อิทธิพลของปัจจัยปกป้องที่มีต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มารับการรักษา ในโรงพยาบาลพระพรหม
คำสำคัญ:
old people, diabetes, mental health condition, mental health conditions of old peoples, mental health conditions of patients with chronic diseaseบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยปกป้องที่มีต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลพระพรหม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่มารับบริการรักษาโรคเบาหวาน ณ โรงพยาบาลพระพรหม จำนวน 952 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 153 คน เก็บข้อมูลเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.841 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยภาวะสุขภาพจิตโดยรวมเท่ากับ 53.88 (SD=4.13) ซึ่งถือว่ามีภาวะสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป ปัจจัยปกป้องที่สามารถทำนายภาวะสุขภาพจิต ได้แก่ อายุ รายได้ คุณภาพชีวิตโดยรวม คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิตใจ คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม และ คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม โดยสามารถร่วมทำนายความแปรปรวนของภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวานได้ร้อยละ 98.50 (R2= 0.985, p < 0.001)
ข้อเสนอแนะ บุคลากรในทีมสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้เป็นข้อมูลในการคัดกรองภาวะสุขภาพจิต ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการให้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มารับการรักษา รวมไปถึงการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการดูแลภาวะสุขภาพจิตในผู้สูงอายุในชุมชนและสังคมต่อไป
References
Banluekhun, T. & Promma, N., (2022). Factors relating to the quality of life of type II diabetes mellitus patients at primary care cluster aranyaprathet, Sa Kaeo province. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospital, 37(1), 53–64.
Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2005). World health organization quality of life brief – Thai (WHOQOL – BREF – THAI). Retrieved November 15, 2022 from https://www.dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf (in Thai)
Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2007). Thai mental health indicator–15 (TMHI – 15). Retrieved November 15, 2022 from https://dmh.go.th/test/download/files/TMHI15_thai.pdf (in Thai)
Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2017). Promotion mental health: concepts–emerging evidence–practice summary report. Retrieved December 1, 2022 from Promotion Mental Health :concepts – emerging evidence – practice Summary report (dmh-elibrary.org). (in Thai)
Diabetes Association of Thailand under The Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. (2023). Clinical practice guideline for diabetes. Retrieved December 1, 2022 from Thai DM CPG 2566.pdf. (in Thai)
Division of Non Communicable Diseases. (2021). Number and desth rate from 5 non- communicable disease(NCD) 2017-2021 per 100,000 people. Classified by province, health zone, and country overall zincluding Bangkok. Retrieved December 1, 2022 from https://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14480&tid=32&gid=1-020 (in Thai)
Health Systems Research Institute. (HSRI). (2016). An evaluation of the national examination survey in Thailand 5th 2014. Retrieved November 14, 2022 from https://www.hsri.or.th/researcher/research/new- release/detial/7711. (in Thai)
Kanngooluem, S. (2020). The influence of protective factors on mental health among community- dwelling older adults. Faculty of Nursing, Burapha University. Retrieved November 14, 2022 2022 from https://www.dspace.lib.buu.ac.th/bitstream (in Thai)
Lueboonthavatchai, O., & PanLarp, S. (2016). The related factors of depression among the elderly in suburb community, Bangkok. Journal of Health and Health Management, 3(3), 25-36.
Mezuk, B., Eaton, W. W., Albrecht, S., & Golden, S. H. (2008). Depression and type 2 diabetes over the lifespan. Diabetes Care, 31(2), 2383 – 2390.
Muijeen, K. (2015). Determinants of mental health among aging. Journal of Science and Technology, 23(2), 306-318.
Namwong, A., Fukfon, K., & Yana, B. (2021). Predicting factors of depressive symptom among community–dwelling older people with diabetes mellitus. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 31(1), 70–82.
National Statistical Office. (2021). Older statistics in Thailand 2021. Retrieved November 14, 2022 from https://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/pop/delay2563.aspx. (in Thai)
Parayat, C., Kangchai, W., & Somanusorn, S. (2016). Predictive factors of resilience among elderly. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 24(2), 98-106.
Ratrasan, C. (2010). Depression and diabetes. Ramathibodi Medical Journal, 33, 1-2.
Srichaijaroonpong, S. (2016). Factors relating to the quality of life of the diabetic patients at Ban Chaing Kruea Pho Chai health promoting hospital, Chaing Kruea sub district , Muang district, Sakon Nakorn province. Medical Journal, 23(3), 23-33.
Suksai, P. (2018). Factors influencing mental health of the elderly in urban area, Ractchaburi Province. Journal of Health Science, 27(5), 809-818.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และบุคคลากรท่านอื่น ๆ ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว