สถานการณ์การติดเชื้อ แนวโน้มของยาต้านจุลชีพที่ไวต่อเชื้อ และแนวทางในการดูแล ผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาสำหรับบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • พันธ์ทิพย์ คงศรี โรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง
  • รัชนี แท้วิรุฬห์ โรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง
  • สุวิมล ชูแก้ว โรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง
  • บุบผา รักษานาม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

thai

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การติดเชื้อ แนวโน้มของยาต้านจุลชีพที่ไวต่อเชื้อของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาและปัญหา อุปสรรค แนวทางในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาของบุคลากร 2) เพื่อพัฒนาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรทางการพยาบาล และ 3) เพื่อประเมินผลพัฒนาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา จำนวน 40 คน และรายงานผลทางห้องปฏิบัติการที่ส่งตรวจจากเวชระเบียนผู้ป่วย จำนวน 239 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินความคิดเห็น แบบประเมินการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสิเกาปี พ.ศ. 2560 – 2563 ส่วนใหญ่ อายุมากกว่า 60 ปี พบเชื้อก่อโรคในปัสสาวะและเลือดในปี พ.ศ. 2563 สูงสุด ร้อยละ 52.57 และ 21.65 ตามลำดับ เชื้อที่เป็นสาเหตุการติดเชื้อ 5 ลำดับแรก ได้แก่ E.coli, S.aureus, K.pneumoniae, P.aeruginosa และ E.faecalis, (ร้อยละ 18.08, 8.19,7.17,6.48 และ 5.12, 4.10 ตามลำดับ) พบเชื้อดื้อยา E.coli-ESBL สูงสุด ร้อยละ 3.41 และเชื้อดื้อยาหลายขนาน ร้อยละ 4.44 และพบว่าความไวของเชื้อ E.coli
ต่อยาต้านจุลชีพกลุ่ม Ceftriazone ที่ใช้มากที่สุด ลดลงจากร้อยละ 75 เป็นร้อยละมทรี่ 41.7 ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ (1) ด้านนโยบายที่สื่อสารลงสู่ผู้ปฏิบัติไม่ชัดเจน (2) อัตรากำลังไม่เพียงพอ (3) ขาดงบประมาณในการดำเนินงานจัดการในการแบ่งโซนแยกผู้ป่วย (4) เจ้าหน้าที่ไม่เห็นความสำคัญของผลกระทบที่เกิดขึ้น (5) สถานที่ไม่มีห้องแยกตรวจผู้ป่วยชัดเจน (6) ผลการเพาะเชื้อ ผลทดสอบความไวของยาต้านจุลชีพล่าช้า และ (7) การสื่อสารข้อมูลให้ทีมสหวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยยังไม่ครอบคลุมในทุกมิติ 2) แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาสำหรับบุคลากรทางการพยาบาลของโรงพยาบาลสิเกาที่พัฒนาขึ้นมา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) การประเมินความเสี่ยงผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา (2) การป้องกันการแพร่เชื้อดื้อยาหรือชะลอการเกิดเชื้อดื้อยา และ (3) การควบคุมไม่ให้เชื้อดื้อยาแพร่กระจาย และ 3) ผลการใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาสำหรับบุคลากรทางการพยาบาล พบว่า การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยดื้อยาอยู่ในระดับดี ร้อยละ 95.37
ความพึงพอใจของบุคลากรต่อแนวทางใหม่นี้โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ร้อยละ 88.8 และพบว่าคะแนนทักษะการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยดื้อยา และคะแนนความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

          ข้อเสนอแนะ ทีมคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลควรสนับสนุนวางการระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อดื้อยา ติดตามสถานการณ์การติดเชื้อ และผลความไวต่อยาต้านจุลชีพ

References

กมลวิช เลาประสพวัฒนา. (2556). โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล.สงขลา :ชาญเมืองการพิมพ์

กำธร มาลาธรรม,วีรวัฒน์ มโนสุทธิ และคณะ.(2562).การป้องกันการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพใน

โรงพยาบาล:สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์

ฉัตรชัย รอดกระต่าย และฉันทนา กิ่มเทิ้ง. (2558). ความชุกของเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพใน

โรงพยาบาลอุทัยธานี.ปริญญานิพนธ์ (เทคนิคการแพทย์ )คณะเทคนิคการแพทย์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, พริยา ติยาภักดิ์, และคณะ. (2561). ความสัมพันธ์ของปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะ

และการดื้อยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาลมหาสารคาม วารสารเภสัชอีสาน ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย.

นิธิมา สุ่มประดิษฐ์, ศิริตรี สุทธจิตต์, และคณะ. (2558). ภูมิทัศน์ ของสถานการณ์และการจดัการการดื้อ

ยาต้านจลุชีพในประเทศไทย :สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิก

บุญญรัตน์ รัตนประภา.(2562).การพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาควบคุม

พิเศษโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย สืบค้นจาก http://203.157.71.172/academic/web/site/

proceeding?event_id=1&page=research (2 ก.พ.64)

ปิยะดา ไทยราช. (2561). สถานการณ์เชื้อก่อโรคที่พบบอยู่และแนวโน้มอุบัติการณ์การดื้อต่อยาปฏิชีวนะ

ของเชื้อก่อโรคแต่ละชนิด ในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลสิชล จังหวัด นครศรีธรรมราช วารสารวิชาการ

แพทย์เขต 11 ปี ที่32 ฉบับที่ 3 ก.ค.-ก.ย.2561.

ประจวบ ทองเจริญ, วันชัย มุ้งตุ้ยและอะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2558). ผลการใช้กลวิธีหลากหลายต่อการ

ปฏิบัติของบุคลากรสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน. สืบค้นจาก

https://www.tci-thaijo.org (2 กุมภาพันธ์2564).

พัชรินทร ญาติรักษ.์(2559). สถานการณ์การติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด (Bacterimia).

วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 ปี ที่ 30 ฉบับที่ 1 ม.ค. - มี.ค. 2556

วรรษมน จันทรเบญจกุล , สุวพร อนุกูลเรืองกิตติ์ และคณะ. (2562). drug –resistant organisms in

pediatrics : diagnosis and treatment : กรุงเทพฯ แอคทีฟ พริ้นท์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2560). คู่มือมาตรฐานห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาทางการแพทย์และ

สาธารณสุข.กรุงเทพฯ : บริษัท เท็กซ์แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด

สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย และอภิชาต วัชรพันธุ์. (2563). แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติด

เชื้อในโรงพยาบาล.กรุงเทพฯ : อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์

วัลลภา ช่างเจรจา.(2560). ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติต่ออัตราการติดเชื้อดื้อยาที่ต้องควบคุมเป็นกรณี

พิเศษโรงพยาบาลบึงกาฬ. สืบค้นจาก https://www.bkh.moph.go.th.(2 กุมภาพันธ์2564).

วิไลลักษณ์ วงศ์จุลชาติ.การใช้กลวิธีหลากหลายเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันและควบคุมการ

แพร่กระจายเชื้อดื้อยา ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3

ก.ค.- ก.ย. 2560

อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์ และจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ.(2557).การพัฒนาแนวปฏิบัติใน

การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการติดเชื้อดื้อยาที่เหมาะสมที่หออภิบาลผู้ป่วยของโรงพยาบาล

ระดับทุติภูมิและตติยภูมิ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Akhe Unhalaka, Suchada Luangapapong and Chittaporn Chitrisaeng (2014).Developing appropriate drug-resistant infection prevention practices at hospital patients' pastoral Secondary and tertiary levels Faculty of Nursing, Chiang Mai University

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-06