ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของหญิงที่เข้ารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วัชรินทร์ เล็กเจริญกุล กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม กลุ่มประชากรเป็นหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 200 คน ที่เข้ามาฝากครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลอุดรธานี ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 โดยลักษณะประชากรและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ถูกเก็บข้อมูลโดยใช้การตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง และวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะประชากรโดยสถิติเชิงพรรณนา ใช้ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม โดยใช้ Logistic regression และ Multiple logistic regression analysis นำเสนอโดยใช้ Odd ratio, Adjusted Odd ratio, 95% Confidence interval (95%CI) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.05

ผลการศึกษาหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมงานวิจัยในช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล จำนวน 200 คน พบว่า อายุ เฉลี่ยของหญิงตั้งครรภ์ คือ 27.5 ปี (SD=5.8) เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ร้อยละ 15.5 (95%CI 10.78-21.27) มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม คือ จำนวนบุตรมีชีวิตตั้งแต่ 3 คน (AOR 109.6;  95%CI 3.2-3748.5, p=0.009), มีประวัติสูบบุหรี่ (AOR 127.2; 95%CI 3.7-4355.2, p=0.007), รายได้ของครอบครัวขัดสน (AOR 363.6; 95%CI 20.6-6408.4, p<0.001), ความสัมพันธ์ในครอบครัวทะเลาะบ่อยครั้ง/ใช้ความรุนแรง (AOR 3921.7; 95%CI 61.9-248477, p<0.001) และไม่ได้คุมกำเนิด/นับระยะปลอดภัย/หลั่งนอกช่องคลอด/ยาคุมฉุกเฉิน (AOR 8.5; 95%CI 1.1-66.5, p=0.041)

สรุปผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม คือ จำนวนบุตรมีชีวิตตั้งแต่ 3 คน, มีประวัติสูบบุหรี่, รายได้ของครอบครัวขัดสน, ความสัมพันธ์ในครอบครัวทะเลาะบ่อยครั้ง/ใช้ความรุนแรง และไม่ได้คุมกำเนิด/นับระยะปลอดภัย/หลั่งนอกช่องคลอด/ยาคุมฉุกเฉิน

References

Barrow A, Jobe A, Barrow S, Touray E, Ekholuenetale M. Prevalence and factors associated with unplanned pregnancy in The Gambia: findings from 2018 population-based survey. BMC Pregnancy Childbirth 2022;22(1):17.

Habib MA, Raynes-Greenow C, Nausheen S, Soofi. SB, Sajid M, Bhutta, ZA. Prevalence and determinants of unintended pregnancies amongst women attending antenatal clinics in Pakistan. BMC Pregnancy Childbirth 2017;17(1):156.

Mohammed F, Musa A, Amano A, Prevalence and determinants of unintended pregnancy among pregnant woman attending ANC at Gelemso General Hospital, Oromiya Region, East Ethiopia: a facility based cross-sectional study. BMC Womens Health 2016;16(1):56.

Oulman E, Kim TH, Yunis K, Tamim H. Prevalence and predictors of unintended pregnancy among women: an analysis of the Canadian Maternity Experiences Survey. BMC Pregnancy Childbirth 2015;15:260.

Eftekhariyazdi M, Mehrbakhsh M, Neamatshahi M, Moghadam MY. Comparison of pregnancy complications in unintended and intended pregnancy: A prospective follow-up study. Biomedicine (Taipei) 2021;11(4):51-56.

Mohamed EAB, Hamed AF, Yousef FMA, Ahmed EA. Prevalence, determinants, and outcomes of unintended pregnancy in Sohag district, Egypt. J Egyptian Public Health Assoc 2019;94(1):14.

Motlagh ME, Nasrollahpour Shirvani SD, Hassanzadeh-Rostami Z, et al. Prevalence, Associated Factors and Consequences of Unwanted Pregnancy in Iran. Iran J Public Health 2020; 49(8): 1530-1538.

เบญจพร ปัญญายง, บรรณาธิการ. คู่มือการให้การปรึกษา ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง; 2554.

ปิยะรัตน์ เอี่ยมคง, พิมลพร ธิชากรณ์. รายงานการเฝ้าระวังการแท้งในประเทศไทย พ.ศ.2562. นนทบุรี: กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์; 2562.

Nigussie K, Degu G, Chanie H, Edemealem H. Magnitude of Unintended Pregnancy and Associated Factors Among Pregnant Women in Debre Markos Town, East Gojjam Zone, Northwest Ethiopia: A Cross-Sectional Study. Int J Womens Health 2021;13:129-39.

Theme-Filha MM, Baldisserotto ML, Fraga AC, Ayers S, da Gama SG, Leal MD. Factors associated with unintended pregnancy in Brazil: cross-sectional results from the Birth in Brazil National Survey, 2011/2012. Reprod Health 2016;13(Suppl 3):118.

Zeleke LB, Alemu AA, Kassahun EA, Aynalem BY, Hassen HY, Kassa GM. Individual and community level factors associated with unintended pregnancy among pregnant women in Ethiopia. Sci Rep 2021;11(1):12699.

Yakubu I, Salisu WJ. Determinants of adolescent pregnancy in sub-Saharan Africa: a systematic review. Reprod Health 2018;15(1):15.

Ahinkorah B. Individual and contextual factors associated with mistimed and unwanted pregnancies among adolescent girls and young women in selected high fertility countries in sub-Saharan Africa: A multilevel mixed effects analysis. PLoS One 2020;15(10):e0241050.

Unintended Pregnancy. Centers for Disease Control and Prevention [Internet]. 2023 [cited 2023 Feb 1]. Available from: http://Unintended Pregnancy | CDC

สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ของประเทศไทย พ.ศ.2563. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://moph.go.th

มลิวัลย์ ศรีม่วง. การจัดการปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น กรณีศึกษาอำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 6 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://hp.anamai.moph.go.th

พิมพ์ณิชณิณ ภิวงศ์กาจร. ผลลัพธ์ในการพัฒนาแนวการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและองค์กรในพื้นที่ ตำบลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัด อุดรธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 6 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://apnathai.org/pdf/2018-11/doc_2018-11-1047.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31