ปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยเอดส์

ผู้แต่ง

  • ณัฐยา คำธรรม โรงพยาบาลบรรพตพิสัย
  • ธัญสินี พรหมประดิษฐ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยเอดส์โดยใช้กรอบแนวคิดความผาสุกทางจิตวิญญาณที่พัฒนาจากพุทธศาสนา ตามวัฒนธรรม ความเชื่อ และบริบทของสังคมไทย และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยเอดส์ ประชากรคือ ผู้ป่วยเอดส์ ที่มารับบริการ คลินิกศูนย์รวมใจ โรงพยาบาลบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 115 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลบุคคล แบบวัดความผาสุกทางจิตวิญญาณ การมีความหวังและเป้าหมายในชีวิต การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย และการสนับสนุนทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่น 0.935, 0.801, 0.804 และ 0.819 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ไคสแควร์ (Chi-square test) และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)

ผลการศึกษา ผู้ป่วยเอดส์ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.91) อายุ 41-50 ปี (ร้อยละ 38.26) และระดับการศึกษาสูงสุดในชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 60.87) มีระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.65, SD = 0.42) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยเอดส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ระดับการศึกษา (p<0.001) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกคือ การสนับสนุนทางสังคม การมีความหวังและเป้าหมายในชีวิต และการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย โดยมีระดับความสัมพันธ์เท่ากับ 0.298 (p=0.001), 0.202 (p=0.031) และ 0.204 (p=0.029) ตามลำดับ

 

References

ยุทธชัย ไชยสิทธิ์, ขวัญประภัสร จันทร์บุลวัชร์, รัตติยา ทองอ่อน, อรอุมา แก้วเกิด. การวิเคราะห์มโนทัศน์ภาวะบีบคั้นทางจิตวิญญาณ. ว.สภาการพยาบาล 2562; 36: 5-17.

ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารเอชไอวีของประเทศไทย. คาดประมาณผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยปี 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php

ยุทธชัย ไชยสิทธิ์. การวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และผลลัพธ์ความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. ว.สุขภาพและการพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2564; 1: 1-15.

อุมาลี แซ่หลี. ความต้องการการดูแลและการได้รับการดูแลของผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2547.

Palouzian, R., F., Ellision, C., W. Loneliness spiritual well-being and quality of life. InL. A; 1982.

วิไลลักษณ์ ตันติตระกูล, สุรีพร ธนศิลป์. ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. ว.สำนักการแพทย์ทางเลือก 2553, 2: 27-35.

ประเวศ วะสี, พระพิศาลธรรมะวาที, แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต, โสภณ สุภาพงษ์. ใน: สาระสำคัญจากการเสวนาเรื่องสู่สุขภาพทางสังคมและจิตวิญญาณ; 21 กรกฎาคม 2544; ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ; 2544. หน้า 1-39.

ธนิษญา น้อยเปียง. การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.

ฤดีมาศ พุทธมาตย์. การสนับสนุนทางสังคมและความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2562.

นงเยาว์ กันทะมูล. ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุโรคมะเร็งปอด [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.

นิช์ชาพัส จันทร์สุขศรี. การรับรู้ความเจ็บป่วยและการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยที่เป็นอะโครเมกาลี [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., Buchner, A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods 2007;39: 175-191.

แสงเดือน พรมแก้วงาม, ลินจง โปธิบาล, วิจิตร ศรีสุพรรณ, กนกพร สุคำวัง. การพัฒนาแบบวัดความผาสุกทางจิตวิญญาณสำหรับผู้ใหญ่ชาวไทยพุทธที่เจ็บป่วยเรื้อรัง. Pacific Rim Int J Nurs Res 2014; 18: 320-332.

สุทธิพงษ์ ปิ่นแก้ว. สุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอชไอวี โรงพยาบาลโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี. ว.วิจัยระบบสาธารณสุข 2550;2:1408-19.

มงคล สันติกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรท่าเรือกรุงเทพการท่าเรือแห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก; 2564.

กัลยาณี เสนาสุ. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสุขของคนไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์; 2559.

สุจินตนา ชูติระกะ. ผลของโปรแกรมโยคะต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับผลกระทบจากโรค และการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด [วิทยานิพนธ์]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.

เบญญา คงธนอิทธิ, สมพร สุทัศนีย์, เสรี ชัดแช้ม. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความผาสุกแห่งตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ว.วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา 2553; 8: 30-44.

วิไลลักษณ์ ตันติตระกูล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

พรพิมล ชัยสา, พิกุล พรพิบูลย์, สุดารัตน์ สิทธิสมบัติ. ผลของการส่งเสริมการทบทวนชีวิตต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยโรคมะเร็ง. พยาบาลสาร 2562; 46: 49-57.

สุมิตรา ติระพงศ์ประเสริฐ, นิภาวรรณ สามารถกิจ, วิภา วิเสโส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง. ว.คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2564; 29(1): 67-79.

พิณนภา แสงสาคร. การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทางจิตวิญญาณในบริบทสังคมไทย [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2554.

ระวีวรรณ พิไลยเกียรติ, วารุณี ฟองแก้ว, ศิริพร เปลี่ยนผดุง, ทัศนีย์ ทองประทีป. ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ติดเชื้อเอซไอวี/เอดส์. ว.สภาการพยาบาล 2546; 18: 73-90.

ตรีทิพย์ เครือหลี. ประสบการณ์ความผาสุกด้านจิตวิญญาณของวัยรุ่นโรคมะเร็ง [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.

สุจิตรา ชลกาญจน์สกุล. กระบวนการสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณแนวพุทธของจิตอาสาแต่งหน้าศพในจังหวัดระยอง [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย; 2565.

กัลยารัตน์ ระธนชัยกุล. อิทธิพลของแรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตทีมีอิทธิพลต่อความสุขผู้สูงอายุเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และสมุทรปราการ. รายงานการวิจัย สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2563.

ใจชนก ภาคอัต. การรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคลากรสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพสถาบันสู่ความเป็นเลิศ ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31