การสอบสวนการระบาดของโรคหัดในโรงงานผลิตเครื่องถ่ายเอกสารแห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง ปี พ.ศ. 2561

ผู้แต่ง

  • นิลุบล คารวานนท์ โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา
  • รวินันท์ โสมา กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • อรทัย สุวรรณไชยรบ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • วิชญาภรณ์ วงษ์บำหรุ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ธนิต รัตนธรรมสกุล กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

โรคหัด, การระบาด, โรงงาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายการระบาดตามลักษณะ บุคคล เวลา สถานที่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ทบทวนสถานการณ์การระบาดของโรคหัด ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ศึกษาทางห้องปฏิบัติการ และสิ่งแวดล้อมในโรงงานและลักษณะการทำงานของพนักงาน โดยใช้แบบสอบสวนโรคหัดของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมตรวจสอบข่าวเหตุการณ์การระบาดของกรมควบคุมโรค (Department of Disease Control’s Event-based Program) พรรณนาลักษณะและค้นหาแหล่งที่มาของการระบาด ใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ มัธยฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ เพื่อการป้องกันและควบคุมโรค

     ผลการวิจัย พบผู้ป่วยยืนยัน 12 รายและผู้ป่วยสงสัย 21 ราย โดยไม่พบผู้มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหรือเสียชีวิต ค่ามัธยฐานของอายุเท่ากับ 25 ปี น้อยที่สุด 18 ปี และมากที่สุด 29 ปี อัตราป่วยในภาพรวมร้อยละ 0.9 อัตราป่วยจำเพาะสูงที่สุดในกลุ่มอายุ 25 - 29 ปี ร้อยละ 1.2 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1 ต่อ 1.2 ผู้ป่วยร้อยละ 100 มีไข้และผื่น ร้อยละ 70 มีอาการไอ มีการควบคุมโรคโดยจำกัดโซนการทำงาน ใช้ระบบ     ปรับอากาศ โรงอาหาร และรถรับส่งร่วมกัน นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2561 อำเภอปลวกแดงมีความครอบคลุมของวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูมและหัดเยอรมัน (MMR) เข็มที่ 1 และ 2 เท่ากับร้อยละ 92.4 และ 84.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดและหัดเยอรมันให้แก่ผู้สัมผัสจำนวน 1,558 คน

     งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้ ผู้รับผิดชอบแจ้งทีมสอบสวนโรคเพื่อดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคหัดตั้งแต่เริ่มมีการระบาด และการฉีดวัคซีนควรฉีดเฉพาะผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยภายใน 72 ชั่วโมง และมีอัตราป่วยจำเพาะของกลุ่มอายุมากกว่าร้อยละ 2 จึงควรทำทะเบียนผู้ที่ได้รับวัคซีนเพื่อใช้สำหรับติดตามอาการต่อไป

References

Bellini, W. J. & Rota, P. A. (1998). Genetic diversity of wild-type measles viruses: implications for

global measles elimination programs. Emerging infectious diseases, 4(1), 29.

Centers for Disease Control & Prevention (US). (2015). Epidemiology and prevention of vaccine

preventable diseases. Department of Health & Human Services, Public Health Service,

Centers for Disease Control and Prevention. (in Thai)

Fu, J., Jiang, C., Wang, J., Cai, R., Cheng, W., Shi, L. et al. (2019). A hospital-associated measles

outbreak in health workers in Beijing: Implications for measles elimination in China,

International Journal of Infectious Diseases, 78, 85-92.

Gallagher, G. (2017). Measles outbreak in Romania grows to 3,800 cases, threatens region.

Infectious Diseases in Children, 30(4), 3-3.

George, F., Valente, J., Augusto, G. F., Silva, A. J., Pereira, N., Fernandes, T. et al. (2017). Measles

outbreak after 12 years without endemic transmission, Portugal, February to May 2017.

Eurosurveillance, 22(23), 30548.

Hall, V., Banerjee, E., Kenyon, C., Strain, A., Griffith, J., Como-Sabetti, K et al. (2017). Measles

Outbreak-minnesota april–may 2017. MMWR. Morbidity and mortality weekly report,

(27), 713.

Health data center (HDC). (2018). Measles vaccine situation. Retrieved October 2018, from

https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source =epi/epi_3.php&cat_id=

df360514655f79f13901ef1181ca1c7&id=267ce09f2a704eb7783997e25d1f18ba. (in Thai)

Jia, H., Ma, C., Lu, M., Fu, J., Rodewald, L. E., Su, Q. et al. (2018). Transmission of measles

among healthcare workers in hospital W, Xinjiang autonomous region, China, 2016. BMC

infectious diseases, 18(1), 1-6.

Kudesia, G., & Wreghitt, T. (2009). Clinical and diagnostic virology. Cambridge university press.

Kurchatova, A., Krumova, S., Vladimirova, N., Nikolaeva-Glomb, L., Stoyanova, A., Kantardjiev, T.

et al. (2017). Preliminary findings indicate nosocomial transmission and Roma population

as most affected group in ongoing measles B3 genotype outbreak in Bulgaria, March to

August 2017. Eurosurveillance, 22(36), 30611.

Li, Z., Zhang, Z., Wang, F., Wei, R., Zhao, J., & Liu, F. (2019). Measles outbreak in an office building

in the crowded Metropolis of Beijing, China. BMC infectious diseases, 19(1), 1-6.

Ministry of Public Health, & DDC. (2016). Guideline for surveillance treatment and laboratory

investigation for measles eradication. Retrieved October 2018, from http://203.157.196.7/

web_ssj/webmanager/uploads/2018-11-01135029%E0%B9%81%E0%B8%99%E0% B8%

A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%

B8%81% E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A3%

E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%94.pdf. (in Thai)

Ministry of Public Health. (2018). Event-based Surveillance Online Program. Retrieved October

, from https://e-reports.doe.moph.go.th/eventbase/calendar/zone99/. (in Thai)

Ministry of Public Health. (2019). National Vaccine Institute, Thailand, Retrieved April 2020, from

http://nvi.ddc.moph.go.th/Download/EpiModule/ch_1.pdf. (in Thai)

Ministry of Public Health. (2019). Situation of measles Thailand 2018-2019. Retrieved April 2020,

from https://ddc.moph.go.th/ doe/news.php?news=11121&deptcode=doe. (in Thai)

Morse, D., O'shea, M., Hamilton, G., Soltanpoor, N., Leece, G., Miller, E. et al. (1994). Outbreak of

measles in a teenage school population: the need to immunize susceptible adolescents.

Epidemiology & Infection, 113(2), 355-365.

World Health Organization. (2017). Distribution of measles genotypes, February 2016 to January

(12M period).

World Health Organization. (2018). Global Measles and Rubella Update November 2018.

Geneva, Switzerland: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-16