ผลของโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรม ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภท* THE EFFECT OF HEALTH BELIEF ENHANCEMENT PROGRAM ON MEDICATION COMPLIANCE BEHAVIOR OF SCHIZOPHRENIC PATIENTS

Main Article Content

ชุติมา ทองอยู่
เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์

บทคัดย่อ

Abstract
Objective: To examine the effect of Health Belief Enhancement Program on medication compliance behavior of schizophrenic patients.
Methods: This study was a quasiexperimental research. The sample composed of 36 schizophrenic patients who had lower to moderate score of medication compliance behavior and followed up in outpatient department at Psychiatric Hospital. They were matched pair by score of Brief Psychiatric Rating Scale and gender then randomly assigned to experimental groups and control groups with 18 subjects in each group. The experimental group received Health Belief Enhancement Program. The control group received regular nursing care activities. The research instruments were:1) Health Belief Enhancement Program, and 2) the Compliance Behavior Assessment Scale. All instruments were examined for content validity by 5 professional experts. The 2nd instrument had Chronbach’s Alpha coefficient reliability of .80. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.
Results: 1) The medication compliance behavior of schizophrenic patients after received Health Belief Enhancement Program was significantly higher than before at .05 level.
2) The medication compliance behavior of schizophrenic patients who received Health Belief Enhancement Program was significantly higher than those who received regular nursing care activities at .05 level.
Conclusion: Health Belief Enhancement Program can help patients make informed decisions about their own health which beliefs as a stimulus for good health behaviors and develop to medication compliance behavior.

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภท
วิธีการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาระดับต่ำถึงปานกลางและเข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจิตเวช จำนวน 36 คน ได้รับการจับคู่ โดยใช้ระดับคะแนนอาการทางจิตและเพศ สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 18 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพ และ 2) แบบประเมินพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาด้วยยา เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าความเที่ยงของครอนบาคอัลฟา เท่ากับ .80 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละและสถิติทดสอบที
ผลการวิจัย: 1) พฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภทภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมเชื่อด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุป: โปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพช่วยให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างถูกต้องด้วยตัวผู้ป่วยเองและความเชื่อที่เป็นสิ่งจูงใจอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ดีช่วยพัฒนาสู่ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชุติมา ทองอยู่, พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์

คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย