ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลสำหรับนักเรียน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ทางไกล, ความสำเร็จในการเรียน, นักเรียนอาชีวศึกษา, ปัจจัยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล สำหรับนักเรียนสังกัดอาชีวศึกษา และ 2) สร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล สำหรับนักเรียน สังกัดอาชีวศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดชัยนาท ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 369 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม จำนวน 40 ข้อ เก็บข้อมูลปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านนักเรียน ด้านครูผู้สอน และด้านเทคโนโลยี มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) โดยกำหนดค่าคะแนนของช่องน้ำหนักเป็น 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยด้านเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลมากที่สุด ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในแบบคะแนนมาตรฐาน (Beta) เท่ากับ 0.207 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 รองลงมาคือ ปัจจัยด้านนักเรียน ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในแบบคะแนนมาตรฐาน (Beta) เท่ากับ 0.163 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และปัจจัยด้านครูผู้สอนมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลน้อยที่สุด ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในแบบคะแนนมาตรฐาน (Beta) เท่ากับ 0.092 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
2) ปัจจัยด้านนักเรียนและปัจจัยด้านเทคโนโลยี ร่วมกันพยากรณ์ความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปัจจัยด้านนักเรียนและปัจจัยด้านเทคโนโลยีสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกลได้ร้อยละ 3.5 (R2= 0.035)
สมการพยากรณ์ที่ดีที่สุดที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ทางไกล ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานคือ
= 2.485 + 0.537X1 - 0.368X3
Z = 0.195X1 - 0.165X3
References
กองการวิจัยทางการศึกษา. (2556). การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กองการวิจัย.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วิถีที่เป็นไปทางการศึกษา. สืบค้นวันที่ 12 เมษายน 2565, จาก https://slc.mbu.ac.th/article/28181.
เฉลิมพล ทำงาน และ นภัส ไชยวงศ์. (2561). Google classroom นวัตกรรมการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21.
นิรมล ชอุ่ม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. Journal of Chandrakasemsarn. 26(2), 178-193.
พัศรินท์ ก่อเลิศวรพงศ์. (2559). การศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 34(3), 35-54.
ภทรพร ยุทธาภรณ์พินิจ. (2559). การสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ตามแนวคิดของ ป.อ. ปยุตโต. วารสารสังคมศาสตร์. 5(2), 55–69.
รุจิราพรรณ คงช่วย. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคใต้ (รายงานการวิจัย). สงขลา: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
วิมลมาศ ฟูบินทร์. (2557). การพัฒนาแบบวัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ในห้องเรียนระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์, กรุงเทพฯ.
ศลิษา เลี่ยมสุวรรณ. (2555). การเปรียบเทียบการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัย: กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สาขาการจัดการสารสนเทศ.
ศิวนิต อรรถวุฒิกุล, ประกอบ กรณีกิจ, และศยามน อินสะอาด. (2015). พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูในภูมิภาคตะวันตก. Silpakorn University Journal. 35(3), 1-21.
สมจิน เปียโคกสูง และ สุดารัตน์ น้อยมะโน. (2564). รายงานวิจัยสถาบันเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กรณีสภาวการณ์ไม่ปกติ. สถานพัฒนาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 22(2), 203-213.
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของนักศึกษารายวิชาภาษาอังกฤษเชิงสถานการณ์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 11(2), 223-230.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2565, จาก https://www.vec.go.th/.
อติพร เกิดเรือง. (2560). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล. Lampang Rajabhat University Journal. 6(1), 173-184.
อโรชา ทองลาว. (2564). การศึกษาความพึงพอใจของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ต่อการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2563. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ. 4(2), 617-632.
Al-Ansi, A. M., & Al-Ansi, A. (2021). Future of Education Post Covid-19 Pandemic: Reviewing Changes in Learning Environments and Latest Trends. Solid State Technology. 63(6), 201584-201600.
Almarabeh, Hilal, Amer, Ehab, Sulieman, & Amjad. (2015). The effectiveness of multimedia learning tools in education. International Journal of Advanced Research in Computer Science and Software Engineering. 5(12), 761-764.
Amin, J. (2016). Redefining the Role of Teachers in the Digital Era. The International Journal of Indian Psychology. 3(3), 40-45.
Campillo - Ferrer, J. M., & Miralles - Martínez, P. (2021). Effectiveness of the Flipped Classroom Model on Students’ Self-Reported Motivation and Learning During the COVID-19 Pandemic. Humanities and Social Sciences Communications. 8(1), 176. doi: 10.1057/s41599-021-00860-4.
Cesco, S., Zara, V., Toni, A. F. D., & Lugli, P. (2021). Higher Education in the First Year of COVID - 19: Thoughts and Perspectives for the Future. International Journal of Higher Education, 10(3), 285-294. doi: 10.5430/ijhe. v10n3p285.
Kristine, P. (2007). 'm -Learning: Positioning educators for a mobile, connected future'. International Review of Research in Open and Distance Learning. 8(2), 2007 Retrieved from http://www. irrodl.org/.
Maphosa, C. & Bhebhe, S. (2019). Digital literacy: a must for open distance and e-learning (ODeL) students. European Journal of Education Studies. 5(10), 186-199.
Marek, M.W., Chew, C.S., & Wu, W.V. (2021). Teacher Experiences in Converting Classes to Distance Learning in the COVID-19 Pandemic. International Journal of Distance Education Technologies. 19(1), 89-109.
McClelland, D.C. (1953). The achievement motive. New York: Appleton-Century Crofts, Inc.
Pokhrel, S., & Chhetri, R. (2021). A Literature Review on Impact of COVID-19 Pandemic on Teaching and Learning. Higher Education for the Future. 8(1), 133-141. doi: 10.1177/2347631120983481.
Xie, X., Siau, K., & Nah, F. F.-H. (2020). COVID-19 Pandemic–Online Education in the New Normal and the Next Normal. Journal of Information Technology Case and Application Research. 22(3), 175-187. doi: 10.1080/15228053.2020.1824884.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ปอรยา สุวรรณสิทธิ์, น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.