การศึกษาปริมาณกรดคลอโรจีนิกและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดดอกเก๊กฮวยแต่ละพื้นที่ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
เก๊กฮวย, กรดคลอโรจีนิก, ฤทธิ์ทางชีวภาพ, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระบทคัดย่อ
ภูมิหลัง: Chlorogenic acid (CGA) เป็นสารประกอบที่อยู่ในกลุ่มฟีนอลิกพบมากในกาแฟ และพบได้ในชาพืชหลายชนิดรวมทั้งดอกเก๊กฮวย CGA มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านมะเร็ง วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบปริมาณสารสำคัญ CGA ฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพการต้านอนุมูลอิสระ และความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งช่องปากของสารสกัดดอกเก๊กฮวยจากแหล่งปลูกต่างๆในประเทศไทย วิธีการ:สุ่มตัวอย่างดอกเก็กฮวยสกัดด้วยตัวทำละลาย ≥99.9% ethanol, 40% ethanol และน้ำวิเคราะห์หาปริมาณ CGA, total phenolics, total flavonoids พร้อมทดสอบการต้านอนุมูลอิสระวิธี DPPH assay และความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งช่องปากวิธี MTT assay ผล: ปริมาณสารสำคัญแต่ละแหล่งปลูกนั้นมีความแตกต่างกัน เชียงใหม่มีปริมาณสาระสำคัญ CGA และฟีนอลิกทั้งหมด สูงสุด เท่ากับ 1.41%w/w และ 93 mg GAE/g ตามลำดับ ส่วนสมุทรปราการมีปริมาณ ฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงสุด เท่ากับ 23 mg QE/g ในการทดสอบการต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสมุทรปราการ ค่า IC50 ดีที่สุดเท่ากับ 165.33 µg/mL (เชียงใหม่ให้ค่า IC50 รองลงมาเท่ากับ 169.50 µg/mL) แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≥ .05) และสารสกัดดอกเก๊กฮวยไม่สามารถทำให้เซลล์ช่องปากตายได้มากกว่าร้อยละ 50 จึงถือว่าไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ สรุป: สารสำคัญ CGA ฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ที่พบในสารสกัดมีปริมาณแตกต่างกันในแต่ละแหล่งปลูกและขึ้นกับตัวทำละลาย และสารสกัดดอกเก๊กฮวยในประเทศไทยมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระแต่ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งช่องปาก
References
Ren ZH, Hu CY, He HR, Li YJ, Lyu J. Global and regional burdens of oral cancer from 1990 to 2017: Results from the global burden of disease study. Cancer Commun (Lond) 2020;40(2-3):81-92.
Gupta N, Gupta R, Acharya AK, Patthi B, Goud V, Reddy S, et al. Changing Trends in oral cancer - a global scenario. Nepal J Epidemiol 2016;6(4):613-9.
Arunpraphan S. The trends of oral cavity and pharyngeal cancer incidence in Thailand, 2004-2015. Th Dent PH J 2019;24:55-67.
Ram H, Sarkar J, Kumar H, Konwar R, Bhatt ML, Mohammad S. Oral cancer: risk factors and molecular pathogenesis. J Maxillofac Oral Surg 2011;10(2):132-7.
Poulopoulos A, Papadopoulos P, Andreadis D. Chemotherapy: oral side effects and dental interventions -a review of the literature. Stomatological Disease and Science 2017;1:35-49.
Hayakawa S, Ohishi T, Miyoshi N, Oishi Y, Nakamura Y, Isemura M. Anti-cancer effects of green tea epigallocatchin- 3-gallate and coffee chlorogenic acid. Molecules 2020; 25(19):4553.
Chiang HM, Chen CW, Chen CC, Wang HW, Jhang JH, Huang YH, et al. Chapter 58. Role of coffea arabica extract and related compounds in preventing photoaging and photodamage of the skin. In: Preedy VR, editor. Coffee in health and disease prevention. San Diego: Academic Press; 2015. p. 523-30.
Bhardwaj R. Cytotoxic role of chlorogenic acid on oral squamous cell carcinoma cell line. Indian Journal of Otolaryngology and Head & Neck Surgery 2021;74(2).
Zhan Y, Li R, Feng C, Li X, Huang S, Wang L, et al. Chlorogenic acid inhibits esophageal squamous cell carcinoma growth in vitro and in vivo by downregulating the expression of BMI1 and SOX2. Biomed Pharmacother 2020;121:109602.
Sun Ql, Hua Sy, Ye JH, Zheng X, Liang Y. Flavonoids and volatiles in Chrysanthemum morifolium Ramat flower from Tongxiang County in China. African Journal of Biotechnology 2010;9(25):3817-21.
Kulrath P, Duangdee N, Supornpun N, Prateeptongkum E. Comparison of Fluoride and Catechin levels in green tea extract at various geographical locations in Thailand. j dept med ser 2019;44(2):114-20.
Damasuri AR, Sholikhah EN, Mustofa. Cytotoxicity of ((E)-1- (4-aminophenyl)-3-phenylprop-2-en-1-one)) on HeLa cell line. Indonesian Journal of Pharmacology and Therapy 2020; 1(2):54-9.
Wang L, Pan X, Jiang L, Chu Y, Gao S, Jiang X, et al. The biological activity mechanism of Chlorogenic acid and its applications in food industry: A Review. Front Nutr 2022; 9:943911.
Sharma G, Kamboj M, Narwal A, Bhardwaj R, Yadav P. Cytotoxic role of Chlorogenic acid on oral squamous cell Carcinoma cell line. Indian J Otolaryngol Head Neck Surg 2022;74(Suppl 3): 5773-81.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการหรือของวารสารกรมการแพทย์