พื้นที่ริมน้ำ : ความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดินกับคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา ลุ่มน้ำท่าจีน
คำสำคัญ:
พื้นที่ริมน้ำ, การใช้ที่ดิน, คุณภาพสิ่งแวดล้อม, คุณภาพน้ำบทคัดย่อ
พื้นที่ริมน้ำ (Riparian area) เป็นพื้นที่เปราะบางทางสิ่งแวดล้อม การสูญเสียพื้นที่เหล่านี้จะมีผลกระทบสืบเนื่องหลายประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นปริมาณ/คุณภาพของน้ำ ตัวกรองตะกอนธรรมชาติ ถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ท้องถิ่น คุณภาพของแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ บทความนี้ต้องการนำเสนอความสัมพันธ์การใช้ประโยชน์ที่ดินริมฝั่งแม่น้ำกับคุณภาพน้ำ จากการศึกษาพบว่า สถานภาพพื้นที่ของลุ่มน้ำท่าจีนมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรเป็นหลัก สำหรับพื้นที่เมืองมีความสัมพันธ์แบบแปรผันโดยตรงกับปริมาณความต้องการออกซิเจนทางชีวภาพ (BOD) กล่าวคือเมื่อมีพื้นที่เมืองเพิ่มขึ้นแนวโน้มของ BOD จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.769, Sig. = 0.01) เนื่องจากพื้นที่เมืองมีการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคมีการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำจึงทำให้ค่า BOD สูง หากต้องการให้โครงสร้างหรือองค์ประกอบของทรัพยากรอยู่พื้นที่ในสภาวะที่สมดุลซึ่งกันและกัน คือมีกิจกรรมในระบบนิเวศของทรัพยากรที่เป็นปกติ เช่น ทรัพยากรยังคงให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องหรือมีการเพิ่มพูนของทรัพยากรในอัตราที่ไม่ลดน้อยถอยลง ควรให้ความสำคัญกับการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สัมพันธ์กับคุณภาพน้ำ โดยใช้แนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ริมน้ำ ได้แก่ การแก้ไขเชิงการใช้กลไกและระบบทางสังคมกับการแก้ไขโดยการออกแบบและการใช้เทคนิคทางวิศวกรรม
References
กรมทรัพยากรน้ำ. (2547). โครงการจัดทำแผนรวมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก. รายงานการศึกษา บริษัท พอล คอนซัลแท็นส์ จำกัด, บริษัท ซิกม่า ไฮโดรคอนซัลแท็นส์ จำกัด. กรุงเทพ : กรมทรัพยากรน้ำ.
กรมพัฒนาที่ดิน. (2560). แผนที่การใช้ที่ดินปี 2551-2559. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2560 เข้าถึงได้จาก http://www.ngis.go.th/home/?page_id=928.
ฉัตรไชย รัตนไชย. (2539). การจัดการคุณภาพน้ำ. กรุงเทพ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฎฐา หังสพฤกษ์. (2547). สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ กรุงเทพฯ: บริษัท ทีซีจี พริ้นติ้ง จำกัด.
เผด็จ พวงจำปา. (2544). ผลกระทบจากการใช้ที่ดินบนพื้นที่สูงต่อคุณภาพน้ำ : กรณีศึกษาลุ่มน้ำแม่ฮาว อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศนิ ลิ้มทองสกุล. (2549). ภูมิทัศน์พื้นถิ่นของหมู่บ้านชนบทในชุมชนชาวมุสลิมในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง. 4(2), 143-154.
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร. (2555). โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำและแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง : ลุ่ม น้ำท่าจีน. รายงานการศึกษาบริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด. กรุงเทพ : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร.
Abbott, R. M. (2004). “Temporal assessment of urban forest patch dynamics using medium scale aerial photography and GIS.” PhD dissertation.
Anderson, S. & Masters, R. (2007). Riparian Forest Buffers. Stillwater: Oklahoma State University. Division of Agricultural Sciences and Natural Resources. Cooperative Extension Service.
Gyawali, S., Techato, K., Yuangyai, C., & Musikavong, C. (2013). Assessment of Relationship between Land uses of
Riparian Zone and Water Quality of River for Sustainable Development of River Basin, A Case Study of U-Tapao River Basin, Thailand. Procedia Environmental Sciences, 17, 291-297. doi:10.1016/j.proenv.2013.02.041.