การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วน โรงพยาบาลพิจิตร

ผู้แต่ง

  • สุมาลี สง่าวงค์ โรงพยาบาลจังหวัดพิจิตร
  • นลินี เกิดประสงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • วัชรา สุขแท้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วน โรงพยาบาลพิจิตรเพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าของการผ่าตัดผู้ป่วยข้อสะโพกหัก กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหักช่องทางด่วน ในช่วงเดือนเมษายน - สิงหาคม 2566 วิธีดำเนินการ ดังนี้ ระยะที่ 1 บุคลากรที่เกี่ยวข้องสะท้อนปัญหาการปฏิบัติวิเคราะห์สถานการณ์ จำนวน 24 คน ประชุมกลุ่มย่อย สัปดาห์ที่1 เดือนมีนาคม 2566 ระยะที่ 2 วางแผนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อยกร่างรูปแบบฯ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล ผู้บริหารสนทนากลุ่มย่อย สัปดาห์ที่ 3และ4 ของเดือนมีนาคม 2566 จำนวน 64 คน และสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 22คน   ระยะที่ 3 ลงมือปฏิบัติตามแผนเก็บข้อมูลการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วน โรงพยาบาลพิจิตรโดยเก็บข้อมูล one-group posttest only design ในเดือน เมษายน -พฤษภาคม 2566 ระยะที่ 4 ประเมินการเปลี่ยนแปลงเชิงผลลัพธ์นำมาปรับปรุงให้สมบูรณ์ เครื่องมือวิจัย คือ 1.รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วน 2.แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่เข้ารับการรักษา 3. แบบประเมินการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด (deep vein thrombosis) 4.แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและทีมสหวิชาชีพ 5.แบบวัดความรู้และทักษะของพยาบาลการดูแลผู้ป่วยรับการผ่าตัด  

ผลวิจัย พบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วน โรงพยาบาลพิจิตรมี  6 องค์ประกอบ คือ 1.การปรับโครงสร้างการบริการห้องผ่าตัด  2. การจัดการระบบสื่อสารแบบไร้รอยต่อ 3. การพัฒนาความรู้และทักษะพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยผ่าตัด 4.การสร้างทีมสหสาขาฉุกเฉิน 5.การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของญาติและครอบครัวการรองรับผู้ป่วยข้อสะโพกหัก 6.การสร้างแรงจูงใจในการทำงานระดับบุคคลและระดับทีมงาน และพบว่ากลุ่มทดลองหลังการใช้รูปแบบฯ ช่วยลดระยะรอคอยก่อนผ่าตัด จาก 7.1 วัน (ปี 2565) วันเหลือ 4.1 วัน หลังการใช้รูปแบบฯ 1 เดือน  และช่วยเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด (deep vein thrombosis)ได้จำนวน 2 ราย  และด้านความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องอยู่ในระดับดีถึงดีมาก

                   สรุป ได้ว่ารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วน โรงพยาบาลพิจิตรที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดช่องทางด่วนเพื่อลดความล่าช้าในการรอคอยของการผ่าตัดผู้ป่วยข้อสะโพกหักและเพิ่มคุณภาพในการดูแลเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

References

เอกสารอ้างอิง

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ด้านสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2561). กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

พรธิดา ชื่นบาน, ธนาวรรณ แสนปัญหา, ทิพากร กระเสาร์. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดผ่านช่องทางด่วน โรงพยาบาลแพร่.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข August31, 2021; 31: 70-84.

วรารัตน์ บุญณสะ. ประเด็นการเตรียมคนไข้ การให้ความรู้ การปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด[เอกสารนำเสนอ]. การประชุมแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าโครงการนำร่องการพัฒนาระบบการดูแล ผู้สูงอายุที่กระดูกข้อสะโพกหัก. กรุงเทพมหานคร. ประชุมวิชาการ วันที่ 21 เมษายน 2564.

อัฐธนกาญจน์ แก้วประดิษฐ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก เพื่อรับการผ่าตัดเร่งด่วนในโรงพยาบาลระยอง. วารสารวิชาการโรงพยาบาลระยอง. 2563; 19: 33-39.

โรงพยาบาลพิจิตร .ข้อมูลสถิติโรงพยาบาลพิจิตร ปี 2562-2566.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการการผ่าตัดกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ ฉบับ 25 พฤศจิกายน 2563. เอกสารอัดสำเนา

James R Gill ,Aly Pathan, Samuel J Parsons and Konrad Wronka. Total Hip Arthroplasty for Hip Fracture: Clinical Results and Mid-Term Survivorship. Cureus. 2021 Dec; 13(12): e20492.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., and Buchner, A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007; 39: 175-191.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31