ปัจจัยทำนายภาวะถอนพิษสุราในผู้เสพติดสุรา PREDICTING FACTORS OF ALCOHOL WITHDRAWAL IN ALCOHOL DEPENDENCE CLIENTS

Main Article Content

อมราภรณ์ ฝางแก้ว
เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์

บทคัดย่อ

Abstract



Objective: To identify factors predicting alcohol withdrawal in alcohol dependence clients including age, alcohol drinking withdrawal history, hypertension, alcohol consumption, anxiety, symptom expectancy and social support.
Methods: This study was descriptive research. The subjects were 154 alcohol dependence clients diagnosed as alcohol dependence according to the International Classification of Diseases (ICD 10) who followed up at Outpatient department of Prasrimahabhodi psychiatric hospital, Khonkan psychiatric hospital and Nakhonratchasima psychiatric hospital who met the inclusion criteria of alcohol withdrawal at mild level and agreed to participate in the study. The research instruments were 1) the personal data record, 2) Alcohol Withdrawal Scale, 3)Alcohol Use Disorders Identification Test, 4)Anxiety Test including State anxiety and Trait-anxiety, 5)Symptom Expectancy and Severity Questionnaire, and 6)Social support. The instruments were certified for content validity by 5 professional experts. Reliability of the 4th, 5th and 6th instruments were reported by Chronbach’ Alpha Coeffcient .88, .77, .78, .82 and .90, respectively. Data were analyzed using Percentage, Mean, Standard deviation, the Fisher exact probability, Chi-Square, Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise multiple regression analysis.
Results: 1.Alcohol consumption, Symptom expectancy, social support and hypertension altogether were able to significantly predict alcohol withdrawal in alcohol dependence clients at 38 percent, at p.05 level. 2. Age, alcohol drinking with drawal history, and anxiety could not predict alcohol withdrawal in alcohol dependence clients.
Conclusion: Predictors of alcohol withdrawal in alcohol dependence clients will help nurses to realize and develop nursing care that is consistent with the patient’s problem effectively.


บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาวะถอนพิษสุราในผู้เสพติดสุรา ได้แก่ อายุ ปริมาณ การดื่มสุรา ประวัติการเกิดภาวะถอนพิษสุรา ภาวะความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการดื่มสุรา ความวิตกกังวล การคาดการณ์ต่อความรุนแรงของภาวะถอนพิษสุรา และการสนับสนุนทางสังคมของผู้เสพติดสุรา
วิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดสุรา ตามคู่มือการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช (ICD 10) จำนวน 154 คน ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์  โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และโรงพยาบาล จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์  ซึ่งได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติ คือ มีภาวะถอนพิษสุราอยู่ในระดับเล็กน้อย และยินดีให้ความร่วมมือในการวิจัย จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินภาวะถอนพิษสุรา  3) แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา 4) แบบประเมินความวิตกกังวล ประกอบด้วย ตอนที่ 1แบบประเมินความวิตกกังวลขณะปัจจุบัน ตอนที่ 2 แบบประเมินความวิตกกังวลประจำตัว 5) แบบประเมินความคาดการณ์ต่อความรุนแรงของภาวะถอนพิษสุรา และ 6) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม เครื่องมือชุดที่ 4-6 ได้ผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 4, 5 และ 6 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .88, .77,.78, .82 และ .90 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติฟิชเชอร์ไคว์สแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน 
ผลการศึกษา:
1. พฤติกรรมการดื่มสุรา การคาดการณ์ต่อความรุนแรงของภาวะถอนพิษสุรา การสนับสนุนทางสังคม และภาวะความดันโลหิตสูง ร่วมกันทำนายภาวะถอนพิษสุราในผู้เสพติดสุราได้ร้อยละ 38 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
2. อายุ ปริมาณการดื่มสุรา ประวัติการเกิดภาวะถอนพิษสุรา และความวิตกกังวลไม่สามารถทำนายภาวะถอนพิษสุราในผู้เสพติดสุรา
สรุป: ปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะถอนพิษสุราในผู้เสพติดสุราเหล่านี้จะช่วยให้พยาบาลได้ตระหนักและสามารถวางแผนการดูแลผู้ป่วยที่สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปริทรรศ ศิลปะกิจ และพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2552). AUDIT แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ทานตะวันเปเปอร์.

เปรมฤทัย ไชยฮะนิจ. (2555). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ติดสุราที่มีโรคจิตเวชร่วม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัยคณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2554). การบำบัดรักษาภาวะถอนพิษสุรา. แผนงานการพัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาการบริโภคสุราแบบบูรณาการ(ผรส.). เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ และคณะ. (2556). ระบาดวิทยาโรคจิตเวชร่วมในคนไทย: การศึกษาระดับชาติ ๒๕๕๑. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 1 (21), 1-14.

พิชัย แสงชาญชัย. (2544). ตำราการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด:โรคติดแอลกอฮอล์และความผิดปกติที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ณัฎกฤตา ขันตี. (2556). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะถอนพิษสุราของผู้ป่วยเสพติดแอลกอฮอล์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, บัณฑิตวิทยาลัยคณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชชุดา ยะศินธ์, สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ และเธียรชัย งามทิพย์วัฒนา. (2554). ลักษณะพยาธิสภาพทางจิตของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการดื่มสุรา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 56(2), 167-178.

สมภพ เรืองตระกูล. (2548). ตำราจิตเวชศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554–2563. เข้าถึงเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558 จาก www.moph. go.th/ops/oic /data/ 20110316100703_1_.pdf .

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2547-2557. เข้าถึงเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558 จาก www.moph. go.th/ops/thp/thp/ userfiles/ file/Issue%2010_58.pdf.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย และสุวรรณา อรุณพงษ์ไพศาล. (2557). ปัญหาและความผิดปกติจากการดื่มสุรา ความสำคัญและการดูแลรักษาในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). สงขลา: คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and statistical manual of mental disorder:DSM-IV-TR (4th ed, text-revised). Washington DC.

Bargiel-Matusiewicz, K. & Ziebaczewska, M. (2006). The Influence of social support on the withdrawal syndrome in alcohol abused patients. Journal of Physiology and Pharmacology. 57(4), 23-31.

Ballenger, J.C., & Post, R.M. (1978). Kindling as a model for alcohol withdrawal syndromes. British Journal of Psychiatry. 133, 1-14.

Bayard, M., Mcintyre J., Hill K.R., & Woodside J. (2004). Alcohol Withdrawal Syndrome. American Family Physician. 15(6). 1443- 1450.

Becker, H.C. (1998). Kindling in Alcohol Withdrawal. Alcohol Health & Research World. 22(1), 25-33.

Burapakajornpong, N., Maneeton, B. & Srisurapanont, M. (2011). Pattern and Risk Factors of Alcohol Withdrawal Delirium. Journal Medication Association Thailand. 94(8), 991-997.

Dillman, D. A. (2000). Mail and internet survey. The tailored design method. (2nd ed). New York: Jone Wiley & Sons.

Fiellin, D.A., O’Connor, P.G., Holmboe, E.S., & Horwitz, R.I. (2002). Risk for delirium tremens in patients with alcohol withdrawal syndrome. Substance Abuse. 23(2), 83-94.

Fuller, R.K. & Hiller-Sturmhofel, S. (1999). Alcoholism treatment in the United States an overview. Alcohol Res Health. 23, 69-77.

Hasking P.A. & Oei T.P. S. (2002). The differential role of alcohol expectancies, Drinking refusal self-efficacy and coping resources in predicting alcohol consumption in community and clinical Samples. Addiction Research & Theory, 5(10), 465-494.

Hawker, R., & Orford, J. (1998). Predicting alcohol withdrawal severity support for the role of expectation and anxiety. Addiction Research. 6(3), 265-281.

House, J. (1981). Work, stress and social support. Reading, MA: Addison-Wesley.

Kraemer, K.L., Mayo-Smith, M.F., & Calkins, D.R., (2003). Independence clinicalcorrelates of severe alcohol withdrawal. Substance Abuse. 24(4), 197-209.

Palmstierna, T. (2001). A Model for Predicting Alcohol Withdrawal Delirium. Psychiatric Service. 52(6), 820-823.

Reloux, J. P., Malte, C. A., Kivlahan, D. R., & Saxon, A. D. (2002). The alcohol Use Disorders Identification Test (AUDIT) Predicts Alcohol Withdrawal Symptoms During Inpatient Detoxification. Journal of Addictive Diseases. 21(4), 81-91.

Sacco, P., Bucholz, K. K., & Harrington, D. (2014). Gender difference in stressful life events, social support, percieved stress, and alcohol use among older adults: Resulta from a national survey. Substance Use & Misuse. 49, 456- 465.

Thanyanuwat, R. (2013). Patients Who Suffers from Alcohol Withdrawal and Disoriented. Utaradit Hospital Medical Journal, 28(2), 2013.

Thevos, A. K., Thomas, S. E, & Randall, C. L. (2001). Social Support in Alcohol Dependence and Social Phobia: Treatment Comparisons. Research on Social Work Practice. 11(4), 458-472.

Thorndike, B. M. (1978). Correlation procedure for research. New York: Gardner Press. 183-184.

Trevisan L. A., Boutros N., Petrakis I. L., & Krystal J.H. (1998).Complications of Alcohol Withdrawal Pathophysiological Insights. Alcohol Health & Research World. 22(1), 61-66.

Weinberger, A. H., Maciejewski, P. K., McKee, S. A., Reutenauer, E. L., & Mazure, C. M. (2009). Gender Difference in Associations between Lifetime Alcohol, Depression, Panic Disorder, and Posttraumatic Stress Disorder and Tobacco Withdrawal. The American
Journal on Addiction. 18, 140-147.

Wetterling, T., Driessen, M., Kanitz, R.D., & Junghanns, K. (2001). The severity of alcohol withdrawal is not age dependent. Alcohol and Alcoholism. 36(1), 75-78.

Wojnar, M., Wasilewski, D., Zmigrodzka, I., & Grobel, I. (2001). Age-related differences in the course of alcohol withdeawal in hospitalized patients. Alcohol & Alcoholism. 36(6), 577-583.

World Health Organization. (2004). WHO Global Status Report on Alcohol 2004. Retrive on 6 March 2014 From : http://www.who.int/alcohol.Young.