ความเชื่อด้านสุขภาพกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19: กรณีศึกษาหญิงตั้งครรภ์ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ภาณุพงษ์ พังตุ้ย กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม, โรงพยาบาลหนองวัวซอ, จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ด้านสุขภาพต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์ และบทบาทของพยาบาลชุมชนในการเสริมพลังการรับวัคซีนของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 55 คน ประกอบด้วยหญิงตั้งครรภ์ 26 คน ครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ 26 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้ให้บริการฝากครรภ์ 3 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และแนวทางการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

         ผลการวิจัย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป พบว่ากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อายุเฉลี่ย 18.38 ปี
ระดับการศึกษาสูงสุดจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 53.85 อายุครรภ์เฉลี่ย 21.24 สัปดาห์ เป็นครรภ์แรก ร้อยละ 92.31 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ร้อยละ 84.62 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อายุเฉลี่ย 29.85 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดจบปริญญาตรี ร้อยละ 38.46 อายุครรภ์เฉลี่ย 26.23 สัปดาห์ เป็นการตั้งครรภ์แรก ร้อยละ 69.23 ส่วนมากไม่มีประสบการณ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 (ร้อยละ 69.24) ส่วนที่ 2 การรับรู้ด้านสุขภาพต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์ มี 3 ด้าน ดังนี้ 1) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค ประกอบด้วย ประเด็นการติดโรค และอาการของโรค 2) การรับรู้ความรุนแรงของโรค ประกอบด้วย ความรู้ ความตระหนัก และความกังวลเกี่ยวกับโรคและวัคซีน 3) การรับรู้ประโยชน์ของการรับวัคซีนป้องกันโรค ประกอบด้วย ประโยชน์ ความเสี่ยง และการตัดสินใจรับวัคซีน ซึ่งการรับรู้ทั้ง 3 ด้าน มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่รับวัคซีน และกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน โดยพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่รับวัคซีนจะได้รับข้อมูลข่าวสาร และทำกลุ่มเสริมพลังร่วมกับพยาบาลชุมชน ที่คลินิกฝากครรภ์และในชุมชน เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 น้อยกว่ากลุ่มที่รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จึงไม่เกิดความกังวลต่อผลกระทบของโรคโควิด-19  ต่อตนเองและทารก และไม่รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ส่วนที่ 3 พยาบาลชุมชนมีบทบาทสำคัญในการเสริมพลังการรับวัคซีนของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว โดยการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของวัคซีน การส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวตัดสินใจรับวัคซีน และการติดตามผลหลังการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย 4 บทบาทสำคัญ คือ 1) บทบาทการค้นหาสภาพการณ์จริง 2) บทบาทการสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) บทบาทการเสริมพลังในการเลือกปฏิบัติ และ 4) บทบาทการสนับสนุนการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่ดี

          ข้อเสนอแนะ การให้คำแนะนำและการตัดสินใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 นั้นควรเป็นเรื่องที่คุ้มค่าและต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบกับหญิงตั้งครรภ์ สามี และครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ พยาบาลชุมชนจึงมีบทบาทสำคัญในการเสริมพลัง เพื่อช่วยให้หญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการวัคซีนอย่างครอบคลุม

 

References

เอกสารอ้างอิง

WHO COVID-19 Dashboard [Internet]. 2020 [cited 2021 Sep 7]. Available from: https://covid19.who.int/

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์; 2564

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. Protocol COVID-19 Vaccination สำหรับหญิงตั้งครรภ์ตามสถานการณ์ประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rtcog.or.th/home/

Tam CC, Qiao S, Li X. Factors associated with decision making on COVID-19 vaccine acceptance among college students in South Carolina. Psychol Health Med 2022;27(1):150-161.

Wang J, Jing R, Lai X, Zhang H, Lyu Y, Knoll MD, et al. Acceptance of COVID-19 Vaccination during the COVID-19 Pandemic in China. Vaccines 2020;8(3):482.

Albahri OS, Zaidan AA, Albahri AS, Alsattar HA, Mohammed R, Aickelin U, et al. Novel dynamic fuzzy decision-making framework for COVID-19 vaccine dose recipients. J Adv Res 2021;37:147-168.

Becker MH. The health belief model and sick role behavior. Health Educ Monogr 1974;2(4):409-419.

Rosenstock IM. The health belief model and preventive health behavior. Health Educ Monogr 1974 ;2(4):354-386.

นิศา ชูโต. การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พริ้นโพร; 2551.

Nastasi BK, Schensul SL. Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of school psychology 2005;43(3):177-195.

สุภางค์ จันทวานิช. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

Elo S, Kyngäs H. The qualitative content analysis process. J Adv Nurs 2008;62(1):107-115.

Rawal S, Tackett RL, Stone RH, Young HN. COVID-19 vaccination among pregnant people in the United States: a systematic review. Am J Obstet Gynecol MFM 2022;4(4):1-13.

Blakeway H, Prasad S, Kalafat E, Heath PT, Ladhani SN, Le Doare K, et al. COVID-19 vaccination during pregnancy: coverage and safety. Am J Obstet Gynecol 2022;226(2):236e1-236e14.

Wang J, Jing R, Lai X, Zhang H, Lyu Y, Knoll MD, et al. Acceptance of COVID-19 Vaccination during the COVID-19 Pandemic in China. Vaccines 2020;8(3):482.

Chen Y, Zhou R, Chen B, Chen H, Li Y, Chen Z, et al. Knowledge, perceived beliefs, and preventive behaviors related to COVID-19 among Chinese older adults: cross-sectional web- based survey. J Med Internet Res 2020;22(12):e23729.

Yasmin F, Najeeb H, Moeed A, Naeem U, Asghar MS, Chughtai NU, et al. COVID-19 vaccine hesitancy in the United States: a systematic review. Front Public Health 2021;9:770985.

Bhattacharya O, Siddiquea BN, Shetty A, Afroz A, Billah B. COVID-19 vaccine hesitancy among pregnant women: A systematic review and meta-analysis. BMJ open 2022;12(8):e061477.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31