ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยาในไอซียูศัลยกรรม 2 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • สุกันยา บุญล้ำ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, อุบัติการณ์ติดเชื้อดื้อยา, คะแนนการประเมินความรุนแรงและอัตราการตายของผู้ป่วย

บทคัดย่อ

     การวิจัยย้อนหลังนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อดื้อยากับอุบัติการณ์ติดเชื้อดื้อยาของผู้ป่วยขณะเข้ารับการรักษาในไอซียูศัลยกรรม 2 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี รวบรวมข้อมูล จากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในไอซียูศัลยกรรม 2 ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2562 เป็นผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อดื้อยา จำนวน 69 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลที่ได้จากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยไคสแควร์ และ Fisher’s Exact Test

     ผลการวิจัย 1) การติดเชื้อดื้อยาของกลุ่มที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ ≥ 60 ปี มีโรคร่วมเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนโรคร่วม 1 - 2 โรค มีประวัติการส่งต่อผู้ป่วยมาจากหน่วยงานภายนอก
มีประวัติการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลครั้งก่อน ไม่มีประวัติการเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยไอซียู มีวันนอนในโรงพยาบาล ≥ 20 วัน จำนวนวันนอนในไอซียูศัลยกรรม 2 > 5 วัน คะแนนารประเมินความรุนแรงและอัตราการตายของผู้ป่วย 5 - 10 คะแนน ได้รับยาต้านจุลชีพกลุ่ม Cephalosporin ก่อนเข้ารักษาตัว อุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาของผู้ป่วย 1 ครั้ง และสถานภาพการจำหน่ายหาย/ทุเลา 2) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อดื้อยาที่มีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ติดเชื้อดื้อยา ได้แก่ อายุ คะแนนการประเมินความรุนแรง และอัตราการตาย และการได้รับยาต้านจุลชีพกลุ่ม Carbapenem มาก่อน มีความสัมพันธ์กับอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

     ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรนำข้อมูลด้านอายุ การประเมินความรุนแรงและ
อัตราการตาย และการได้รับยาต้านจุลชีพกลุ่ม Carbapenem ก่อนเข้ารักษาตัวในไอซียูศัลยกรรม 2 มาประเมินการผู้ป่วยเพื่อการป้องกันและการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา

References

Apisarnthanarak, A. (2011). Epidemiology and control of nosocomial drug-resistant microorganisms. Bangkok Wetchasan Printing House: Bangkok. (in Thai)

Grgurich, P. E., Hudcova, J., Lei, Y., Sarwar, A., & Craven, D. E. (2012). Management and prevention of ventilator-associated pneumonia caused by multidrug-resistant pathogens. Expert Review of Respiratory Medicine, 6(5), 533-55.

Inchai, J., Liwsrisakuna, C., Theerakittikul, T., Chaiwarith, R., Khositsakulchai, W. & Pothirata, C. (2015). Risk factors of multidrug-resistant, extensively drug-resistant and pandrug-resistant acinetobacter baumannii ventilator-associated pneumonia in a medical intensive care unit of university hospital in Thailand. Journal of Infection and Chemotherapy, 21(8), 570-574.

Infection and Prevention and Control Unit. (2019). Multidrug-resistance report in Suratthani hospital 2019. Suratthani. (in Thai)

Jamroenwong, N., Piyarak, S. & Chaiwong, C. (2020). Assessment and nursing care of a patient with septic shock. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 7(1), 319-330.

Juylek, N., Picheansathian, W., & Kasatpibal, N. (2016). Development of risk factor scoring system of multidrug-resistant microorganism infection among in-patients. Nursing Journal, 43(3), 69-80.

Khoka, A. (2020). Antibiotics and antibiotic resistance. Journal Medicine Health Sciences, 27(2), 125-139.

Nakonchai, T. (2018). Factors associated with multi‐drug resistant infections among patients of Udonthani Cancer Hospital. Nursing, Health, and Education Journal, 1(1), 23-30.

Phumart, P., Phodha, T., Thamlikitkul, V., Riewpaiboon, A., Prakongsai, P., & Limwattananon, S. (2012). Health and economic impacts of antimicrobial resistant Infections in Thailand: A preliminary study. Journal of Health Systems Research, 6(3), 352-360.

Piwpong, C. (2016). Incidence of carbapanam-resistant enterobacteriaceae in Suratthani hospital. Region 11 Medical Journal, 30(2), 1-12.

Rattanaumpawan, P., Choorat, C., Takonkitsakul, K., Tangkoskul, T., Seenama, C., & Thamlikitkul, V. (2018). A prospective surveillance study for multidrug-resistant bacteria colonization in hospitalized patients at a Thai University hospital. Antimicrobial Resistance and Infection Control, 7(102), 1-11.

Surinrach, A., Kerdsin, A., & Somsri, P. (2019) Risk factors of carbapenem–resistant bacteria infection in stroke patients at Sakon Nakhon Hospital. Journal of Sakon Nakhon Hospital, 22(1), 40-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-29