ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยครอบครัว มีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สุรา THE EFFECT OF EMPOWERMENT WITH FAMILY PARTICIPATION PROGRAM ON ALCOHOL DRINKING BEHAVIOR OF SCHIZOPHRENIC PATIENTS WITH ALCOHOL USE

Main Article Content

นิภาพร รัฐมั่น
เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์

บทคัดย่อ

Abstract



Objectives: The purposes of this quasiexperimental research were to compare the alcohol drinking behavior of schizophrenic patients with alcohol use before and after receiving the empowerment with family participation program, and to compare the alcohol drinking behavior between the experimental group who participated in the empowerment with family participation and the control group.



Methods: The samples were forty male schizophrenic patients with alcohol use and their family caregivers in inpatient service who met the inclusion criteria. They were matched pair and then randomly assigned into experimental group and control group with 20 subjects in each group. Research instruments comprised of: 1) The empowerment with family participation program, and 2) Alcohol Use Disorders Identification Test. All instruments were verified for content validity by 5 professional experts. The reliability of the instrument was reported by Cronbach’s Alpha as of .81. Data were analyzed using descriptive statistics and t - test.



Results: The alcohol drinking behavior of schizophrenic patients with alcohol use after receiving the empowerment with family participation program was significantly lower than that before (p < .05). The alcohol drinking behavior of schizophrenic patients with alcohol use who received the empowerment with family participation program was significantly lower than that of the group who received regular caring (p < .05).


บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สุราก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยครอบครัวมีส่วนร่วม และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สุราระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยครอบครัวมีส่วนร่วมกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทชายที่ใช้สุราจำนวน 40 คน และผู้ดูแลหลักที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยใน โดยการจับคู่ด้วยระยะเวลาการเจ็บป่วยและคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุรา จากนั้นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยครอบครัวมีส่วนร่วม 2) แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .81เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบร้อยละและสถิติทดสอบที (t-test)


ผลการศึกษา: พฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สุราหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยครอบครัวมีส่วนร่วมน้อยกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ พฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สุรากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยครอบครัวมีส่วนร่วมน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2556). สถานการณ์และแนวโน้มความเจ็บป่วยทางจิตคนไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวง
สาธารณสุข.
กาญจนา สุทธิเนียม, กาญจนา สุทธิเนียม, ชลพร กองคำ, และละเอียด พรรณเชษฐ์. (2547). การศึกษาความชุกการใช้สารเสพติดในผู้ป่วยโรคจิตที่เข้ารับการรักษาในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพ-มหานคร: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จ-เจ้าพระยา.

จีระพรรณ์ สุริยงค์, กิตติศักดิ์ วิบูลมา, พิมพาภรณ์ แก้วมา, มธุริน คำวงศ์ปิน, และเดชา ทำดี. (2557). ความชุกของปัญหาการดื่มสุราในผู้ป่วยจิตเภท. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 22(1), 38-47.

ปริทรรศ ศิลปะกิจ และพันธ์นุ ภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2552). แบบประเมินปัญหาการดื่มสุราแนวปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลปฐมภูมิ. กรุงเทพมหานคร: ทานตะวันเปเปอร์.

เปรมฤทัย ไชยฮะนิจ. (2555). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ติดสุราที่มีโรคจิตเวชร่วม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ คงสัตย์, ศิริภรณ์ ชัยศรี, และสวัสดิ์เที่ยงธรรม. (2556). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการจัดการพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราระยะหลังพ้นภาวะถอนพิษสุรา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 27(1), 45-61.

พิชัย แสงชาญชัย. (2552). การทบทวนองค์ความรู้เรื่องจิตสังคมบำบัดสำหรับผู้จิตจากสุรา. แผนงานพัฒนาระบบ รูปแบบ และวิธีการบำบัดรักษาผู้ที่มีปัญหาการบริโภคสุราแบบบูรณาการ.เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

พุฒิชาดา จันทะคุณ. (2556). ผลของกลุ่มบำบัดทางพฤติกรรมต่อการบริโภคแอลกอฮอล์ของผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้แอลกอฮอล์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มันฑนา กิตติพีรชล. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ของการดื่มสุรา การติดสุรา ต่ออาการทางคลินิกและขนาดยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 2(1), 25-35.

ยุวดี วงษ์แสง. (2548). ผลการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สดุดี น้อยกรณ์. (2552). ปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการลดพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยติดสุรา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. (2556). สถิติผู้ป่วยสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จ-เจ้าพระยา. ศูนย์สารสนเทศ สถาบันจิตเวช-ศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา.

สมภพ เรืองตระกูล. (2553). ตำราจิตเวชศาสตร์พื้นฐานและโรคทางจิตเวช (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

สาวิตรี สุริยะฉาย. (2556). การบำบัดผู้ป่วยสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวชที่ประสบความสำเร็จ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 27(2), 1-15.

โสรยา ศุภโรจนี. (2554). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมป้องกันการป่วยซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bellack, A., & Diclemente, C. (1999). Treating Substance Abuse Among Patients With Schizophrenia. Psychiatric Services, 50(1), 75-80.

Blanchard, J. J., Brown, S. A., Horan, W.P., & Sherwood, A. R. (2000). Substance use disorders in schizophrenia: Review, Integration, and A Proposed model. Clinical Psychology Review, 20(2), 207-234.

Chambers, A. R., Krystal, J. H., & Self, D. W. (2001). A neurobiological basis for substance abuse comorbidity in schizophrenia. Biological Psychiatry, 50, 71–83.

Drake, R. E., & Mueser, K. T. (2002) . Co-Occurring Alcohol use disorder and schizophrenia. Alcohol Research & Health, 26 (2), 99-102.

Friedman, M. (2003). Family Nursing: Theory and Practice (4th ed). Stamford. CT: Appleton & Lange.

Green, A. I., Drake, R. E., Brunette, M. F., & Noordsy, D. L. (2007). Schizophrenia and co-occurring substance use disorder. Psychiatry, 164, 402-408.

Latt, N., Jurd, S., Tennant, C., Lewis, J., Macken, L., Joseph, A., et al. (2011). Alcohol and substance use by patients with psychosis presenting to an emergency department: changing patterns. Australia Psychiatry, 19(4), 354-359.

Manning, V., Wanigaratne, S., Best, D., Strathdee, G., Schrover, I., & Gossopal, M. (2009). Cognitive impairment in dual diagnosis in patient with schizophrenia and alcohol use disorder. Schizophrenia Research, 114, 98-104.

Miller, F. (2000). Coping with chronic illness overcoming powerlessness (3rd ed). Philadelphia, F. A: Davis Company.

Mueser, K. T., & Fox, L. (2002). A family intervention program for dual disorders. Community mental health Journal, 38(8), 253-268.

Polit, D. F., & Beck, T. B. (2004). Nursing research:Principles and method (7th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams and Wilkins.

Regier, D. A., Farmer, M. E., Rae, D. S., Locke, B. Z., Keith, S. J., & Judd, L. L. (1990). Co morbidity of Mental Disorders With Alcohol and Other Drug Abuse. The Journal of the American Medical Association, 264(19), 11-25.

Salyers, M., & Mueser, K. (2001). Social functioning, psychopathology, and medication side effects in relation to substance use and abuse in schizophrenia. Schizophrenia Research, 48(1), 109-123.

Yeh, M. Y., Che, H. L., Lee, L. W., & Horng, F. F. (2008). An empowerment process: successful recovery from alcohol dependence. Journal of Clinical Nursing, 17, 921–929.

Zarea1, K., Rezaie, A., Ghanizadeh, A., & Latifi, M. (2014). Effect of family-centered empowerment model on the attitude to medications and drug compliance in patients with schizophrenia: A randomized controlled trial. Jundishapur Journal of Chronic Disease Care, 3(1), 61-67.