บทบาทของพยาบาลชุมชนในการวางแผนดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้าเพื่อการตายดีของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • วรัญญา จิตรบรรทัด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

บทบาทพยาบาลชุมชน, การวางแผนดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้า, การตายดี, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     ผู้สูงอายุเป็นวัยที่อยู่ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมตามวัยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ผู้สูงอายุจึงมักมีปัญหาสุขภาพและความเจ็บป่วยเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการของความเสื่อมเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ระยะท้ายของชีวิต พยาบาลชุมชนเป็นทีมสุขภาพที่ใกล้ชิดผู้สูงอายุมากที่สุด และเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมการวางแผนดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้าเพื่อการตายดีของผู้สูงอายุ

      บทบาทของพยาบาลชุมชนในการวางแผนให้ดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้าเพื่อการตายดีของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1. ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ครอบคลุมการให้ความรู้ด้านสุขภาพ และและการให้คำปรึกษาพยาบาลชุมชนควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาแก่ผู้สูงอายุและครอบครัวในเรื่องการตายดีและการวางแผนดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้าของผู้สูงอายุควบคู่ไปกับการให้บริการทางสุขภาพ 2. ผู้นำและผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีการวางแผนดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้า ซึ่งจัดเป็นบทบาทที่ท้าทายของพยาบาลชุมชนที่จะนำสู่การเปลี่ยนแปลง 3. ผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ ผู้ประสานงาน ผู้บริหารจัดการ และผู้ให้ความร่วมมือ พยาบาลชุมชนควรให้ผู้สูงอายุพึงได้รับรู้ตามสิทธิการตายดีตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุและครอบครัวได้วางแผนการดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้าทั้งทางร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และ 4. ผู้วิจัยเนื่องจากพยาบาลชุมชนปฏิบัติงานภายใต้พลวัตรของชุมชน ดังนั้น การเป็นผู้วิจัยจึงเป็นบทบาทสำคัญที่จะเข้าใจ เรียนรู้ และผลักดันกระบวนงานให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชนในทุกมิติ
ของสุขภาพ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและครอบครัวในช่วงระยะท้ายของชีวิตผ่านการแสดงเจตจำนงค์ของผู้สูงอายุในขณะที่ยังสามารถสื่อสารความต้องการได้

References

FFan, S. Y., Sung, H. C., & Wang, S. C. (2019). The experience of advance care planning discussion among older residents in a long-term care institution: A qualitative study. Journal of Clinical Nursing, 3-7. http://doi:10.1111/jocn.14936.

Jeamteerasakul, S., & Sinthuphan, J. (2019). Communication for preparing for death in the 21st century. Social sciences and fine arts amid social changes “Love, death and power in the context of contemporary society.” (in Thai)

Junchom, K., Sangsai, Y., & Polsavat, B. (2021). Empowering family and community in end–of-life care: important role of nurses. Journal of Health Science Boromarajonani College of Nursing Sunpasitthiprasong, 5(2), 12-24.

Institute for Population and Social Research Mahidol University (2020). Population message, Mahidol University. Retrieved October 19, 2021 from http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr- th/PublicationGazette.html. (in Thai)

Krainuwat, K., & Kotchakrai, R. (2019). Community nursing. Bangkok: Faculty of Nursing Mahidol University. (in Thai)

National Statistical Office Thailand. (2020). Report of the elderly population in Thailand 2019. Bangkok. (in Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council. (2019). Report of the population projections for Thailand 2010-2040 (Revision). Retrieved October 19, 2021 from http://social.nesdc.go.th/social/Portals/0/Documents/_2315.pdf.

Office of the National Health Commission. (2019). A handbook of health service providers: laws and practices related to the care of the palliative care. 5th printing TQP.

Pattarateeranon, P., Sriyoha, N., Sreeprasarn, P., & Saowanee, R. (2021). Role of community nurses in health promotion and prevention of coronavirus 2019 pandemic in 8 community responsible area, Ramathibodi Hospital. Thai Journal of Health Education, 44(1), 1-11.

Pengjad, J. (2014). The role of nurses in palliative care. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 30(1), 100-107.

Population Reference Bureau. (2020). World population. Retrieved October 19, 2021 from https://www.populationmedia.org/2012/07/25/population-reference-bureau-releases 2012-world-data-sheet. (in Thai)

Thapanakulsuk, P. (2020). Advance care planning: important issue of geriatric palliative care. Journal of Nursing Science & Health, 43(3), 12-23.

Thipkanjanaraekha, K., Saleekun, S., Aphisitthiwatsana, N., & Thiammork, M. (2017). Advance care planning for good death. Journal of Boromarajonani College of Nursing, 33(3), 138-145.

The National Council for Palliative Care (NCPC). (2008). Advance care planning: A guide for health and social care staff. Retrieved October 10, 2021 from http://www.ncpc.org.uk/sites/default/files/Advance Care Planning.pdf. (in Thai)

Thai Cancer Society. (2020). The right to choose to care for the quality of life Retrieved October 10, 2021 from https://thaicancersociety.com. (in Thai)

U.S. Department of Health and Human Service. (2019). Advance care planning: Healthcare Directives. Retrieved October 10, 2021 from https://www.nia.nih.gov/health/advance-care planning-healthcare-directives#decisions Accessed on February 25, 2020.

Suwanwaiphatthana, W., Waithayavongkorn, N, & Aunjangwang, W. (2013). The relationship between knowledge and attitude of cigarette smokers toward protecting family members from secondhand smoke. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima, 19(1), 31-41.

Tobacco Control Research and Knowledge Management Center. (2018). Thailand tobacco consumption statistics report 2018. Bangkok: Jarerndeemankong Printing. (in Thai)

Wateesatokgij, P. (2016). The next step of the campaign foundation for non-smoking. Retrieved March 11, 2021 from http://www. ashthailand.or.th/content_ attachment/ attach/eaf29e1.pdf. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-08