ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก สำหรับการจัดการความเจ็บปวดในผู้คลอดปกติ โรงพยาบาลปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติทางคลินิก, การจัดการความเจ็บปวด, ผู้คลอดปกติบทคัดย่อ
การวิจัยดำเนินงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความเจ็บปวดในผู้คลอดปกติในหน่วยงานห้องคลอดโรงพยาบาลปากพนัง กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเจาะจงประกอบด้วย ผู้คลอดปกติที่ได้รับการดูแลตามปกติ ระหว่างเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จำนวน 40 คน และกลุ่มผู้คลอดปกติที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติทางคลินิก ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึงมกราคม พ.ศ. 2565 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความเจ็บปวดในผู้คลอดปกติที่พัฒนาโดยจุฑามาศ บุพสุวรรณ์ พ.ศ. 2551 ดำเนินการศึกษาโดยใช้กรอบแนวคิดการนำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้ของสมาคมพยาบาลออนทาริโอ ปี ค.ศ. 2002 เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ มาตรวัดความเจ็บปวดชนิดที่เป็นตัวเลข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าทีชนิด
2 กลุ่มอิสระต่อกัน
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้คลอดปกติที่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิด 4 - 7 และ 8 - 10 เซนติเมตร (M= 6.38, S.D.= 1.60 และ M= 7.20, S.D.= 0.77) น้อยกว่าผู้คลอดปกติที่ไม่ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในระยะปากมดลูกเปิด 4 - 7 และ 8 - 10 เซนติเมตร (M= 7.29, S.D.= 1.29 และ M= 8.28, S.D.= 0.93) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05)
การนำแนวปฏิบัติมาใช้เพื่อลดความเจ็บปวดนั้นมี ประสิทธิภาพเหมาะสมในห้องคลอดและควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ได้นำไปปฏิบัติกับผู้คลอดทุกคน
References
Aussawaponpaisan, P. & Chiwongnakkapun, C. (2021). Effectiveness of implementing clinical practice guidelines for pain management among surgical critically Ill patients in Surgical Intensive Care Unit, Phrae Hospital. Journal of the Phrae Hospital, 29(1), 139-152.
Borrirukwanit, K., Jindajumnong, P., Pomyen, S., Junhmaun, K., Yusuk, K., & Seewan, T., et al. (2019). Nursing effect and duration in pain degree delivery and blood loss. Journal of Health Science, 28,(3), 457-465.
Bupsuwan, J. (2008). Development of clinical practice guidelines for pain management SuratThani Hospital. Independent Research, Master of Nursing Science Advanced Midwifery Program graduate school Chiang Mai University. (in Thai)
Jaiwongpab, S., Ruangwattana, S., Janthawang, S., Kaewkhampa, P., Panyoyai, S., & Jaisin, T. (2019). Effectiveness of clinical nursing practice guidelines for pain relief in critically Ill Patients, Lamphun Hospital. Journal of Nurses Association of Thailand Northern Region, 25(1), 49-62.
Jaksan, A., Muenhong, S., & Jaiwongpab, S. (2020). Development of clinical nursing practice guideline for pain management of postoperative patients at male surgical ward, Surgical Nursing Group in Phrae Hospital. Journal of the Phrae Hospital, 28(1), 121-134.
Kaewsiri, P. & Darulrud, C. (2018). Non-pharmacological approaches to management of labor pain. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University, 8(Special edit), 173-180.
Kosoom, K. (2014). The outcomes of clinical nursing practice guideline for pain management of postoperative patients at a tertiary level hospital in Prachinburi Province. Master of Nursing Science, Adult Nursing Faculty of Nursing, Christian University. (in Thai)
Kunneejitmethee, T. K. (2017). Pain and pain management during labor. Apheit Humanities and Social Sciences Journal, 6(2), 158-165.
Mano, R., Chunuan, S., & Samankasikorn, W. (2021). Effects of the maneevej exercise technique with pranayama breathing on labor pain and duration of Labor in primiparous women. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(1), 69-84.
National Health and Medical Research Council. (1999). A guide to the development, implementation and evaluation of the clinical practice guidelines.Retrieved from https://www.health.qld.gov.au/data/assets/pdf.file/0029/143696/nhmrc_clinprgde.pdf.
Registered Nurse Association of Ontario. (2002). Implementation of clinical practice guidelines. Retrieved February 1, 2021, from http://www.rnao.org
Ruangsri, P. (2021). A development of practice guideline for pain education in women with caesaren section, Koh Sa Mui Hospital. Journal of MCU Nakhondhat, 8(9), 144-159.
Sangtongrungcharoen, P. & Ngamkham, S. (2019).Pain management in labor based on the neuromatrix theory. Journal of Nurses Association of Thailand Northern Region, 25(2), 1-12.
Srisuwan, T. (2012). Effectiveness of implementing clinical practice guidelines for pain management among normal parturients, Lumphun Hospital. Master of Nursing Science, Advanced Midwifery, Faculty of Nursing, Chang Mai University. (in Thai)
The AGREE Collaboration. (2001). The appraisal of guidelines for research & evaluation (AGREE) instrument. London: St. George’s Hospital Medical School.
Worapongthorn, T. & Worapongthorn, S. (2018). Sample size calculation for research project with G*Power program. Journal of Health Promotion and Environmental Health, 41(2), 11-21.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว