ผลการตรวจสอบภายในด้านการจัดการระบบยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใน 4 อำเภอของจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • ลักขณา วงศ์เสาร์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี

คำสำคัญ:

การตรวจสอบภายใน, การจัดการระบบยา, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้เพื่อศึกษาผลการตรวจสอบภายใน ด้านการจัดการระบบยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยมีเภสัชกรเป็นผู้ตรวจสอบภายใน จำนวน 24 แห่ง ช่วง มีนาคม - กรกฎาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินการตรวจสอบภายใน และแบบประเมินมาตรฐานด้านการจัดการระบบยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ และร้อยละ

ผลการการตรวจสอบภายในด้านการจัดการระบบยา พบว่า ข้อทักท้วงมากที่สุด คือ การเก็บรักษาที่คลังยา ร้อยละ 62.50 รองลงมา คือ รายงานการตรวจนับเวชภัณฑ์ประจำปี ร้อยละ 45.83 และข้อทักท้วงน้อยที่สุด คือ คำสั่ง/โครงสร้าง ผู้รับผิดชอบงานและระบบป้องกันยาหมดอายุ ร้อยละ 4.17 เมื่อพิจารณาแต่ละมิติ พบว่า มิติที่ 1 เรื่องทั่วไป ข้อทักท้วงมากที่สุด คือ รายงานการตรวจนับเวชภัณฑ์ประจำปี ร้อยละ 45.83 มิติที่ 2 เรื่องการควบคุมการเบิก-จ่าย ข้อทักท้วงที่พบมากที่สุด คือ การลงรับ-จ่ายในโปรแกรม HOSxP ร้อยละ 25.00 ส่วนมิติที่ 3 การเก็บรักษา ข้อทักท้วงมากที่สุด คือ คลังยา ร้อยละ 62.50 ผลการประเมินมาตรฐานตามเกณฑ์ 3 ระดับ พบว่า มาตรฐานที่มีการดำเนินการครบถ้วนมากที่สุด คือ ด้านคำสั่ง/โครงสร้างของผู้รับผิดชอบจัดการระบบยา (เกณฑ์ 1.1) และด้านระบบป้องกันยาหมดอายุ (เกณฑ์ 3.3) ร้อยละ 95.83 เกณฑ์มาตรฐานที่มีการดำเนินการไม่ครบถ้วนมากที่สุด คือ ด้านคลังยา (เกณฑ์ 3.1) ร้อยละ 58.33 เกณฑ์มาตรฐานที่ไม่มีการดำเนินการมากที่สุด คือ ด้านรายงานการตรวจนับเวชภัณฑ์ประจำปี (เกณฑ์ 1.3) ร้อยละ 25.00 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ได้มาตรฐานระดับดีเยี่ยมมากที่สุด คือ ภายใต้โรงพยาบาลแม่ข่ายระดับจังหวัด ร้อยละ 100.00 ส่วนภายใต้โรงพยาบาลแม่ข่ายระดับอำเภอ ได้มาตรฐานระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 80.95 นอกจากนี้ ยังพบว่า สามารถดำเนินการจัดระบบยาได้มาตรฐานในระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 83.33 รองลงมา คือ ระดับดี ร้อยละ 12.50 และระดับต้องปรับปรุง ร้อยละ 4.17

ข้อเสนอแนะ แต่ละเครือข่ายบริการสุขภาพควรมีการถอดบทเรียนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ได้มาตรฐานระดับดีเยี่ยม เพื่อเป็นการพัฒนาการจัดการระบบยาภายในเครือข่ายบริการสุขภาพของตนเอง

References

Bloom, B. S. (1986). Learning for Mastery. UCLA Evaluation Comment, 1(2), 1–8.

Bukbun, K. (2022, July 20). Guidelines for the placement of the internal control system, risk management and internal control evaluation. In Meeting of the project to develop the potential of those who are responsible for setting up and monitoring the internal control system of government agencies and agencies under the Ministry of Public Health. Office of Permanent Secretary, Bangkok. (in Thai)

Chaiveerathai, S. & Liampreecha, W. (2015). Optimization and cost reduction of pharmaceutical inventory management: A Case study of a government hospital in Phitsanulok. Retrieved 18 July 2022, from https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1101/801. (in Thai)

Dharmniti Internal Audit Company Limited. (2016). Internal auditing mechanism key tools in Organization Management. Retrieved 15 July 2022, from https://www.dir.co.th/th/. (in Thai)

Fungsuk, N. & Pholnok, A. (2017). Development of effecicient medicine inventory management of the health promoting hospital, Uthai District, Phranakorn Sri Ayutthaya Province. Retrieved 8 May 2022, from http://journal.hcu.ac.th/pdffile/jn2141/9.pdf. (in Thai)

Mongkolpornsuk, K. (2022). In meeting of pharmacy health service network management system development working group. Saraburi Provincial Public Health Office, Saraburi. (in Thai)

Nakhon Sawan Rajabhat University. (2022). Internal audit guide. Retrieved 20 July 2022, from http://audit.nsru.ac.th/storage/document/5e9e5e0e8b4b4.pdf. (in Thai)

Office of the Public Sector Development Commission. (2011). Good governance. Retrieved 10 April 2022, from 7.1_hlakthrrmaaphibaalkhngkaarbrihaarkicchkaarbaanemuuengthiidii.pdf (ocsc.go.th). (in Thai)

Pakphanang Hospital. (2019). Drug system in RPST. Retrieved 10 July 2022, from http://www.pknhospital.com/2019/data/starRPST/drug/drugsystemRPST.pdf. (in Thai) Praprukdee, M. (2021).

Development of a medical supplies management system in Tambon Health Promoting Hospitals of Phra Phrom District, Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Health Sciences and Pedagogy, 1(2), 16-29. (in Thai)

Wongrajit, K. (2022). Policy focusing on the Ministry of Public Health for the year. Retrieved 3 May 2022, from https://govesite.com/uploads/20171130040419vN0BZ5I/ /20211230175028_1_A5huEvL.pdf. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-14