ประสิทธิผลของโปรแกรมประยุกต์ภายใต้แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก ต่อความสุขและอารมณ์เชิงลบของผู้ปกครองผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติก

Main Article Content

สมดี อนันต์ปฏิเวธ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของโปรแกรมประยุกต์ภายใต้แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกต่อความสุขและอารมณ์เชิงลบของผู้ปกครองผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติก โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยตามแนวคิดของจิตวิทยาเชิงบวกของซาลิกแมน (Seligman, 2002)


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองของผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติกที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชเด็กแห่งหนึ่ง จำนวน 64 ราย โดยกลุ่มทดลองจำนวน 32 ราย เข้าร่วมในโปรแกรมประยุกต์ภายใต้แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกร่วมกับการเข้าร่วมในกิจกรรมปกติ และกลุ่มควบคุมจำนวน 32 ราย เข้าร่วมในกิจกรรมปกติของโรงพยาบาลโปรแกรมฯ นี้ประกอบด้วยกิจกรรม 8 ครั้งๆ ละ 1½ -2 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบ 2 ทาง ที่มีการวัดซ้ำ


ผลการศึกษา: ผลการวิจัยที่สำคัญ มีดังนี้ 1. หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมฯ พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสุขของผู้ปกครองในกลุ่มทดลองสูงกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 2. หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมฯ ค่าเฉลี่ยของคะแนนความซึมเศร้าของผู้ปกครองในกลุ่มทดลองต่ำกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โครงการวิจัยอัลแทร์. (2007). แบบฟอร์ม DASS-21. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2556, จาก DASS21 Thai NCHECR_2.pdf

ชะไมพร พงษ์พานิช, สมดี อนันต์ปฏิเวธ, ประภาพันธ์ ร่วมกระโทก, และสมหมาย เศรษฐวิชาภรณ์. (2555). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะครอบครัวสำหรับผู้ปกครองและผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติก ตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข,
22(1), 11-25.

สมดี อนันต์ปฏิเวธ. (2557). ประสบการณ์ของผู้ปกครองผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติกในการพัฒนาความสุขภายใต้แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก. เอกสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2/2557 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

สมดี อนันต์ปฏิเวธ. (2559). การพัฒนาและทดสอบแบบประเมินความสุขของผู้ปกครองผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติก. การนำเสนอผลงานวิชาการ Oral Presentation ในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 15 และการประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก ครั้งที่ 13 ประจำปี 2559 กรมสุขภาพจิต.

Altiere, M. J., &Von Kluge, S. (2009). Searching for acceptance: challenges encountered while raising a child with autism. Journal of Intellectual & Developmental Disability, 34(2), 142-152.

Bitsika, V., Sharpley, C. F., & Bell, R. (2013). The buffering effect of resilience upon stress, anxiety, and depression in parents of a child with an autism spectrum disorder. Journal of Developmental and Physical Disability, 25(5), 533-543.

Centers for Disease Control and Prevention [CDC]. (2016). Community report from the Autism and developmental disabilities monitoring (ADDM) network. Retrieved June 1, 2017, from https://www.cdc.gov/ncbddd/autism/addm.html

Faso, D. J., Neal-Beevers, A. R., & Carlson, C. L. (2013). Vicarious futurity, hope, and wellbeing in parents of children with autism spectrum disorder. Research in Autism Spectrum Disorders, 7(2), 288–297.

Pozo, P., Sarriá, E., & Brioso, A. (2011). Psychological adaptation in parents of children with autism spectrum disorders. Universidad Nacional de Educación a Distancia, UNED Spain.

Sanders, J. L., & Morgan, S. B. (1997). Family stress and adjustment as perceived by parents of children with autism or Down syndrome: Implications for intervention. Child and Family Behavior Therapy, 19(4),15-32.

Seligman, M. E. P. (2002). Authentic happiness: Using the new positive psychology to realize your potential for lasting fulfillment. New York: Simon & Schuster, Inc.

Seligman, M. E. P. (2011). Flourish. New York: Free Press.

Woodgate, R. L., Ateah, C., & Secco, L. (2008). Living in a world of our own: The experience of parents who have a child with autism. Qualitative Health Research, 18(8), 1075-1083.

Yalom, I. R., & Leszcz, M. (2005). The theory and practice of group psychotherapy (5th ed.). New York: Basic Books.