ประสิทธิภาพของโยคะต่อการขยายตัวของทรวงอกและสมรรถภาพการทำงานของปอดในผู้ป่วยหลังติดเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลกุมภวาปี

ผู้แต่ง

  • สู่ขวัญทิพย์ กาญจน์เบญญาภา กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
  • จิรนันท์ อุดมพุทธชาติ กลุ่มงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
  • ภานิชา พงศ์นราทร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.สกลนคร

บทคัดย่อ

 

การศึกษาเป็นแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการขยายตัวของทรวงอกและสมรรถภาพของปอด เมื่อออกกำลังกายด้วยโยคะในผู้ป่วยหลังติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 34 คน โดยอาสาสมัครมีอายุระหว่าง 20 – 59 ปี ทั้งเพศชายและหญิง เป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 ครั้งที่ 1 แล้ว ในระยะเวลา 10 - 60 วัน ในเขตตำบลกุมภวาปี ซึ่งได้รับการสุ่มเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 17 คน ซึ่งกลุ่มควบคุมจะดำเนินชีวิตตามปกติ กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยโยคะ 4 ท่า 20 นาทีต่อวัน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ อาสาสมัครจะได้รับการประเมินการขยายตัวของทรวงอกด้วยสายวัดและประเมินสมรรถภาพปอด ด้วย Spirometry ทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมการศึกษาที่แผนกกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลกุมภวาปี

ผลการศึกษา พบว่าหลังจากออกกำลังกายด้วยโยคะช่วยให้มีการเพิ่มขึ้นของการขยายตัวของทรวงอกทุกระดับ พบว่าอกส่วนบนขยาย 1.80 เซนติเมตร (SD = 0.43)  อกส่วนกลางขยาย 2.49 เซนติเมตร (SD = 0.43) อกส่วนล่างขยาย 3.18 เซนติเมตร (SD = 0.32) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001
ทุกระดับ) และพบว่าค่าร้อยละปริมาตรของอากาศที่เป่าออกมาได้ใน 1 วินาทีต่อปริมาตรอากาศที่เป่าออกมาได้มากที่สุดอย่างเร็วแรง (%FEV1/FVC) เพิ่มขึ้น 83.10% (SD =2.91) และค่าเฉลี่ยของอัตราการไหลของอากาศในช่วงกลางของ FVC (%FEF25-75) เพิ่มขึ้น 2.98 % (SD = 0.78) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.016 และ 0.007 ตามลำดับ) และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) เพิ่มขึ้น 98.65 %  (SD = 0.93) มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001)

สรุป การออกกำลังกายด้วยโยคะในผู้ป่วยโควิด-19 สามารถเพิ่มการขยายตัวของทรวงอกและสมรรถภาพปอดได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกาย

References

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Living Guidance for Clinical Management of COVID-19 [Internet]. 2021 [cited 2022 Oct 30]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-clinical-2021-2

เมธาวี หวังชาลาบวร, ศรัณย์ วีระเมธาชัย, ธนกมณ ลีศร. ความชุกของภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19ในผู้ป่วยที่มีประวัติ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากการติดตามที่ระยะ 3 เดือนหลังการติดเชื้อ. ว.ศูนย์อนามัยที่ 9 2565;16(1):265-284.

วรพงศ์ เรืองสงค์. อาการหลังติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ลองโควิด-19 ): การวินิจฉัยและการรักษา. กระบี่เวชสาร 2565;5:51-64.

กรมการแพทย์ สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 และแนวทางการจัดบริการสุขภาพ. ว.กรมการแพทย์ 2565;2:5-8.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, ขวัญศิริ พรหมอินทร์, ณัฐ ชยา พลาชีวะ, พัชรธิดา พินรัตน์. การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนที่มีอาการหลงเหลือหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ในระยะยาว: กรณีศึกษา. ว.รามาธิบดีเวชสาร 2565;45:28-42.

Yong SJ. Long COVID or post-COVID-19 syndrome: putative pathophysiology, risk factors, and treatments. Infect Dis 2021;53(10):737-754.

Liu K, Zhang W, Yang Y, Zhang J, Li Y, Chen Y. Respiratory rehabilitation in elderly patients with COVID-19: A randomized controlled study. Complement Ther Clin Pract 2020; 39:1-4.

Sharma V, Khuntia BK, Soneja M, Huddar VG, Ramakrishnan S, Sharma P, et al. Efficacy of add-on Ayurveda and Yoga intervention in health care workers of tertiary care hospital during COVID-19: Randomized controlled trial. Complement Ther Clin Pract 2022;48:1-7.

Chanavirut R, Khaidjapho K, Jaree P, Pongnaratorn P. Yoga exercise increases chest wall expansion and lung volumes in young healthy Thais. Thai journal of physiological sciences 2006;19:1-7.

Okan F, Okan S, Yucesoy FD. Evaluating the Efficiency of Breathing Exercises via Telemedicine in Post Covid-19 Patients: Randomized Controlled Study. Clinical Nursing Research 2022;31:771-781.

Clinical Practice Guideline Original Article.Thoracic Society of Australia and New Zealand oxygen guidelines for acute oxygen use in adults [internet] .2016 [cited 2022 Nov 20]. Available from: https://thoracic.org.au/wp-content/uploads/2021/06/TSANZ-AcuteOxygen-Guidelines-2016-web.pdf

สรายุธ มงคล. ผลของการฝึกโยคะต่อการขยายตัวของทรวงอกและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในอาสาสมัครเพศหญิง. ว.เทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2559;49:363-396.

สุวัฒน์ จิตรดำรงค์, จินตนา ตังหยง, ภาณุวัฒน์ ตั้งพูลเจริญ, ปณัฏฐา อ่านคำเพ็ชร, พริมโรส โชคบุญธยานนท์, รุ่งรวิน เงินมีศรี. ผลของการฝึก respiratory muscle stretch gymnastic และการฝึกโยคะต่อระดับความทนทานต่อการออกกำลังกาย ระดับความเครียดและค่าสมรรถภาพปอด ในผู้หญิงอายุ 18-25 ปี. ว.กายภาพบำบัด 2564;43:97-110.

เสาวนีย์ วรวุฒางกูร, ยิ่งลักษณ์ วิรุณรัตนกิจ. ผลทันทีของการยืดกล้ามเนื้อหายใจต่อการขยายตัวของทรวงอกสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้ที่มีสุขภาพดี. มฉก.วิชาการ 2558;18: 131-142.

อาภรณ์ ภู่พัทธยากร, ดวงใจ พิชัยรัตน์. ผลของการฝึกโยคะพื้นฐานต่อสมรรถภาพทางกายและความเครียดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ตรัง. ว.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2554;3:15-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31