ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณลักษณะการตายดีในผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามการรับรู้ ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
คุณลักษณะการตายดี, ผู้ป่วยระยะสุดท้าย, พยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณลักษณะการตายดี และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพต่อคุณลักษณะการตายดีในผู้ป่วยระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ พยาบา]วิชาชีพที่ปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยโดยตรงในโรงพยาบาลท่าศาลาที่มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 96 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - เมษายน พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามคุณลักษณะการตายดีในผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน เท่ากับ 0.91 ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การแจกแจง ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน แรงค์ออเดอร์
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับการรับรู้คุณลักษณะการตายดีในผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยรวมในระดับสูง (M= 172.54, S.D.= 18.59) ส่วนคะแนนเฉลี่ยการรับรู้คุณลักษณะการตายดีในผู้ป่วยระยะสุดท้ายรายด้านพบอยู่ในระดับสูงทุกด้าน คือ ตายอย่างสงบ (M= 77.49, S.D.= 9.59) ตายตามธรรมชาติท่ามกลางครอบครัวและคนที่รักในสิ่งแวดล้อมที่สงบ (M= 56.53, S.D.= 6.49) และตายแบบหมดห่วง (M= 43.07, S.D.= 5.27) โดยการอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r= 0.221) ประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r= .353)
จากการศึกษานี้ เป็นการขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับการตายดีตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพมีประโยชน์สำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลในการวางแผนในการอบรมและสร้างประสบการณ์พยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเพื่อให้เกิดการตายดีของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
Downloads
References
Bloom, B. (1964). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals: Handbook I: Cognitive
domain. New York: David McKay. (in Thai).
Division of Non Communicable Disease, Department of disease control (2021). Situation of non Communicable
diseases. Retrieved June 12, 2021 from http://thaincd.com/2016/ mission/documents-detail.php id=13893&tid
=32&gid=1-020.
Jamjan, L. & Chaleoykitti, S. (2017). Trend of palliative care in the bachelor of nursing science curriculum. Journal of
The Royal Thai Army Nurses, 18(1), 22-28.
Jompaeng, Y. & Sangchart, B. (2013). Nurse’s perception of a good death: a phenomenology study. Journal of
Nursing Science & Health, 36(3), 49-59.
Keawtong, W., Rawiworakul, T., Kalampakorn, S., & Kerdmongkol, P. (2017). Competencies of palliative care among
community nurses in primary care units. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 18(Supplement January-April),
-83.
Khongsaman, P., Wongrostr, Y., & Akkarawongvisiht, C. (2020). Good death as perceived by nursing students. Journal
of The Royal Thai Army Nurses, 22(2), 95-104.
Kunsongkeit, W. (2017). Good death nursing care at home as perceived by the nurses in a primary care unit. The
Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 25(4), 84-94.
Matchim, Y. & Thongthawee, B. (2019). Nursing students’ and novice nurses’ caring behaviors. Songklanagarind
Journal of Nursing, 39(2), 73-86.
Ngamgam, S., & Sangchart, B. (2016). Buddhist monks’ perceptions concerning good death. The National and
International Graduate Research Conference, 645-655. (in Thai)
Nuekwen, P., Hanprasitkam, K., & Junda, T. (2016). Nurses’ perceptions and practice on palliative care. Thai Journal of
Cardio-Thoracic Nursing, 27(1), 128-141.
Nupinit, W.(2016). Relationship between selected factors and ICU nurses’ competency for caring of patients at the
end of Life. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree Nursing Science (Adult
Nursing.) Faculty of Nursing Prince of Songkla University. (in Thai)
Panuthai, S., Srirat, C., & Wonghongkul, T. (2020). Characteristics of a good death as perceived by related people in
the upper northern thai context. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council, 35(4), 35-53.
Panuraj, S. (2017). The factors related to nurses caring behaviors in providing care for end of life patients. A Thesis
Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree Nursing Science Adult Nursing, Faculty of
Nursing Thammasat University. (in Thai)
Pasunon, P. (2014). Sample size determination from Krejcie and Morgan (1970). Approach in quantitative research.
The Journal Of Faculty Of Applied Arts, 7(2), 112-120.
Polit, D.F., & Beck, C.T. (2012). Nursing research: generating and assessing evidence for nursing Practice. (9 ed.).
Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins.
Phetcharat, Kongpitee, Sansuktawee, Duangmun, Phromloungsri, Supanpasuch, et al., (2017). Needs in End of Life
Care of Surgical and Orthopedic Patients. Srinagarind Med Journal, 32(3), 269-275.
Rongmuang, D., Nakchattree, C., & Thongphet., P. (2018). Palliative and end-of-life care competencies among
registered nurses in Regional Health 11. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 19(Supplement), 411-422.
Samerchua, W., Nantachaipan, P., & Sittisombut, S. (2019). Good death as perceived by cancer survivors. Nursing
Journal, 46(1), 49-61.
Sangchart, B., Ekwuttiwongsa, R., Jompaeng, Y., Buppha, P., & Phaikammam, N. (2020). Development of nurse
competency assessment tool for end of life care. Journal of Nursing Science & Health, 43(3), 45-55.
Siriso, J., Thanasilp, S., & Pudtong, N. (2017). Selected factors related to the quality of death of persons with terminal
cancer as perceived by family caregivers. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 29(2), 112-123.
Srisuwan, N., Matchim, Y., & Nilmanat, K. (2014). Nurses’ competency in communication with patients at the end of
life and their families and related factors. Songklanagarind Journal of Nursing, 34(3), 109-124.
Sujaritwarakul, M., & Somanusorn, S. (2018). Factors related to death preparation among thai buddhist elderly.
Kuakarun Journal of Nursing, 25(1), 154-169.
Thongdam, R., Kongsuwan, W., & Nilmanat, K. (2015). Thai muslim nurses’ perspective of a peaceful death.
Songklanagarind Journal of Nursing, 35(2), 21-34.
World Health Organization.(2020). WHO definition of palliative care. Retrieved October 18, 2020. From

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว