ผลของการใช้โปรแกรมการสร้างจินตนาการร่วมกับการบำบัดความคิด และพฤติกรรมต่อการป้องกันพฤติกรรมการติดซ้ำในผู้ป่วยติดสุรา THE EFFECTS OF USING AUTOGENIC TRAINING PROGRAM TOGETHER WITH COGNITIVE BEHAVIOR THERAPY ON PREVENTING RELAPSE BEHAVIORS OF PATIENTS WIT

Main Article Content

บุษกร วรากรอมรเดช
มรรยาท รุจิวิชชญ์
ชมชื่น สมประเสริฐ

บทคัดย่อ

Objective: To study effects of using autogenic training program together with cognitive behavior therapy on preventing the relapse behaviors of patients with alcohol dependence.


Methods: Subjects for this Quasi - experimental research were 90 alcoholic men at post-hospital discharge from Hospital for no longer than 6 months. The subjects were divided into three groups of thirty subjects in each. They were randomly assigned into two experimental groups and a control group. Experimental group 1 received cognitive behavioral therapy while experimental group 2 participated in the autogenic training program together with the cognitive behavior therapy, and the control group received routine nursing care. The experiment was conducted over a period of 12 weeks. Research instruments used to measure the dependent variable in this study was the alcoholics’ relapse prevention questionnaires. Data were analyzed using Chi-square statistics, t-test statistics, ANOVA statistics, and post hoc comparison by Scheffe.


Result: Experimental group 1 had post-test mean relapse prevention scores higher than pre-test scores with a statistical significance at p < .001. The experimental group 2 had post-test mean relapse prevention scores higher than pre-test scores with a statistical significance at p < .001, and control group that received routine nursing care had different mean pre- and post-relapse prevention scores with a statistical significance at p < .05


Conclusion: Experimental group received cognitive behavioral therapy had the highest mean relapse prevention scores, followed by the experimental group that received the autogenic training program together with the cognitive behavior therapy and the control group that received routine nursing care.


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการสร้างจินตนาการร่วมกับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อการป้องกันพฤติกรรมการติดซ้ำในผู้ป่วยติดสุรา


วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยติดสุราที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 90 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 30 คน ทำการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการบำบัดความคิดและพฤติกรรม กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับโปรแกรมการสร้างจินตนาการร่วมกับการบำบัดความคิดและพฤติกรรม และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือใช้แบบประเมินคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการติดซ้ำ ระยะการทดลอง 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ สถิติทดสอบค่าที สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one – way ANOVA) และทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Scheffe


ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มทดลองที่ 1 มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการติดซ้ำหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .001 กลุ่มทดลองที่ 2 มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการติดซ้ำ หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001 และกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการติดซ้ำหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p <.05


สรุป: กลุ่มได้รับการบำบัดความคิดและพฤติกรรม มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการติดซ้ำสูงสุด รองลงมาคือกลุ่มได้รับโปรแกรมการสร้างจินตนาการร่วมกับการบำบัดความคิดและพฤติกรรม และกลุ่มควบคุมตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกรัตน์ สุขะตุงคะ. (2557). เส้นทางสุขภาพ. เข้าถึงเมื่อ 11 มกราคม 2557, จาก www.si.mahidal.ac.th.

กำพล ศีรวัฒนกุล และนิทัศน์ เยี่ยมรักชาติ. (2551). เอกสารประกอบคำบรรยายเรื่อง การฝึก Autogenic Training. กรุงเทพฯ: สถาบันเพื่อการพัฒนากายและจิต.

จรรยา ใจหนุน. (2551). ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ติดสุรา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เฉก ธนะศิริ. (2541). สมาธิกับคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโพรดักส์.

ดวงใจ ศิริวัฒนาศิลป์. (2553). ผลของการฝึกสมาธิตามแนวอานาปานสติและการฝึกแบบออโตจินิกที่มีต่อความแม่นยำในกีฬาเปตอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ตรีนุช ราษฎร์ดุษดี. (2555). ผลของโปรแกรมไบโอฟีดแบคร่วมกับการสร้างจินตนาการต่อระดับพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้เสพสารแอมเฟตามีน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทรงเกียรติ ปิยะกะ. (2554). คู่มือการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดระบบจิรสาสำหรับประชาคมไทย The Jirasa model of addiction treatment for Thai communities: A therapy Manual. สงขลา: ลิมบราเดอร์การพิมพ์.

พิชัย แสงชาญชัย. (2544). ตำราการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด: โรคติดแอลกอฮอล์และความผิดปกติที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

มรรยาท รุจิวิชชญ์. (2556). การจัดการความเครียดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มาโนช หล่อตระกูล. (2555). ตำราพฤติกรรมศาสตร์ทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

สถาบันธัญญารักษ์. (2550). สถิติการบำบัดรักษาผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2548-2550. ปทุมธานี: สถาบันธัญญารักษ์

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย และสุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล. (2557). ปัญหาและความผิดปกติจากการดื่มสุรา: ความสำคัญและการรักษาใน
ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.

อรวรรณ จันทรมณี. (2554). ผลของโปรแกรมไบโอฟีคแบคแบบควบคุมการทำงานของคลื่นประสาทอัลฟ่าร่วมกับการฝึกสร้างจินตนาการต่อพฤติกรรมแสดงออกของเด็กสมาธิสั้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Beck, A. T. (1993). Cognitive therapy: Past, present, and future. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 61(2), 194 – 198.

Beck, A. T., Wright, F. D., Newman, C. F., & Liese, B. S. (1993). Cognitive therapy of substance abuse. New York: Guildford.

Bradizza, C. M., Stasiewicz, P. R., Paas, N. D. (2006). Relapse to alcohol and drug use among individuals diagnosed with co-occurring mental health and substance use disorders: a review. Clinical Psychology Review, 26(2), 162-78.

Kanji, N., White, A., & Ernst, E. (2006). Autogenic training to reduce anxiety in Nursing students: randomized controlled trial. Journal of Advanced Nursing, 53(6), 729-735.

Marlatt, G. A., & Gordon, J. R. (1985). Relapse prevention: Maintenance strategies in the treatment of addictive behaviors. New York: Guildford.

Polich, J. M., Armor, D. J., & Braiker, H. B. (1981). The Course of alcoholism: Four years after treatment. New York: John Wiley and Sons.

Grace, S. J. (2016). The Power of Autogenic. Retrieved March 17, 2016. from: http://www.gracehypnosis.com/ autogenics.html

Witkiewitz, K., Marlatt, G. A. (2004). Relapse prevention for alcohol and drug problems: that was Zen, this is Tao. The American Psychologist, 59(4), 224-235.