การศึกษากรอบคิดของนิสิตครูชั้นปีที่ 1 ในหลักสูตรการผลิตครูคู่ขนาน
คำสำคัญ:
กรอบคิด, ชุดความคิดเติบโต, ชุดความคิดจำกัด, นิสิตครู, หลักสูตรการผลิตครูคู่ขนานบทคัดย่อ
กรอบคิด เป็นกระบวนการทางความคิด ทัศนคติ และความเชื่อที่ส่งผลต่อวิธีการแสวงหาความสำเร็จและการพัฒนาตนเองของบุคคล การปรับตัวให้รับกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากรอบคิด เปรียบเทียบกรอบคิดที่มีเพศและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกัน รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกรอบคิด เพศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตครูชั้นปีที่ 1 ในหลักสูตรการผลิตครูคู่ขนาน กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 231 คน ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมนิสิตเห็นว่าตนเองมีกรอบคิดแบบ Dynamic (ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.71-5.35) โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความพยายามและการเรียนรู้จากความผิดพลาด สิ่งที่นิสิตมีน้อยที่สุดด้าน Dynamic คือ นิสิตสามารถเพิ่มระดับสติปัญญาของตนเองได้ตามที่ต้องการ ส่วนกรอบคิดด้าน Static มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.94-4.59 โดยข้อที่นิสิตเห็นด้วยมากที่สุดคือ ด้านการทำงานเพื่อพิสูจน์ตนเองถึงความฉลาด และข้อที่นิสิตเห็นด้วยน้อยที่สุดด้าน Static คือ นิสิตไม่สามารถเปลี่ยนระดับสติปัญญาของตนเองได้ และผลการเปรียบเทียบระหว่างเพศพบว่า นิสิตชายและนิสิตหญิงมีกรอบคิดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ เมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับสูง ปานกลาง และต่ำ มีกรอบคิดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า กรอบคิดเติบโตกับเพศไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตามกรอบคิดเติบโตกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตครูชั้นปีที่ 1 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กุสุมา ยกชู. (2561). การศึกษาและเสริมสร้างกรอบคิดงอกงามของนักศึกษาวิชาชีพครู. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
แครอล เอส ดเว็ค. (2561). Mindset ใช้ความคิดเอาชนะโชคชะตา. (พรรณี ชูจิรวงศ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: วีเลิร์น.
จุฬาลักษณ์ ทิพวัน และวราพร เอราวรรณ์. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้กรอบความคิดแบบเตบโต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 26(2), 119-133. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/download/209705/166842/.
นัฐพร เกียรติบัณฑิตกุล. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างกรอบคิดติดยึดและการรับรู้ความสามารถแห่งตนของนักเรียนนายร้อย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ. 10, 20-32.
ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ และพิทชยา ตั้งพรไพบูลย์. (2566). กรอบความคิดแบบเติบโต: ทักษะที่จำเป็นแห่งโลกยุคพลิกผัน. วารสารครุศาสตร์. 51(1), 1-12.
มานิกา วิเศษสาธร, ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง, รพีกรณ์ เปี่ยมพืช และจุฑามาส สรุปราษฎร์. (2565). การพัฒนาแบบวัด Growth Mindset สำหรับครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 24(2), 232-247.
มุทิตา อดทน, วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์, และจุฑามาศ แหนจอน. (2561). ผลของโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24(2), 182-194. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/download/174766/125104/493860.
วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง, ราตรีรัตน์ ใจวงค์, วัชรากร จำรัส, ศุภาพิชญ์ มีชัยทรัพย์เจริญ, อรจิรา ศรีสุข และรุ่งทิพย์ แซ่แต้. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างกรอบคิดและการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 22(1), 93-107.
ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน, จิตรา ดุษฎีเมธา และมารุต พัฒผล. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของชุดความคิดแบบเติบโตสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(3), 161-175.
อังศวีร์ เครือแก้ว. (2562). กรอบความคิด (mindset) กับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุนภายใต้ สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
Baker, J. L. W. (2017). Growth Mindset and Its Effect on Math Achievement. Retrieved from https://digitalcommons.csumb.edu/caps_thes_all/133.
Barbouta, A., Barbouta, C. & Kotrotsiou, S. (2020). Growth Mindset and Grit: How Do University Students’ Mindsets and Grit Affect their Academic Achievement?. International Journal of Caring Sciences. 13(1), 654-664.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Degol, J. L., Wang, M. T., Zhang, Y. & Allerton, J. (2018). Do Growth Mindsets in Math Benefit Females? Identifying Pathways between Gender, Mindset, and Motivation. Journal of Youth Adolescence. 47, 976–990. Retrieved from https://doi.org/10.1007/s10964-017-0739-8.
Dweck, C. S. (1999). Self-theories: Their role in motivation, personality, and development. New York: Psychology Press.
Dweck, C. S. (2000). Self-Theories: Their Role in Motivation, Personality, and Development. New York: Random House.
Dweck, C. S. (2006). Mindset : The new psychology of success. New York: Random House.
Faria, L., & Fontaine, A. M. (1997). Adolescents' personal conceptions of intelligence: The development of a new scale and some exploratory evidence. European Journal of Psychology of Education. 12(1), 51-62.
Herdian, Wahidah, F. R. N., Haryanto, T. & Fauzan, A. (2021). Is there any difference in the growth mindset between male and female students during a pandemic?. International Journal of Research and Review. 8(7), 245-250.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(03), 608.
Ryan, S., & Mercer, S. (2012). Language learning mindsets across cultural settings: English learners in Austria and Japan. OnCUE Journal. 6(1), 6–22.
Sigmundsson, H., Guðnason, S., & Jóhannsdóttir, S. (2021). Passion, grit and mindset: Exploring gender differences. New Ideas in Psychology. 63, 1-5. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.newideapsych.2021.100878.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.