การพัฒนาโปรแกรม SMARTCARE-Telehealth สำหรับผู้สูงอายุในหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลสงขลา

ผู้แต่ง

  • สรรเสริญ อุ้ยเอ้ง โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา
  • จักรพงษ์ เหมรัชต์จีระกุล โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา
  • เพ็ญศิริ อัตถาวงศ์ โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพทางไกล, ผู้สูงอายุ, SMARTCARE-Telehealth, การพัฒนาระบบ, ความตรงเชิงเนื้อหา

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่ 2) พัฒนาโปรแกรม SMARTCARE-Telehealth และ (3) ศึกษาความตรงเชิงเนื้อหาของโปรแกรม โดยการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบัน โดยรวบรวมข้อมูลด้านสถิติและข้อจำกัดในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่ 2) การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพทางไกลด้วย SMARTCARE-Telehealth ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ ระบบคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ระบบให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลความรู้ทางไกล ระบบติดตามพิกัดผู้สูงอายุ และระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติผ่าน Line application 3) ศึกษาความตรงเชิงเนื้อหาของโปรแกรม SMARTCARE-Telehealth และทดลองใช้ระบบในเครือข่ายปฐมภูมิโรงพยาบาลสงขลา
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลสงขลา ที่มีประสบการณ์รับผิดชอบงานผู้สูงอายุและปฏิบัติงานอย่างน้อย 5 ปี จำนวน 5 ราย โดยวิธีเลือกเฉพาะเจาะจง การประเมินความตรงเชิงเนื้อหาในการใช้งานโปรแกรมนี้ใช้แบบประเมินที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยการสร้างจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแบบประเมินดังกล่าวได้ทดสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าความตรงด้านเนื้อหา เท่ากับ 0.93 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ดี และทดสอบความสอดคล้องภายในได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.96 แสดงให้เห็นว่ามีความสอดคล้องและความเชื่อถือได้สูง

     ผลการวิจัยพบว่า ระบบการดูแลสุขภาพทางไกลด้วย SMARTCARE-Telehealth สำหรับผู้สูงอายุมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริง กลุ่มตัวอย่างรับรู้ความเป็นไปได้ในการนำระบบไปใช้อยู่ในระดับ
"ดีเยี่ยม" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบนี้สามารถช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     งานวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

 

References

Celler, B. G., Varnfield, M., Sparks, R., Li, J., Nepal, S., & Jayasena, R. (2016). Home telemonitoring of chronic disease for aged care. Journal of Telemedicine and Telecare, 22(7), 390–396.

Chacon, S., & Straub, B. (2014). Pro git. 2nd ed. Berkeley, CA: Apress.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development, 8(3), 213–235.

Flanagan, D. (2020). JavaScript: The definitive guide (7th ed). Sebastopol, CA: O'Reilly Media.

Izzo, J. L., Fernandez, J., & Patel, N. (2018). The role of technology in chronic disease management for the elderly. Aging Medicine, 10(2), 56–65.

Meyer, E. (2017). CSS: The definitive guide. 4th ed. Sebastopol, CA: O'Reilly Media. Microsoft. (2023). Visual studio code documentation. Retrieved from https://code.visualstudio.com/docs

Phiwma, N., & Mutchima, P. (2017). The development of the augmented reality application for arts, culture, and local wisdom learning support on alms bowl making at Ban Batra Community.

Parichart Journal, Thaksin University, 30(1), 45–67. Phungviwatnikul, W., & Voraprateep, J. (2024). Analysis of aging society in Thailand between A.D. 2016–2022. Journal of Arts and Thai Studies, 46(1), 45–67.

Pinchunsri, N., Chaisawat, P., & Jirapinyo, S. (2019). Enhancing system development through SDLC: A case study in healthcare applications. Journal of IT and Health Systems, 12(3), 45–58.

Satzinger, J. W., Jackson, R. B., & Burd, S. D. (2011). Systems analysis and design in a changing world 6th ed. Cengage Learning.

Thai Ministry of Public Health. (2023). National guidelines for elderly care and telehealth services. Bangkok, Thailand: Ministry of Public Health. Retrieved from https://ska.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php. (in Thai)

Welling, L., & Thomson, L. (2016). PHP and MySQL web development. 5th ed. Upper Saddle River, NJ: Addison-Wesley.

Whelton, P. K., & Williams, B. (2018). Telemedicine as a tool for improving hypertension management. Hypertension, 71(5), 738–740.

Widenius, M., & Axmark, D. (2002). MySQL reference manual. Sebastopol, CA: O’Reilly Media.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-02

How to Cite

อุ้ยเอ้ง ส., เหมรัชต์จีระกุล จ. ., & อัตถาวงศ์ เ. . (2025). การพัฒนาโปรแกรม SMARTCARE-Telehealth สำหรับผู้สูงอายุในหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลสงขลา. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา, 5(1), e272378. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/272387