การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนบริการสุขภาพปฐมภูมิแก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ถ่ายโอนภารกิจให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • รัชพล สัมฤทธิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง
  • วราณี สัมฤทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การสนับสนุนบริการสุขภาพปฐมภูมิ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, การถ่ายโอนภารกิจ, องค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การถ่ายโอนภารกิจ พัฒนารูปแบบและประเมินผลรูปแบบการสนับสนุนบริการสุขภาพปฐมภูมิแก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนภารกิจให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ใช้การวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ ความต้องการ และพัฒนาความร่วมมือ 2) พัฒนารูปแบบและทดลองใช้รูปแบบ 3) ปรับปรุงรูปแบบ และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรังและองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง และประชาชนที่ใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนภารกิจให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงเปรียบเทียบใช้สถิติ Paired t-test

     ผลการศึกษาพบว่า 1) จังหวัดตรังมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนภารกิจให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง จำนวน 30 แห่ง (ร้อยละ 24) บุคลากiสาธารณสุข จำนวน 290 คน (ร้อยละ 10.86) พบปัญหา  ขาดการเตรียมการ บุคลากรกระจายไม่สมดุล การบริหารจัดการทรัพยากรไม่ชัดเจน ต้องการคณะทำงานร่วม  2) รูปแบบ TRANG-ME Model ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การบริหารทีม (Team Management) การพัฒนาทรัพยากร (Resource development) การขยายการเข้าถึงบริการ (Access to health services) การบูรณาการเครือข่าย (Network integration) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล (Good governance) การกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ (Monitoring) และการประเมินผล (Evaluation) 3) ผลของการใช้รูปแบบก่อนและหลังพัฒนา ค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ด้านที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าด้านอื่น ได้แก่ ด้านการบริหารการจัดการ ด้านการจัดการบุคลากร และด้านระบบสารสนเทศ ตามลำดับ ความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.37, S.D.= 0.192) ความพึงพอใจของบุคลากรอยู่ในระดับมาก (M= 4.04, S.D.= 0.104)

     ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าการนำ TRANG-ME Model มาใช้จะช่วยจัดระบบสนับสนุนให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกมิติ ช่วยส่งเสริมให้ รพ.สต.ที่ถ่ายโอนภารกิจให้ อบจ.ตรัง มีการพัฒนากลไกบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน มีการขยายการเข้าถึงบริการและการบริหารงบประมาณอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562

References

Abimbola, S., Baatiema, L., & Bigdeli, M. (2019). The impacts of decentralization on health system equity, efficiency and resilience: A realist synthesis of the evidence. Health Policy and Planning, 34(8), 605–617. https://doi.org/10.1093/heapol/czz055.

Chotchoungchatchai, S., Markchang, K., Uansri, S., Tanomsridachchai, W., Pattanasiri, T., Ittiphisit, S., et al. (2022). Process of situation reviewing and health policy and system research providing: The case of transferring sub-district health promoting hospitals to provincial administrative organizations (Final Report). Foundation for the Development of International Health Policy. (in Thai)

DechArun, V. & Suwannarat, R. (2023). The operational models according to the roles of district health offices after decentralization by the Ministry of Public Health, Songkhla province. Academic Journal for the Development of Primary Health Care and Public Health Systems, 1(3),1-13.

Donabedian, A. (1988). The quality of care: How can it be assessed?. JAMA, 260(12), 1743-1748. https://doi.org/10.1001/jama.1988.03410120089033.

Health Systems Research Institute. (2008). Health system reform and decentralization of health authority. Health Systems Research Institute.

Kaewoyaem, W., Sangthima, W., Nongsai, P., & Towmit, S. (2023). The decentralization through transfer sub-district health promoting hospital to local government organizations. Ratanabuth Journal, 5(1), 694–707.

Limsuvat, S. & Suksamran, S. (2022). Problems of transferring district health promoting hospitals from the Ministry of Public Health to local government organizations in Nakhon Ratchasima province. Journal of Wisdom the Political Science and Multi-Disciplinary Sciences, 5(5), 35–50.

Oliver, R. L. (1980). A cognitive model of the antecedents and consequences of satisfaction decisions. Journal of Marketing Research, 17(4), 460-469. https://doi.org/10.2307/3150499

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Prompunjai, P., Singthong, T., Thammakun, T., & Yoocharoen, P. (2024). The impacts of transferring the mission of the sub-district health promoting hospitals to the provincial administrative organizations on the disease prevention and control management system in Thailand. Journal of the Office of DPC7 Khon Kaen, 31(2), 1-16.

Sangmano, S., Siriwohan, S., & Pichai, K. (2014). Problems of transferring district health promoting hospitals from the ministry of public health to local government organizations in chiang mai province. Graduate Research Journal, Chiang Mai Rajabhat University, 5(2), 25-35.

Sarakshetrin, A., Sriyasak, A., Chantra, R., Nimwatanakul, S., Krirkgulthorn, T., Chuenklin, T., et al. (2024). Policy proposal of health manpower management in a transitional period from sub-district health promotion hospitals to provincial administrative organizations. Bcnnon Health Science Research Journal, 18(1), 121-132.

Sriyasak, A., Sridawruang, C., Sriring, P., Nitkhamhan, B., Chatchumni, M., Khaonuan, B., et al. (2024). Factors affecting hospital provision of health-promoting services transferred to provincial administration in Thailand. International Journal of Environmental Research and Public Health, 21(8),1053. https://doi.org/10.3390/ijerph21081053.

Suphanchaimat, R., Noree. T., Pagaiya, N., Hongthong, P., Nimnual, I., & Hengsiri, P. (2024). The impact of transferring subdistrict health promoting hospitals to local administrative organizations on the primary health care system: a case study of the “three doctors” policy in five provinces. (Full Research Report). Health Systems Research Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-02

How to Cite

สัมฤทธิ์ ร., & สัมฤทธิ์ ว. (2025). การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนบริการสุขภาพปฐมภูมิแก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ถ่ายโอนภารกิจให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา, 5(1), e273092. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/273092