ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กรณีศึกษาพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

ผู้แต่ง

  • จุฬารัตน์ ไชยจิโรจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

คำสำคัญ:

การควบคุมโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ประชากรที่ศึกษา คือ อสม. รพ.สต. ตำบลบางริ้น คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 112 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือนกันยายน – ตุลาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

     ผลการวิจัย พบว่า ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของ อสม. ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M= 4.34, S.D.= 0.36) เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.53, S.D.= 0.46) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบว่า อสม. ที่มีอายุต่างกัน มีความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในภาพรวม ด้านการป้องกันโรค ด้านการควบคุมโรคเชิงรุก ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน ระยะเวลาการเป็น อสม.ต่างกัน มีความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการป้องกันโรคแตกต่างกัน สถานภาพของ อสม. ที่แตกต่างกัน มีความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในภาพรวม ด้านการป้องกันโรค ด้านการควบคุมโรคเชิงรุก ด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และด้านการค้นหาข้อมูล บันทึกและรายงานผล และด้านการล้างมืออย่างถูกวิธี แตกต่างกัน

     ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเสริมสร้างให้ อสม. ให้มีความรู้ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสร้างการรับรู้ความรุนแรงของโรค ของ อสม. ส่งผลต่อการปรับพฤติกรรมตนเองรวมทั้ง เสริมการปรับพฤติกรรมของประชาชนในหมู่บ้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

References

Best, J. W. (1977). Research in education. New Jersey: Prentice hall Inc.

Boonpal, P. (2021). The successful implementation of novel coronavirus (COVID-19) in the community of village health volunteers (VHVs) and foreign health volunteers (VHVs) in the village along the Thai-Myanmar border, Tha Song Yang district, Tak province. Retrieved August 31, 2022 from https://www.hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2564/research/MA2564-002-01-0000000480-0000000526.pdf. (in Thai)

Chanthabenjakul, W. (2020). Infection protection against the 2019 coronavirus (COVID-19). The 2019 23rd realizing better than panic conference on learning and preventing coronavirus Chulalongkorn University's school of medicine has a pediatrics department. Retrieved August 31, 2022 from https://www.ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout002_26022020.pdf. (in Thai)

Charoenbundit, N. (2016). Variables relating to health promotion behaviors of village public health volunteers. The thesis submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree of master of nursing science, Burapha University. (in Thai)

Department of Disease Control. (2022). Coronavirus disease situation 2022. Retrieved August 30, 2022 from https://www.ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php. (in Thai)

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. 7th Upper Saddle River, New Jersey: Prentice hall Inc.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Naing, L., Winn, T., & Rusli, B. (2006). Practical issues in calculating the sample size for prevalence studies. Archives of Orofacial Sciences, 1, 9-14.

Nawsuwan, K., Singweratham, N., Waichompu, N., & Chayakul, K. (2022). The successful implementation of novel coronavirus (COVID-19) in the community of village health volunteers (VHVs) in Thailand. Journal of Princess of Naradhiwas University, 12(3), 195-212.

Office of Public Health Muang District (2022). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) situation in Mueang Ranong District. Mueang Ranong District.

Phanyathorn, K., Sapsirisopa, K., Sriboonpimsuay, W., Tanglakmankhong, K., & Srisuwan, P. (2022). Knowledge, health beliefs and preventing behaviors of COVID-19 among village health volunteers in Cheangpin sub-district, Mueang district, Udonthani Province. Udonthani Hospital Medical Journal, 30(1), 1-11.

Ranong Provincial Public Health Office. (2022). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) situation in Ranong province. Retrieved August 30, 2022 from https://www.sites.google.com/view/satranong. (in Thai)

Techawitcharu, C. (2018). Health literacy: a key indicator toward good health behavior and health outcomes. Journal of Royal Thai Army Nursing, 19(Special), 320-332.

Wae, A. (2020). Covid-19 and acquiring new behavioral skills. Health Education Professional Association Journal, 35(1), 24-107. August 20, 2022 from http://www.hepa.or.th/assets/file/journal/0.Journal_hepa_1_2563/4.COVID-19.pdf (in Thai)

Wongti, S. (2021) Factors affecting preventive behavior for coronavirus disease 2019 among village health volunteers, Sukhothai province. The thesis submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree of master of public health program, Naresuan University. (in Thai)

World Health Organization. (2020). Maintaining essential health services: Operational guidance for the COVID-19 context. Retrieved August 20, 2020 from https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-essential_health_services- 2020.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30