ปัจจัยทางการบริหารและแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นันทวัน บัวใหญ่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นพรัตน์ เสนาฮาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กฤษณะ อุ่นทะโคตร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการบริหาร, แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-section descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 7,498 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling)  ได้จำนวนขนาดตัวอย่าง 178 คน ระหว่างวันที่ 16-31 มกราคม 2567 ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามวิเคราะห์ค่าความเที่ยงใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งชุดเท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ใช้ สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) เพื่อหาการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด เพื่อใช้ในการอธิบายระดับปัจจัยทางการบริหาร ระดับแรงจูงใจ และระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม สถิติเชิงอนุมาน (inferential statistics) ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา และใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple linear regression analysis) เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยทางการบริหารและแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม

          จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม  จำนวน 178 คน เป็นเพศชายร้อยละ 54.5 อายุเฉลี่ย 35.0±0.8 ปี ส่วนใหญ่จบปริญญาตรี ร้อยละ 83.1 ระยะเวลาปฏิบัติงาน ค่ามัธยฐาน 4.0 ปี พบว่า ภาพรวมปัจจัยทางการบริหาร แรงจูงใจ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.07±0.17, 4.06±0.17 และ 4.07±0.19 ตามลำดับ พบว่าภาพรวมปัจจัยทางการบริหาร มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.488, p<0.001) และภาพรวมแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.261, p<0.001) และปัจจัยทางด้านการบริหาร ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ด้านวัสดุอุปกรณ์ และปัจจัยค้ำจุน ด้านสภาพการปฏิบัติงานและด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว ตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์และมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม ได้ร้อยละ 40.9 (R2 = 0.409, p<0.001)

References

พระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช 2496. ราชกิจจานุเบกษา (ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2546).

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพุทธศักราช 2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 (ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2542).

อาภาวี เรืองรุ่ง. ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลโคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี. ว.วิจัยวิชาการ 2566;6(1):243-254.

Loganit, W., Luengalongkot, P. The Behavior Executive of the Local Administrative Organization in Chanthaburi Province. FEU Academic Review Journal 2017;11(1):161-171.

Peterson E., Plowman, E.G.. Business Organization and Management. Homewood, Illinois: Richard D. Irwin; 1989.

นฤมล ไทรตระกูล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2564.

อทิติ เพ่งพิโรจ. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลจังหวัดนราธิวาส. [สารนิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2565.

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

ภารดา สวัสดิ์กรรณ, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล, วิชิต สุรดินทร์กูร, กฤษณา ฟองธนกิจ, เสาวภาคย์ กระจ่างยุทธ. ปัจจัยการบริหารองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เอสซีจี แกรนด์ จำกัด. ว.รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 2564;4(3):168-182.

ปริศนา พิมพา. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2559.

ปัญญา สุจริต, ประจักร บัวผัน. การดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. ว.วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2560;10(1):117-126.

Herzberg, F., Mausner, B., Snyderman, B. The motivation to work. New Brunswick: Transaction Publishers; 1993.

ชัชรินทร์ ทองหม่อมราม, บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ว.การเมืองการปกครอง 2562;11(1):118-139.

นาตยา คำเสนา, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าพนักงานสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. ว.วิจัย มข (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2563;20(2):84-95.

พีรพงศ์ ภูสด, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู. ว.วิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562;19(3):109-119.

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. ศูนย์ข้ออมูล [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nacc.go.th/?, 2566

Cohen, J. Statistical power analysis for behavior science. 2nd ed. New York: Academic; 1998.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์, ประสพชัย พสุนนท์. Sampling Strategies for Qualitative Research. ว.ปาริชาติ 2559;29(2):31-48.

สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

สุวิชัย ถามูลเลศ, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล จังหวัดขอนแก่น. ว.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2561;25(1):23-34.

ภานุมาศ ทุมวัน, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. ว.วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2561;11(2):213-221.

ไพวัล แก้วประเสิด, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพให้ภายในฉุกเฉินของโรงพยาบาลรัฐ เขตนครหลวงเวียงจันทน์. ว.วิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2563;20(2):96-107.

อรวรรณ สินค้า, ชนะพล ศรีฤาชา. ปัจจัยทางการบริหารและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. ว.วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562;12(3):613-622..

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30