แนวทางการบริการทางสุขภาพสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ กลุ่มเปราะบางในระยะฟื้นฟู: กรณีศึกษาอุทกภัย* THE GUIDELINE OF HEALTH CARE SERVICE FOR VULNERABLE GROUPS IN DISASTER VICTIMS ON RECOVERY PHASE: CASE STUDY IN THE FLOOD
Main Article Content
บทคัดย่อ
Abstract
Objective: This research aims to provide health service recommendations for disaster victims in recovery phase.
Methods: This mixed method design with the sequential explanatory design, based on the descriptive research. The samples consisted of 661 flood victims (375 women, 286 men). The instruments included 1) The impact caused by the flood 2)The services and support needs in the recovery phase and 3) The data presented in the form of a percent, median, and mean rank. The additional explanation by using the phenomenology research, Information was gathered from in-depth interviews and focus groups. The 48 key respondents include 20 of the flood victims, 28 of the providers. All of the qualitative data was analyzed by using gender analysis framework.
Results: 1) The most vulnerable group who received overall impact was women. The overall impact is 45 medians, 35 mean ranks, followed by the vulnerable men, non-vulnerable women, and non-vulnerable men. (39, 28, 19 median, 38, 38.25, 24 mean rank respectively).2)The guidelines recommended for providing health care services for vulnerable groups on recovery phase aim to following a clear disaster management policy which target vulnerable groups; create a database identify vulnerable population groups; use gender analysis in planning; work with all sectors; define action plans that help meet the specific needs of vulnerable groups.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางการให้บริการทางสุขภาพ สำหรับผู้ประสบภัยพิบัติกลุ่มเปราะบางในระยะฟื้นฟู
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประเภทการวิจัยแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย(explanatory sequential design) เริ่มจากวิจัยเชิงปริมาณแบบการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประสบภัยพิบัติทั้งหมด 661 คน แบ่งเป็นผู้หญิง375 คน ผู้ชาย 286 คน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับ 1) ผลกระทบจากอุทกภัยระยะฟื้นฟู 2) ความต้องการบริการและการช่วยเหลือสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติในระยะฟื้นฟู และ 3) ความพึงพอใจต่อบริการและการช่วยเหลือสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติในระยะฟื้นฟู นำเสนอข้อมูลด้วย จำนวน ร้อยละ ค่ามัธยฐานและค่าเฉลี่ยอันดับ การวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด 48 คน ได้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติ 20 คน ผู้ให้บริการ 28 คน โดยใช้การวิเคราะห์เพศภาวะเป็น กรอบในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษา: 1) ผู้ประสบภัยพิบัติกลุ่มเปราะบางผู้หญิงได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในระยะฟื้นฟูโดยรวมสูงสุด ค่ามัธยฐานเท่ากับ45 คะแนน (ค่าเฉลี่ยอันดับ 35) รองลงมา คือ กลุ่มเปราะบางผู้ชาย กลุ่มไม่เปราะบางผู้หญิง และกลุ่มไม่เปราะบางผู้ชาย (ค่ามัธยฐาน 39, 28 และ 19 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยอันดับ 38, 38.25 และ 24 ตามลำดับ) ผลกระทบด้านสุขภาพของกลุ่มเปราะบางผู้หญิงและกลุ่มเปราะบางผู้ชายใกล้เคียงกัน ผลกระทบที่ได้รับระดับมากที่สุดได้แก่ ตนเองไม่สามารถไปใช้บริการทางสุขภาพได้เนื่องจากบทบาทหน้าที่ต้องดูแลครอบครัวและเนื่องจากต้องพึ่งพาผู้อื่นในการเดินทาง 2) ข้อเสนอแนะแนวทางการให้บริการทางสุขภาพสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติกลุ่มเปราะบางในระยะฟื้นฟู ได้แก่ การกำหนดนโยบายการจัดการภัยพิบัติควรระบุกลุ่มเป้าหมายจัดทำฐานข้อมูลประชากรกลุ่มเปราะบางที่ชัดเจน ใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพศภาวะในการวางแผนการทำงานกับทุกภาคส่วน และกำหนดแผนปฏิบัติการความช่วยเหลือตามความต้องการเฉพาะของกลุ่มเปราะบาง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
กรมสุขภาพจิต. (2547). คู่มือการดูแลช่วยเหลือจิตใจผู้ประสบภัยพิบัติ: ระยะฟื้นฟู (สำหรับบุคลากรสาธารณสุข). กรุงเทพฯ: โรง
พิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กรมสุขภาพจิต. (2550). คู่มือการดูแลจิตใจในภาวะวิกฤติ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. (2558). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558.ค้นเมื่อ
25 มีนาคม 2559, จาก http://www.disaster.go.th/th/dwn-download
โครงการสเฟียร์. (2551). โครงการสเฟียร์: กฎบัตรมนุษยธรรมและมาตรฐานขั้นต่ำในการตอบสนองต่อภัยพิบัติ. กรุงเทพฯ: สหมิตร
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.
เพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2549). การเผชิญกับภัยพิบัติ: คู่มือปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลด้านจิตใจแก่ผู้ประสบภัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2550). คู่มือการวิเคราะห์เชิงมิติหญิงชาย, กรุงเทพฯ: สกสค.
สมพร ร่งุ เรอื งกลกิจ และองิ คฏา โคตรนารา. (2556). พยาบาลกับการบูรณาการเพศภาวะในการจัดการภัยพิบัติ. วารสารพยาบาล
สงขลานครินทร์, 33(3), 1-12
สุพรรณา ครองแถว และ นพวรรณ เปียซื่อ. (2558). แนวคิดและบทบาทพยาบาลในการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ. วารสารพยาบาล
รามา, 21(2), 114-157.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2552). การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
CARE. (2010). Gender Toolkit: tools for analyzing gender Including a compendium of methods related situational analysis. Retrieved August 20, 2012, from http://www.pqdl.care.org/gendertoolkit
CARE. (2012). Good Practices Framework Gender Analysis. Retrieved August 20, 2012, from
http://www.gender.care2share. wikispaces.net
Leah, M.B., Tara, E.G., & Tristan, R. (2010). Gender differences in recovery from posttraumatic stress disorder: A critical review. Aggression and Violent Behavior. 15(1): 463–474.
Sadock, B.J. & Sadock, V. A. (2003). Synopsis of Psychiatry, Behavioral Sciences Clinical Psychiatry. 9th ed, Philadelphia: Lippincott.
UNISDR. (2012). Gender and DRR. Retrieved June 12, 2012, from http://www.unisdr.org.
UNISDR. (2016). Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2015-2030. Retrieved September 1, 2016, from
http://www.unisdr.org
Vidler, H.C. (2005). Women making decisions about self-care and recovering from depression. Women’s Studies
International Forum, 28, 289-303.
World Health Organization (WHO). (2008). The Commission on the Social Determinants of Health. Closing the gap in a
generation: Health equity through action on the social determinants of health. Geneva: World Health
Organization.
World Health Organization. (2009). Gender mainstreaming for health managers: a practical approach. Geneva: World
Health Organization.