Chem B 2017; 5(31): 6175-6192.

Liu J, Kerns DG. Mechanisms of guided bone regeneration: a review. The Open Dentistry Journal 2014; 16(8): 56-65.

Gold step, Fay. Bone grafts. For Implant Dentistry. Oral Health Group. Dec 2019; 1-29.

Bal A, Dugal R, Shah K, Mudaliar U. Principles of Esthetic evaluation for anterior teeth, Journal of Dental and Medical Sciences 2016; 15(3): 28-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30