ผลการปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis) ภายใน 1 ชั่วโมงต่อการเสียชีวิตใน 30 วัน ในโรงพยาบาลบ้านผือ

ผู้แต่ง

  • สาคร เสริญไธสง กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลบ้านผือ

คำสำคัญ:

กระบวนชุดการรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภายใน 1 ชั่วโมง, อัตราเสียชีวิตใน 30 วัน

บทคัดย่อ

กระบวนชุดการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภายใน 1 ชั่วโมง ถูกประกาศใช้เป็นแนวปฏิบัติใน Surviving Sepsis Campaign (SSC) 2018 มีหลักฐานว่าการปฏิบัติตามกระบวนชุดภายใน 3 ชั่วโมงช่วยลดอัตราเสียชีวิตได้ แต่ยังไม่ชัดเจนสำหรับระยะเวลา 1 ชั่วโมง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติตามกระบวนชุดการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภายใน 1 ชั่วโมง (1-hour sepsis bundle) ต่อการเสียชีวิตใน 30 วัน ในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ้านผือ เป็นการวิจัยรูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา (retrospective descriptive study) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis)  ที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลบ้านผือ สุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 119 ราย ในช่วงเวลาเดือนเมษายน  พ.ศ. 2565 – มีนาคม พ.ศ.2566  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบันทึกข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลบ้านผือและเครื่องมือที่เป็นมาตรฐาน ได้แก่ Clinical Practice Guideline Sepsis, Septic Shock Fast Track การใช้ SOS Scores และการใช้ Complete 1-hour bundle การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน (Inferential Statistics Analysis) ใช้  Chi- square, t test และ logistic regression

ผลการวิจัย : ผู้ป่วยในงานวิจัย 119 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.34 อายุเฉลี่ย 59.24 ปี ส่วนใหญ่มีแหล่งติดเชื้อ (source of  infection) เป็นปอดอักเสบ (pneumonia) อัตราการใส่เครื่องช่วยหายใจ ร้อยละ 21.85 ปฏิบัติตามแนวทาง 1-hour bundle ได้ 76 ราย คิดเป็นร้อยละ 63.87 อัตราเสียชีวิตใน 30 วัน ร้อยละ 31.09 จำแนกตามกลุ่มที่ปฏิบัติและไม่ปฏิบัติตามแนวทาง 1-hour bundle เท่ากับร้อยละ 28.95 และ 34.88 ตามลำดับ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.60) ไม่พบปัจจัยใดที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุปผล : อัตราการเสียชีวิตใน 30 วัน ในผู้ป่วยที่ปฏิบัติตามชุดกระบวนการรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่ 1 ชั่วโมง (1-hour bundle) มีสัดส่วนต่ำกว่าแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับการไม่ได้ปฏิบัติตามชุดกระบวนการรักษาดังกล่าว ควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาปัจจัยที่เพิ่มอัตราการปฏิบัติตาม 1-hour sepsis bundleให้สูงขึ้น รวมทั้งศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการอัตราการเสียชีวิตใน 30 วัน ของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis)

References

Singer M, Deutschman CS, Seymour CW, Shankar-Hari M, Annane D, Bauer M, et al.

The third international consensus definitions for Sepsis and septic shock (Sepsis-3). JAMA 2016;315(8):801-10.

Rudd KE, Johnson SC, Agesa KM, Shackelford KA, Tsoi D, Kievlan DR, et al. Global, regional, and national Sepsis incidence and mortality, 1990-2017: analysis for the Global Burden of Disease Study. Lancet 2020;395(10219):200-11.

Kaukonen KM, Bailey M, Suzuki S, Pilcher D, Bellomo R. Mortality related to severe Sepsis and septic shock among critically ill patients in Aus- tralia and New Zealand, 2000-2012. JAMA 2014;311(13):1308-16.

Ministry of Public Health. Mortality rate in Community Acquired Sepsis. Health Data Center: HDC. [Internet]. [Cited 2019 Sep 16]. Available from: https://kkcard.moph.go.th/Sepsis/ template_Sepsis2562.pdf

Lundberg JS, Perl TM, Wiblin T, Costigan MD, Dawson J, Nettleman MD. Septic shock: ananalysis of outcomes for patients with onset on hospital wards versus intensive care units. CriticalCare Medicine 1998; 26:1020-1024.

Martin GS, Mannino DM, Eaton S, Moss M. The Epidemiology of Sepsis in the United States from 1979 through 2000. New EnglJouna 2003;348:1546-54.

Rivers E, Nguyen B, Havstad S, Ressler J, Muzzin A, Knoblich B, et al. Early Goal-

DirectedTherapy in the Treatment of Severe Sepsis and Septic Shock. N Engl J

Med 2001;345:1368–7

Rangel-Frausto S. The Natural History of the Systemic Inflammatory Response

Syndrome (SIRS) A Prospective Study. JAMA 1995;273(2):117-23.

Brun-Buisson C. Incidence Risk Factors and Outcome of Severe Sepsis and Septic Shock in Adults A Multicenter Prospective Study in Intensive Care Units. JAMA 1995 ;274(12):968-74.

Castle SC, Norman DC, Yeh M, Miller D, Yoshikawa TT. Fever response in elderly nursing home residents are the older truly colder? J Am Geriatr Soc 1991;39(9):853-7.

Girard TD, Opal SM, Eyl EW. Insights into severe sepsis in older patients: from

epidemiology to evidence based management. Clin Infect Dis 2005;40(5):719-27.

Opal SM, Girard TD, Eyl EW. The immunopathogenesis of sepsis in elderly patients Clin Infect Dis 2005;41(7):504-512.

Rivers E, Nguyen B, Havstad S, Ressler Julie, Muzzin A, Knobilch B. Early goal-directed therapy in the treatment of severe sepsis and septic shock. N Engl J Med 2001;345(19):1368-77.

Evans L, Rhodes A, Alhazzani W, Antonellli M, Coopersmith CM, French C, et al. Surviving Sepsis Campaign: International Guidelines for Management of Sepsis and Septic Shock 2021. Intensive Care Med 2021;47(11):1181-247.

Hu B, Xiang H, Dong Y, Portner E, Peng Z, Kashani K. Timeline of sepsis bundle

component completion and its association with septic shock outcomes. J Crit

Care 2020;60:143-51.

Prachanukool T, Sanguanwit P, Thodamrong F, Suttapanit K. The 28-day mortality outcome of the complete 1-hour sepsis bundlein the emergency department. Shock 2021;56(6):969-74.

นิลปัทม์ พลเยี่ยม, ภูริกา สิงคลีประภา, มยุรา แสนสุข. การใช้ Six bundle sepsis protocol ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลกุมภวาปี. ว.การแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2561;26(2);189-200.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. Health Data Center: HDC [Internet]. [Cited 2024 Apr 12]. Available from: https://udn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level=1&flag_kpi_year=2020

Mervyn S,Clifford S, Christopher WS, The Third International Consensus Definitions for Sepsis and Septic Shock (Sepsis-3). JAMA 2016;315(8):801-810.

Ko BS, Choi SH, Shin TG, Kim K, Jo YH, Ryoo SM, et al. Impact of 1-hour bundle achievement in septic shock. J Clin Med 2021;10(3):527.

Contenti J, Corraze H, Lemoël F, Levraut J. Effec-tiveness of arterial, venous, and capillary blood lactate as a sepsis triage tool in ED patients. Am J Emerg Med 2015 ;33(2):167–72.

Karon BS, Tolan NV, Wockenfus AM, Block DR, Baumann NA, Bryant SC, et al.

Evaluation of lactate, white blood cell count, neutrophil count, procalcitonin and

immature granulocyte count as biomarkers for sepsis in emergency department patients. Clin Biochem 2017;50(16-17):956–8.

Ljungström L, Pernestig AK, Jacobsson G, Anders- son R, Usener B, Tilevik D.

Diagnostic accuracy of procalcitonin, neutrophil-lymphocyte count ratio, C-reactive protein, and lactate in patients with suspected bacterial sepsis. PLoS One 2017;12(7): e0181704.

Baghdadi JD, Brook RH, Uslan DZ, Needleman J, Bell DS, Cunningham WE, et al.

Association of a care bundle for early sepsis management with mortality among patients with hospital-onset or community-onset sepsis. JAMA Intern Med 2020; 180(5):707–16.

Seymour CW, Gesten F, Prescott HC, Friedrich ME, Iwashyna TJ, Phillips GS, et al. Time to treatment and mortality during mandated emergency care for sepsis. N Engl J Med 2017;376(23):2235-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30