ผลของโปรแกรมการควบคุมตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว ต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ติดสุรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดื่ม สุราของผู้ติดสุราก่อนและหลังได้รับโปรแกรม การควบคุมตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วมของ ครอบครัว และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดื่ม สุราในผู้ติดสุราในระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม การควบคุมตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วมของ ครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยติดสุรา จำนวน 40 คน และผู้ดูแลหลักที่มารับบริการแผนก ผู้ป่วยใน โดยการจับคู่คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการควบคุมตนเองร่วมกับการมี ส่วนร่วมของครอบครัว และ 2) แบบประเมิน พฤติกรรมการดื่มสุรา เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติทดสอบร้อยละและสถิติทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษา:
พฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ติดสุราหลัง ได้รับโปรแกรมการควบคุมตนเองร่วมกับการ มีส่วนร่วมของครอบครัวลดลงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
พฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ติดสุราที่ได้รับ โปรแกรมการควบคุมตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วม ของครอบครัวลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาล ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
บัณฑิต ศรไพศาล. (2550). รายงานสถานการณ์สุรา ประจำปี พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา
ปนัดดา ธีระเชื้อ, หรรษา เศรษฐบุปผา และ สิริลักษณ์ วรรธนะพงษ์. (2550). ผลของโปรแกรมการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมการดื่มของผู้ติดสุรา. พยาบาลสาร, 35(3), 142-153.
ปริทรรศ ศิลปะกิจ และพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2552). แบบประเมินปัญหาการดื่มสุราแนวปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลปฐมภูมิ. กรุงเทพมหานคร: ทานตะวันเปเปอร์.
พัชชราวลัย กนกจรรยา. (2554). ผลของโปรแกรมการบำบัดผสมผสานแบบสั้นโดยการใช้การเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้า และพฤติกรรมการเสพสุราในผู้เสพติดสุรา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะ พยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2553). คู่มือสำหรับผู้อบรมการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราเบื้องต้นสำหรับบุคลากรสุขภาพ. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
พันธุ์นภา กิตติรัตน์ไพบูลย์ และสุนันท์ จำรูญสวัสดิ์ .(2557). สรุปบทเรียนการนิเทศโครงการ พัฒนารูปแบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราในระบบสุขภาพ. แผนงานการพัฒนาระบบ รูปแบบและวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหา การบริโภคสุราแบบบูรณาการ. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
พิชัย แสงชาญชัย. (2552). จิตสังคมบำบัดสำหรับผู้ติดสุรา. แผนงานการพัฒนาระบบรูปแบบและวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาการบริโภค สุราแบบบูรณาการ. เชียงใหม่: วนิดา การพิมพ์.
พิทักษ์ สุริยะใจ และคณะ. (2550). การสนับสนุนทางสังคมกับการหยุดดื่มของผู้ติดสุรา. ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดเชียงใหม่. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
มะลิ แสวงผล. (2556). ผลของโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองต่อการบริโภคแอลกอฮอล์ของผู้เสพติดแอลกอฮอล์ชายที่ได้รับการบำบัดด้วยยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. (2557). สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. ศูนย์สารสนเทศ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์.
สดุดี น้อยกรณ์. (2552). ปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการลดพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยติดสุรา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิต และจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: กองสถิติสังคมสำนักงานสถิติแห่งชาติ
Carey, M. P., Carey, K. B., Carnrike, C. L. Jr, Meisler, A. W. (1990). Learned resource¬fulness, drinking, And smoking in young adults. The Journal of Psychology, 124(4), 391-395.
Copello, A. G., Velleman, R. D., Templeton, L. J. (2005). Family interventions in the treatment of alcohol and drug problems. Drug Alcohol Rev, 24, 369 - 385.
Friedman, M. (2003). Family Nursing: Theory and Practice (5th ed). Stamford. CT: Appleton & Lange.
Hull, J. G., & Slone, L. B. (2004). Alcohol and self-regulation. Handbook of self-regulation: Research, theory, and applications, 466-491.
Panitrat, R. (2001). The relationships among dysfunctional attitudes, learned resource¬fulness, and amphetamine use in Thai adolescents. Unpublished doctoral dissertation, Case Western Reserve University, Ohio.
Piquero, A. R., Gibson, C. L., & Tibbetts, S. G. (2002). Does self - control account for the relationship between binge drinking and alcohol-related behaviors. Criminal Behavior and Mental Health 12(2), 135-154.
Pokhrel, P., Sussman, S., Rohrbach, L. A., & Sun, P. (2007). Prospective associations of social self-control with drug use among youth from regular and alternative high schools. Substance Abuse Treatment, Prevention, and Policy, 2(22), 1-8.
Rosenbaum, M. (1980). A schedule for assessing self-control behaviors, preliminary finding. Behavior Therapy, 11, 109-121.
Rosembaum, M. (1990). Learned Resourcefulness: on coping skill, Self - control, and adaptive behavior. New York, Springer Publishing Company.
Slattery, J., Chick, J., Cochrane, M., Craig, J., Godfrey, C., Kohli, H., et al. (2003). Prevention of Relapse in Alcohol Dependence; HTA Advice 3. Health Technology Board for Scotland, Glasgow.
Sussman, S., McCuller, W. J., & Dent, C. W. (2003). The associations of social self- control, personality disorders, and demographics with drug use among high risk youth. Addictive Behavior, 28(6), 1159 -1166.
World Health Organization. (2001) . AUDIT: The Alcohol Use Disorders Identification Test: Guidelines for use in primary health care. (2nd ed). Geneva: World Health Organization.
World Health Organization. (2011). Global Status Report on Alcohol and Health. Geneva, Switzerland: World Health Organization.