ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการวิจัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • กฤตชัย ชุมแสง โรงเรียนนครขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น

คำสำคัญ:

ทักษะการวิจัย, การเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน, แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการวิจัยของผู้เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส31103 เป็นการวิจัยรูปแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียนที่ 1 โรงเรียนนครขอนแก่น ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบยกกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน รวมจำนวน 10 ชั่วโมง (แบบในเวลาเรียน) และใช้เวลานอกเวลาเรียน จำนวน 6 ชั่วโมง 2) แบบประเมินทักษะการวิจัยของผู้เรียน และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า

  1. ทักษะการวิจัยของผู้เรียนอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะการระบุปัญหาวิจัย รองลงมา ทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ด้านวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน และด้านการรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมและมีคุณภาพ ตามลำดับ
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 คิดเป็นร้อยละ 82.50 และมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.75 นอกจากนี้การเชื่อมโยงบทเรียนไปสู่ชุมชนท้องถิ่น ยังช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์นอกห้องเรียนเป็นการใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยนำทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่มาออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ฝึกให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

References

กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 19(1), 11-28.

กฤตชัย ชุมแสง และจักรกฤษณ์ กองเกิด. (2566). ถอดบทเรียนการจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านการสร้างละครเวทีส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เรื่อง วิถีศรัทธาศาสตร์มนตราอีสานโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐาน. วารสารแก่นดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(1), 7-34.

กิตติศักดิ์ อร่ามเรือง. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาศิลปะและเทคโนโลยีโดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการออกแบบลวดลายผ้าไทยประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

จีรนันท์ ซันซี เกริก ศักดิ์สุภาพ และสุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่ส่งผลต่อความตระหนักทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 14(2), 217-232.

จุฑามาศ อนุกูลวรรธกะ ชรินทร์ มั่งคั่ง และแสวง แสนบุตร. (2564). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริม ความเป็นพลเมืองชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 9(2), 23-40.

จุไรรัตน์ วงศ์ไชย. (2565). ผลการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) เพื่อยกระดับจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเจน (เจนจันทรานุกูล). (รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยพะเยา).

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2565). ปัญญาการสอนสังคมศึกษา. เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่สำหรับครูมืออาชีพ. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับพิชชิ่ง.

ญาณิศา บุญจิตร์. (2563). รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักศึกษาที่เรียนในรายวิชาการประกันคุณภาพการศึกษา. สุราษฎร์ธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ดวงพร เขียวพระอินทร์ (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยาและทักษะการวิจัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานร่วมกับแนวคิดการกลับด้านชั้นเรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ทนงศักดิ์ มิตตา และกุลทราภรณ์ สุพงษ์. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนวัดนวลนรดิศด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา. 3(1), 38-45.

ทิศนา แขมมณี. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้.กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 25. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรพต พิจิตรกำเนิด นันทวัน เรืองอร่าม ฐิติยา เนตรวงษ์ ปาณิศรา ธรรมจุฒา และภัควลัญช์ อุ้มบุญ. (2563). การจัดการเรียนรู้ด้วยการวิจัยและชุมชนเป็นฐานเพื่อความตระหนักรู้การวิจัยรับใช้สังคมในระดับอุดมศึกษา. วารสาร มทร.อีสาน. 7(1), 114-127.

พรรณงาม ใจรักษ์ศักดิ์. (2561). เปิดประเด็น: นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการนอกห้องเรียน: เปิดห้องเรียนสู่แหล่งเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46(3), 436-455.

พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ และดวงกมล จงเจริญ. (2565). ทักษะการวิจัยของครูนักวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ. 7(1), 166-178.

พัชรพร ศุภกิจ. (2559). การเรียนรู้แบบร่วมมือ และการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์เพื่อผู้เรียนในยุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 14(1), 6-14.

พัชรี จันทร์เพ็ง. (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการวิจัย ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัย มข.. 1(2), 21-44.

พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์. (2560). เหลียวหลังแลหน้า การศึกษาไทย 4.0. วารสารครุศาสตร์. 45(2), 304-309.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2547). หลักการสอนแบบเน้นการวิจัย (Research – Based Teaching) ในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ:

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณฑา ชุ่มสุคนธ์. (2564). การจัดการภูมิศาสตร์ในโรงเรียน. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รุจิราพร รามศิริ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการวิจัย ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ลัดดา ศิลาน้อย. (2545). การรวบรวมแหล่งความรู้ไปสู่งานวิจัยวิชาสังคมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 26(2), 32-41.

ลัดดา ศิลาน้อย. (2554). นวัตกรรมด้านวิธีสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรพรรณ สังขเวช. (2562). การใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออกเพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. (ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ศราวุฒิ ธราพร กัลยา เทียนวงศ์ และมนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์. (2565). การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ชิ้นงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ. 5(2), 169-182.

สถาพร ภูผาใจ. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 32(4), 165-169.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2547). การสอนแบบ Research Based Learning. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สาวิตรี บุญยพันธ์. (2563). แนวทางการบริหารการจัดการแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเขตอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2563). ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุกัลยา ทิมรุณ และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุพิบูล, 8(2), 240-252.

หัตถยา ปุ้งโพธิ์. (2559). การพัฒนาทักษะการวิจัยโดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจตุรัสวิทยาคาร กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2546). เรียนรู้คู่วิจัย: กรณีการสอนด้วยกระบวนการวิจัยภาคสนามวิชาการศึกษากับสังคม คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 16(1), 101-133.

อรทัย เจริญสิทธิ์ และรัชนีวรรณ เพ็งปรีชา. (2565). การพัฒนาทักษะวิจัยสำหรับครูอาชีวศึกษา สาขาคหกรรม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 19(85), 131-142.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27