การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านช่องทางด่วน แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลพัทลุง ในช่วงการระบาดของ COVID-19

ผู้แต่ง

  • อัคเณศร์ เมฆานุวงค์ โรงพยาบาลพัทลุง

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, ระบบการดูแลผู้ป่วยผ่านช่องทางด่วน, การแพร่ระบาดของ COVID-19

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านช่องทางด่วนแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลพัทลุง ในช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยมีผู้ร่วมวิจัย คือ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่/พนักงาน และเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ต้องเข้ารับการรักษาผ่านช่องทางด่วน ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงกันยายน พ.ศ. 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 200 ราย แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ 2) ปรับปรุงแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย 3) การประเมินผลดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แนวทางการสัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2) แบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน 3) แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย 4) แบบบันทึกข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์การรักษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า 95% ช่วงความเชื่อมั่น และการวิเคราะห์เนื้อหา

     ผลการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะการดูแลก่อนมาโรงพยาบาล 2) ระยะการดูแลในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และ 3) ระยะการส่งต่อผู้ป่วยรับการรักษาที่หอผู้ป่วย โดยมีแนวปฏิบัติที่สำคัญและแตกต่างจากระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในประเด็นการแยกผู้ป่วย การสวมหน้ากากอนามัยให้ผู้ป่วย การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลของบุคลากรทีมสุขภาพ การงดให้ยาละลายลิ่มเลือด rt-PA ในผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการรุนแรง การดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด rt-PA พบว่า ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยถึงโรงพยาบาลจนได้รับการประเมินสภาพเฉลี่ย 3.60 นาที ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยถึงโรงพยาบาลจนได้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง 36.40 นาที ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยถึงโรงพยาบาลจนได้มีการอ่านผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง โดยรังสีแพทย์เฉลี่ย 106.14 นาที ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยถึงโรงพยาบาลจนรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เฉลี่ย 37.53 นาที ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยถึงโรงพยาบาลจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด rt-PA เฉลี่ย 84.85 นาที ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยถึงโรงพยาบาลจนเข้ารับการรักษาพยาบาลที่หอผู้ป่วยเฉลี่ย 51.83 นาที (ค่าเป้าหมาย ≤ 15, 25, 30, 45, 60, 40 นาที) ตามลำดับ และจากการติดตามผู้ป่วยหลังส่งต่อมีผู้ป่วยเสียชีวิตร้อยละ 9.50

     ดังนั้น ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านช่องทางด่วน ควรนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะการส่งต่อและการประเมินสภาพผู้ป่วยให้ได้ตามระยะเวลาเป้าหมาย แต่อย่างไรก็ตามขั้นตอนปฏิบัติการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ทำให้ระยะเวลาในการเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น จึงยังคงต้องมีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านช่องทางด่วนอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐานและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

References

Dafer, R. M., Osteraas, N. D., & Biller, J. (2020). Acute stroke care in the coronavirus disease 2019 pandemic. Journal of Stroke and Cerebrovascular Diseases, 29(7), 104881-104881. https://doi:10.1016/j.jstrokecerebrovasdis.2020.104881.

Graneheim, H. U., & Lundman, B. (2004). Qualitative content analysis in nursing research: Concepts, procedures and measures to achieve trustworthiness. Nurse Education Today, 24, 105-112.

Huang, J. F., Greenway, M. R. F., Nasr, D. M., Chukwudelunzu-S, F. E., Demaerschalk, B. M., O'Carroll, et al. (2020). Telestroke in the time of COVID-19: The mayo clinic experience. Mayo Clinic Proceedings, 95(8), 1704-1708. https://doi:10.1016/j.mayocp. 2020.06.007.

Kemmis, S., & Mc Taggart, R. (1988). The action research planner (3rd ed). Victoria, editor. Australia: Deaken University Press.

Lin, P. Y., Chang, Y. M., Huang, C. Y., Lin, C. H., Chuang, M. T., Chen, P. L., et al. (2020). Management of hyperacute stroke during the coronavirus disease of 2019 pandemic: The modified code stroke in a medical center in Taiwan. Journal of Stroke, 22(2), 278-281. https://doi.org/10.5853/jos. 2020.01599.

Onteddu, S. R., Nalleballe, K., Sharma, R., & Brown, A. T. (2020). Underutilization of health care for strokes during the COVID-19 outbreak. International Journal of Stroke, 15(5), 9-10. https://doi:10.1177/1747493020934362.

Phatthalung Provincial Public Health Office. (2020). Annual report 2019. Phatthalung: Ministry of Public Health. (in Thai)

Rinkel, L. A., Prick, J. C. M., Slot, R. E. R., Sombroek, N. M. A., Burggraaff, J., Groot, A. E., et al. (2020). Impact of the COVID‑19 outbreak on acute stroke care. Journal of Neurology, 1-6. https://doi.org/10.1007/s00415-020-10069-1

Sezgin, M., Ekizoglu, E., Yesilot, N., & Coban, O. (2020). Stroke during COVID-19 pandemic. Arch Neuropsychiatry, 57, 83−84. https://doi.org/10.29399/npa.27196.

Tiamkao, S. (2015). Application for save a life: fast tract. North-Eastern Thai Journal of Neuroscience, 13(3), 57- 69.

Tiamkao, S. (2021). Stroke. Thai Journal of Neurology, 37(4), 54-60. Waltz, C. F., Strickland, O. L., & Lenz, E. R. (2010). Measurement in nursing and health research. (4th ed.). New York: Springer

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-06