แพลตฟอร์มทราฟฟี่ฟองดูว์: นวัตกรรมเพื่อการให้บริการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน

ผู้แต่ง

  • ชรินรัตน์ ลีกระจ่าง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นิภาพรรณ เจนสันติกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

แพลตฟอร์ม, ทราฟฟี่ฟองดูว์, นวัตกรรม, เรื่องร้องเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความเป็นมาของแพลตฟอร์มทราฟฟี่ฟองดูว์และวิเคราะห์ข้อดี ข้อจำกัดของการนำแพลตฟอร์มทราฟฟี่ฟองดูว์ไปใช้ในการบริหารจัดการเมืองโดยนำองค์ความรู้ด้านรัฐประศาสนศาสตร์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และอธิบาย ผลการวิเคราะห์ พบว่า แพลตฟอร์มทราฟฟี่ฟองดูว์จัดเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการที่มุ่งเน้นด้านการบริการสาธารณะที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารงานเพื่อลดต้นทุน มีความรวดเร็วและสามารถทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการสาธารณะได้ ข้อดี คือ 1) เป็นแพลตฟอร์มที่จัดทำขึ้นสำหรับสื่อสารปัญหาของเมืองระหว่างประชาชนและหน่วยงานที่รับผิดชอบ 2) หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถให้ข้อมูลและอัปเดตสถานการณ์การแก้ไขปัญหาสื่อสารกลับมาให้แก่ประชาชนได้ 3) ระบบบริหารจัดการและติดตามปัญหา บริการข้อมูลทางสถิติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนงบประมาณและกำลังคน และข้อจำกัด คือ การดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่ได้รับแจ้งจากแพลตฟอร์มทราฟฟี่ฟองดูว์ล่าช้า

References

กุญฎา เปรมปรีดิ์. (2563). รายงานการวิจัยเรื่องการแก้ไขปัญหาและข้อร้องเรียนด้วยการประยุกต์ใช้แอปพลิเคชัน Traffy Fondue กรณีศึกษา สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

กุลธิดา สิทธิฤาชัย. (2565). วสันต์ ภัทรอธิคม ผู้พัฒนา Traffy Fondue ที่เชื่อว่าปัญหาแก้ไขได้ด้วยความร่วมมือของคนเมือง. จาก https://adaymagazine.com/traffy-fondue/.

นรินทร บุณยโยธิน. (2566). การนำ Traffy Fondue มาใช้ในการให้บริการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนของสำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระโครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2563). เมืองอัจฉริยะ: ความหมายและข้อควรพิจารณาสำหรับการพัฒนาเมือง. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 7(1), 3-20.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2566). นวัตกรรมการจัดการภาครัฐกับกระบวนทัศน์ทางรัฐประศาสนศาสตร์: การทบทวนองค์ความรู้และประเภทของนวัตกรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน. 4(1), 63-77.

ปาลิตา โคนเคน. (2565). ส่องฟีเจอร์ใหม่ ! Traffy Fondue 2023 ง่าย สะดวกกว่าเดิม เพิ่มเติมประสิทธิภาพการใช้งาน. สืบค้นจาก https://www.nectec.or.th/news/news-article/traffy-fondue-2023.html.

พระมหาไทยน้อย ญาณเมธี (สลางสิงห์) และพระศิลาศักดิ์ สุเมโธ (บุญทอง). (2564). การปรับตัวองค์กรภาครัฐสู่ยุคความเป็นรัฐบาลดิจิทัล. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 21(3), 289-299.

วรารัตน์ เจนวรพจน์. (2566). การนำนโยบายทราฟฟี่ฟองดูว์ไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. (การศึกษาอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

วิชญวัชร์ สุภสุข. (2565). การใช้แพลตฟอร์มทราฟฟี่ฟองดูว์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาสำนักงานเขตพระนคร. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศุภรา พันธุ์ติยะ และปวีณา ครุฑธาพันธ์. (2565). ทราฟฟี่ฟองดูว์ (Traffy Fondue) แจ้งจบครบปัญหาเมือง. สืบค้นจาก https://www.nectec.or.th/news/news-article/traffy-article-2022.html.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (ม.ป.ป.). การจัดการปัญหาเมืองและชุมชนด้วยแพลตฟอร์ม Traffy Fondue. สืบค้นจาก https://www.nectec.or.th/news/news-pr-news/traffy-fondue-2021.html.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.). (2566). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566- 2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.).

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) (2564). 3 ทศวรรษ สวทช. กับการขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: ความมั่นคงของประเทศ การรับมือโรคระบาดและภัยพิบัติ. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2565ก). 3 หน่วยงานรัฐ เสริมแกร่งท้องถิ่น ใช้ Traffy Fondue ‘ไลน์สร้างสุข’ บริการประชาชน “เจอ แจ้ง จบ สะดวก รวดเร็ว ประทับใจ”. สืบค้นจาก https://www.nstda.or.th/home/news_post/mou-traffy-fondue/.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2565ข). Traffy Fondue นวัตกรรม Smart City จบปัญหาเมืองในแพลตฟอร์มเดียว. สืบค้นจาก https://www.nstda.or.th/home/news_post/traffy-fondue-smart-city/.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ภาครัฐไทยกับการก้าวเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อุเทน บัวแสง และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2565). กรอบการประเมินการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย. Journal of Modern Learning Development. 7(5), 63-79.

Benjamin, W. (2019). The impact of digital government on citizen well-being. France: Organisation for Economic Co-operation and Development.

Chen, B. (2021). Research on the Construction of Digital Government in Digital Economy. Advances in Economics, Business and Management Research. 166, 351-356.

Edwards, G. C. (1980). Implementing Public Policy. Washington, D.C.: Congressional Quarterly Press.

Jensantikul, N., Sansri, R. & Sangkachan, T. (2023). Digital Government: Concepts to apply Technology and Innovation for Public Service. Proceeding of 18th International Conference on Humanities and Social Sciences (IC-HUSO) 2023, 27th-28th November 2023, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University, Thailand. 233-240.

Kosorukov, A. A. (2017). Digital Government Model: Theory and Practice of Modern Public Administration. Journal of Legal, Ethical and Regulatory Issues. 20(3), 1-10.

Kusnandar, I. (2018). New Public Service in a Democratic Government. Advances in Economics, Business and Management Research. 93, 110-112.

Smart City Thailand. (ม.ป.ป.). Traffy Fondue นวัตกรรม Smart City จบปัญหาเมืองในแพลตฟอร์มเดียว. สืบค้นจาก http://smartcitythailand.com/traffy-fondue-smart-city-innovation-platform/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27