การบูรณาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อสร้างนวัตกรรมหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ส่งเสริมคุณธรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • พัทธนันท์ พาป้อ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย , หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์, นักศึกษาวิชาชีพครู, การส่งเสริมคุณธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อสร้างหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการบูรณาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อสร้างนวัตกรรมหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ส่งเสริมคุณธรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู และ 3) เพื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ชั้นปีที่ 3 จำนวนทั้งสิ้น 55 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวรรณกรรมนิทาน (5002910) ปีการศึกษา 2565 จำนวน 18 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความสามารถการบูรณาการความรู้ภาษาไทยของนักศึกษา และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานเป็นทีมในการสร้างนวัตกรรมหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ส่งเสริมคุณธรรม สถิติพื้นฐานที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency distribution) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า

  1. นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาไทย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวรรณกรรมนิทาน สร้างหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์สอดแทรกคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ได้จำนวน 9 เรื่อง
  2. นักศึกษาวิชาชีพครูมีความสามารถในการบูรณาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อสร้างนวัตกรรมหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ส่งเสริมคุณธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
  3. ความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีมในการผลิตนวัตกรรมการสอนหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์สางเสริมคุณธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิภา กู้พงษ์ศักดิ์. (2556). การบูรณาการความรู้ทักษะการใช้ภาษาไทย การเสริมสร้างคุณธรรมและความคิสร้างสรรค์ผ่านสื่อ DVD. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 15(1), 77-86.

ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์. (2546). ระเบียบวิธีทางการศึกษา. (พิมพ์ครังที่ 4). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

พัฒนา จันทนา. (2542). พฤติกรรมการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาเอกสังคมศึกษา. เชียงใหม่: ภาควิชามัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัทธนันท์ พาป้อ. (2565). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 5052910 วรรณกรรมนิทาน. ชัยภูมิ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. (2562). มคอ.2 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (ปรับปรุง) พ.ศ. 2562. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สร้างสรรค์ กระตุฤกษ์, พัทธนันท์ พาป้อ, ปพิชญา พรหมกันธา และปุ่น ชมภูพระ. (2565). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้สื่อ และนวัตกรรมส่งเสริมการอ่าน. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences. 2(3), 45-60.

หนึ่งฤทัย มะลาไวย์, อรพินทร์ ชูชม และนริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2565). ศึกษาการทำงานเป็นทีมของนักเรียน: ปัจจัยเชิงสาเหตุ ข้อเสนอแนะในการวิจัย. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(3), 425-438.

Partnership for 21st Century Skills. (2009). 21st Century Support Systems. Retrieved from www. 21 stcenturyskills.org/route21/index.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27