การพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตครู โดยการให้การปรึกษากลุ่ม*

Main Article Content

กาญจนา สุทธิเนียม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ



วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตครู 2) พัฒนาโปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อการพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตครู และ 3)ประเมินผลโปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มในการพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตครู



วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นนิสิตครูของมหาวิทยาลัย ราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 332 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบหลายขั้นตอนและเป็นกลุ่มที่ใช้ในการศึกษาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตครู กลุ่มที่ 2 เป็นนิสิตครูของมหาวิทยาลัย
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจำนวน 16 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) จากนิสิตที่มีคะแนนทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ที่ 25 ลงมา แล้วสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับการให้การปรึกษากลุ่มและกลุ่มควบคุม
ได้รับการดูแลปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย 1) แบบวัดทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก มีค่าความเที่ยงโดยรวมเท่ากับ 0.92 และวิเคราะห์ ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ 2) การให้การปรึกษากลุ่มที่นำไปใช้ในการพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตครู มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (item objective congruence : IOC) อยู่ระหว่าง 0.66-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา วิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (repeated ANOVA) 


ผลการศึกษา: พบว่า 1. ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตครูโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง  2. การพัฒนาโปรแกรมการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อใช้ในการพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตครู ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้ แนวคิดและเทคนิคในการปรึกษากลุ่มแบบการรู้คิดและพฤติกรรม (CBT : Cognitive Behavior Therapy) และการปรึกษากลุ่ม แบบมุ่งเน้น คำตอบ (solutionfocused counseling) 3. ทุนทางจิตวิทยาของนิสิตครูกลุ่มทดลอง หลังได้รับการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาทุน ทางจิตวิทยาและเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล สูงกว่า ก่อนได้รับการปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4. ทุนทางจิตวิทยาของนิสิตครูกลุ่มทดลองหลังได้รับการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาทุนทางจิตวิทยาและเมื่อสิ้นสุดการติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาทุนทางจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001



สรุป : การให้การปรึกษากลุ่มสามารถพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตครูได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกมล จันทวงษ์. (2558). ปัจจัยสาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์สระแก้ว. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(1), 127-141.

จริยา อัศวเพชรกูล. (2558). การเสริมสร้างพลังทางบวกของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(3), 79-86.

ดิเรก พรสีมา. (2554). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพครู. (เอกสารอัดสำเนา).

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2553). ข้อเสนอระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สายสมร เฉลยกิตติ. (2554). การพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพยาบาลวิชาชีพโดยการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ. ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

อุรปรีย์ เกิดในมงคล. (2557). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความหวังทางการศึกษาของนักเรียนวัยรุ่น. ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

Abbas, M., & Raja, U. (2011). Impact of psychological capital on innovative performance and job stress, Canadian Journal of Administrative Sciences, 32(2), 73-140. DOI: 10.1002/cjas.1314.

Corey, G. (1995). Theory & practice of group counseling. (4thed). California: Brooks/Cole.

Corey, G. (2000). Theory & practice of group counseling. (5thed). Thomson Brooks/Cole.

Corey, G. (2004). Theory and practice of group counseling. (6thed). Thomson Brooks/Cole.

Corey, G. (2006). Theory and practice of counseling and psychotherapy (7thed). Thomson Brooks/Cole.

Dinkmeyer, C. (1968). Reading in group counseling. Pennsylvania: International Textbook Company.

Forsyth, D. R. (2006). Group dynamic. CA: Thomson Higher Education.

Jacobs, E., Masson, L., & Harvill, L. (2002). Group counseling: strategies and skills. (3rd). CA: Brooks/Cole.

Jafri, H. (2013). A Study of the relationship of psychological capital and students’ performance Business Perspective and Research, 1(2), 9-16.

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1999). Lisrel 18: New statistical features. Chicago: Scientific Software International.

Larson, M. (2004). Positive psychological capital: A comparison with human and social capital and an analysis of a training intervention. A dissertation of the graduate college, University of Nebraska.

Luthans, C. B., Luthans, W. K., & Jensen, M. S. (2012). The impact of business school student’s psychological capital on academic performance. Journal of Education for Business, 187, 253-259.

McKinsey. (2007). McKinsey report on education. Retrieved June 15, 2017, from http//www.mckinsey.com.

Ohlsen, M. M. (1970). Group counseling. New York: Rinehart and Winston, Inc.

Singh, S., & Mansi, G. J. (2009). Psychological capital as predictor of psychological well-being. Journal of the Indian Academy of Applied Psychology, 35(2), 233-238.

Vinogradov, S., & Yalom , I. D. (1989). Concise guide to group psychotherapy. Washington, DC: America Psychiatric Press Inc.

Wilson, H. S., & Kneisl, C. R. (1996). Psychiatric nursing. (5thed). California: Addison-Wesley Nursing.