สถานการณ์ของภาวะไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
ไอโอดีน, หญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ใน
จังหวัดสมุทรสาคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกและยังไม่ได้รับยาเม็ด
เสริมไอโอดีนในจังหวัดสมุทรสาคร ปีงบประมาณ 2562 - 2564 จากโรงพยาบาล 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลสมุทรสาคร โรงพยาบาลกระทุ่มแบน และโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จำนวน 4,148 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่าง
10 - 15% ของประชากร ได้กลุ่มตัวอย่าง 749 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสรุปผลการตรวจคัดกรองระดับไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่ามัธยฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ปีงบประมาณ 2562 – 2564 กลุ่มตัวอย่างประมาณ 3 ใน 4 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 20 - 35 ปี (ร้อยละ 71.30) ส่วนใหญ่ได้มาฝากครรภ์ครั้งแรกในช่วงอายุครรภ์ < 12 สัปดาห์ (ร้อยละ 70.62) ไม่มี
โรคประจำตัว (ร้อยละ 94.66) และได้รับอาหารที่มีไอโอดีน (ร้อยละ 85.71) และส่วนใหญ่มีผลปริมาณไอโอดีน
ในปัสสาวะอยู่ในภาวะขาดไอโอดีน น้อยกว่า 150 ug/L (ร้อยละ 59.56, 59.57 และ 56.90)
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ควรขับเคลื่อนการควบคุมป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีนขณะตั้งครรภ์ โดยเร่งดำเนินมาตรการหลัก คือ การใช้เกลือบริโภค เสริมไอโอดีนและผลิตภัณฑ์ปรุงรสให้มีไอโอดีนเพียงพอ
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และเพิ่มความรอบรู้ให้กับหญิงมีครรภ์และประชาชนกลุ่มอื่นให้ตระหนักถึงผลเสียของการขาดไอโอดีน
References
Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health (2019). Guidelines for the control and prevention of iodine deficiency disease for health workers 2020. Sam Charoen Panich (Bangkok) Co., Ltd, (in Thai)
Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health (2019). Guidelines for the control and prevention of iodine deficiency disease for health workers 2020. Department of Health, Ministry of Public Health; Nonthaburi. (in Thai)
Naing, L., Winn, T., & Rusli, B. N. (2006). Practical issues in calculation the sample size for prevalence studies. Archives of Orofacial Sciences, 1(1), 9-14.
Samut Sakhon Provincial Public Health Office (2016). The results of the IQ survey of the Samut Sakhon provincial public health office. Samut Sakhon. (in Thai)
Srisaard, B. (1992). Primary research principles. 3rd. Bangkok: Suweerivasarn Company Limited. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว