การบริหารต้นทุนบริการของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ต้นทุนบริการ, การบริหารต้นทุน, อัตราส่วนต้นทุนต่อราคาขาย, ประสิทธิภาพ, ดัชนีผู้ป่วยในบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาต้นทุนบริการของโรงพยาบาลชุมชน จำแนกตามประเภทต้นทุน ได้แก่ ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ ต้นทุนค่าลงทุน และสัดส่วนต้นทุน 2) ศึกษาอัตราส่วนต้นทุนการผู้ป่วยนอกต่อครั้ง ผู้ป่วยในต่อราย และต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าวันนอนแล้ว (AdjRW) 3) ศึกษาอัตราส่วนต้นทุนต่อราคาขายตามขนาดของโรงพยาบาลชุมชน และ 4) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนบริการของโรงพยาบาลชุมชน จ.สงขลา โดยการศึกษาข้อมูลปีงบประมาณ 2562 – 2564 จากโรงพยาบาลชุมชนทั้งหมด 15 แห่ง และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในการบริหารโดยใช้หลักการและแนวคิดแนวทางการบริหาร POSDCORB
ผลการวิจัย พบว่า ปีงบประมาณ 2562 - 2564 ต้นทุนรวมของโรงพยาบาลชุมชน จ.สงขลา จำนวน 136,775,864.37, 141,011,045.80 และ 159,219,017.83 บาท สัดส่วนต้นทุน พบว่า ต้นทุนค่าแรง LC:MC:CC เท่ากับ 67.29:25.75:6.96, 67.86:24.95:7.19 และ 63.92:29.43:6.66 ต้นทุนค่าแรงมีสัดส่วนสูงสุด (63.17 – 70.72) รองลงมา คือ ต้นทุนค่าวัสดุ (22.88 – 30.55) และต้นทุนค่าลงทุน (5.82 – 7.63) ตามลำดับ โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก มีสัดส่วนต้นทุนค่าแรงสูงสุด (70.72, 70.59 และ 67.20) ส่วนใหญ่เป็นเงินเดือนและค่าจ้างประจำ (ร้อยละ 53.68, 53.38 และ 53.74) ต้นทุนค่าวัสดุเป็นค่ายาใช้ไป (ร้อยละ 34.88, 33.89 และ 37.58) และต้นทุนค่าลงทุนเป็นค่าเสื่อมครุภัณฑ์ (ร้อยละ 63.98, 65.40 และ 64.53) ต้นทุนเฉลี่ยผู้ป่วยนอกต่อครั้งคิดเป็น 732.64, 812.92 และ 573.90 บาท ต้นทุนผู้ป่วยในต่อราย คิดเป็น 10,028.45, 12,133.41 และ 22,683.55 บาท ต้นทุนผู้ป่วยในต่อ AdjRW คิดเป็น 17,882.60, 20,989.98 และ 30,017.98 บาท อัตราส่วนต้นทุนต่อราคาขาย คิดเป็น 1.8114, 1.9640 และ 1.2317 (ขาดทุน) โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กมีอัตราส่วนต้นทุนต่อราคาขายสูงสุด (2.1557, 2.4352 และ 1.3490) ประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนบริการที่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 3 ปี ได้แก่ ต้นทุนผู้ป่วยนอก 11 แห่ง ต้นทุนผู้ป่วยใน 9 แห่ง และค่าดัชนีผู้ป่วยใน (CMI) 3 แห่ง
ดังนั้น คณะกรรมการบริหารด้านการเงินของจังหวัด ควรดำเนินการวางแผนทางการเงิน พิจารณาการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยคำนึงถึงความเพียงพอ ศักยภาพ ค่าใช้จ่าย และผลงานบริการ บริหารงบประมาณที่เป็นรายได้หลักทั้ง 3 กองทุน พัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ใช้กลไกในการกำกับติดตามการใช้จ่ายให้เป็นไปตามเกณฑ์อย่างมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
References
Bumrungchoo, M. (2011). Unit cost analysis of Bannangsata hospital, Yala province. Independent study submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree of master accountancy school of accountancy, Copyright of Rajamangala Thanyaburi University, Rajamangala Thanyaburi University. (in Thai)
Chiangchaisakulthai, K., Khiaocharoen, O., Wongyai, D., Sornsilp, D., & Sangwanich, U. (2013). Hospital costing study in the Hospitals under Ministry of Public Health, 2010 - 2011. Journal of Health Science, 22(6), 1061-1068.
Division of Health Economics and Health Security. (2022). Summary of quick method data. Retrieved April 3, 2022 from https://www.hfo.moph.go.th. (in Thai) Division of Public Health Administration, Ministry of Public Health. (2022). CMI data. Retrieved August 3, 2022 from http://www.cmi.healtharea.net. (in Thai)
Information and Communication Technology Center. (2014). Health Data Center. Retrieved May 2, 2022 from http://www.ska.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php. (in Thai)
National Health Insurance Office. (2014). Report on the creation of national health insurance For fiscal year 2014. Bangkok. (in Thai)
Ngamsiriudom, B., Sathirasakpong, T., & Ngamsiriudom, S. (1997). Cost per service unit of Chiang Mai maternity and Childrens Hospital. Health Systems Research Journal, 5(3), 238-245.
Ongwandee, S. (2008). Unit cost of health services in Mae Sariang hospital, fiscal years 2003 And 2004. Journal of Health Systems Research, 2(1), 66-75.
Sombatwong, S. (2021). Analysis of hospital medical treatment unit cost in Sakaeo province. Journal Buddhasothon Hospital, 37(4), 83-93.
Sukratamornkul, C. (2010). Unit cost of Bangkla hospital, Chachoengsao province. Journal Phrapokklao College, Chanthaburi, 21(2), 36-49.
Suphanchaimat, W., Patcharanarumol, W., Udombua, S., & Phuthorn, N. (1998). Unit cost of out-patient and In-patient services in Khon Kaen hospital in the fiscal year 1997. Srinagarind Medical Journal, 13(4), 198-205
Tangcharoensathien, V. (1998). Public hospital cost accounting system. Public Health Systems Research Institute, Ministry of Public Health. Bangkok. (in Thai)
Thienjaruwattana, V., Sakulphanid, T., Pongpattarachai, D., & Chiangchaisakulthai, K. (2011). Handbook of cost studies of Facilities under the Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Health. Nonthaburi: Health Insurance Group, Ministry of Public Health. (in Thai)
Tungkasamesamran, K. (2007). Unit cost and cost recovery in Charttrakarn hospital. Journal of Health Systems Research, 1(2), 35-44
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว