ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้า

Main Article Content

จุฑารัตน์ จิราพงษ์
รังสิมันต์ สุนทรไชยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้าและความสัมพันธ์ระหว่างเพศ สิ่งเร้าด้านร่างกาย สิ่งเร้าด้านการรู้คิด ความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ จำนวนของโรคทางกายและเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตกับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้า


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลทั่วไปคัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 138 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดระดับความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า 3) แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ4) แบบประเมินประสบการณ์ความเครียดในผู้สูงอายุ 5) แบบประเมินความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ 6) แบบประเมินสิ่งเร้าก่อนเข้านอนเครื่องมือทุกชุดมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง .86 - 1 ค่าความเที่ยงระหว่าง.70 - .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการศึกษา: สรุปได้ดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้าพบร้อยละ 81.2 และอยู่ในระดับรุนแรง ร้อยละ 40.6 ( = 17.54, SD = 8.49) 2. สิ่งเร้าทางการรู้คิด ความเชื่อและทัศนคติ ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอนหลับ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับอาการนอนไม่หลับ (r = .636, .607) สิ่งเร้าทางด้านร่างกาย ความรุนแรงของภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับอาการนอนไม่หลับ (r = .558, .572)  จำนวนโรคทางกายมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับอาการนอนไม่หลับ (r = .243) ส่วนเพศและเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตไม่มีความสัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรรยา ฉิมหลวง. (2552). อาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง และอุมาพร อุดมทรัพยากุล. (2554).ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรสูงอายุจังหวัดเชียงใหม่.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 48(4), 103-116.

นิษา สมานทรัพย์. (2554). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสิ้นหวังในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัทรีญา แก้วแพง. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับอาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยมะเร็งวัยผู้ใหญ่.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์สุคนิชย์. (2548). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็นเตอร์ไพรซ์.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2552). การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. กรุงเทพ ฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลัดดาวัลย์ พิบูลย์ศรี และสุนทรี ศรีโกไสย . (2557). การใช้ดัชนีชี้วัดการพยาบาลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล: ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยและพยาบาล. พยาบาลสาร, 41(1), 109-121.

สมภพ เรืองตระกูล. (2549). จิตเวชศาสตร์พื้นฐานและโรคทางจิตเวช. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

สุดารัตน์ ชัยอาจ และพวงพยอม ปัญญา. (2548). การนอนไม่หลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารสภาการพยาบาล, 20(2), 1-20.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560, จาก https://service.nso.go.th/ nso/nsopublish/themes/files/elderlyworkFullReport57-1.pdf

อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. (2549). การประเมินอาการซึมเศร้า:ข้อคิดในการใช้เครื่องมือ. วารสารสภาการพยาบาล, 21(2), 17-30.

Benca, R. M., & Peterson, M. J. (2008). Insomnia and depression. Sleep Medicine, 9Suppl.1, s3-s9.

Blazer, D. G. (2003). Depression in late life:review and commentary. The Journal of Gerontology: Medical Sciences, 58, 249-65.

Bluestein, D., Rutledge, C. M., & Healey, A.C. (2010). Psychosocial correlates of insomnia severity in primary care. Journal of American Broad of Family Medicine, 23(2), 204-211.

Carney, C. E., Edinger, J. D., Manber, R., Garson, C., & Segal, Z. V. (2007). Beliefs about sleep in disorders characterized by sleep and mood disturbance. Journal of psychosomatic Research, 62(2), 179 - 88.

Gindin, J., Shochat, T., Chetrit, A., Epstein, S., Ben Israel, Y., Levi, S., et al. (2014). Insomnia in long-term care facilities: A comparison of seven European countries and Israel: The services and health for elderly in long-term care study. Clinical Investigations,
62(11), 2033-2039.

Graci, G. (2005). Pathogenesis and management of cancer-related insomnia. The Journal of Support Oncology, 3(5), 349-359.

Han, C., Jo, S. A., Jo, I., Kwak, J., Pae, C., Park, M. H., & Steffens, D. L. (2008). Validation of the Patient Health Questionnaire-9 Korean version in the elderly population: the Ansan Geriatric study. Comprehensive Psychiatry, 49(2), 218-23.

Hoertel, N., Strat, Y. L., Gorwood, P., Potelle, C. B., Schuster, J. P., Manetti, A., Dubertret, C., & Limosin, F. (2013). Why does the lifetime prevalence of major depressive disorder in the elderly appear to be lower than in younger adults? Results from a national
representative sample. Journal of Affective Disorders, 149, 160-165.

Kim, J., Kim, S., Stewart, R., Shin, I., Yang, S., & Yoon, J. (2009). Insomnia, depression, and physical disorders in late life: A 2-year longitudinal community study in Koreans. Sleep, 32(9), 1221-28.

Lee, E., Cho, J. H., Olmstead, R., Levin, J. M., Oxman, N. M., & Irwin, R. M. (2013). Persistent sleep disturbance: A risk factor for recurrent depression in community-dwelling older adults. Sleep, 36(11), 1685-91.

Lundh, L. G., & Broman, J. E. (2000). Insomnia as an interaction between sleep interfering and sleep interpreting processes. Journal of Psychosomatic Research, 49(5), 299-310.

Lundt, L., (2005). Use of the Epworth Sleepiness Scale to evaluate the symptom of excessive sleepiness in major depressive disorder. General Hospital Psychiatry, 27, 146-148.

Lushington, K., Dawson, D., & Lack, L. (2000). Core body temperature is elevated during constant wakefulness in elderly poor sleepers. Sleep, 23, 504–10.

Morin, C. M. (1993). Insomnia: Psychological assessment and management. NewYork: Guilford Press.

Nicassio, P. M., Mendlowitz, D. R., Fussell, J. J., & Petras, L. (1985). The phenomenology of the pre-sleep state: The development of the pre-sleep arousal scale. Behavior Research and Therapy, 23, 263-271.

Pigeon, W. R., Hegel, M., Unutzer, J., Fan, M. Y., Sateia, M. J., Lyness, J. M., et al. (2008). Is insomnia a perpetuating factor for late-life depression in the IMPACT cohort?. Sleep, 31(4), 481-488.

Reynolds, C. F., Frank, E., Houck, P. R., & Mazumdar, S. (1997). Which elderly patients with remitted depression remain well with continued interpersonal psychotherapy after discontinuation of antidepressant medication?. American Journal Psychiatry, 154(7),
958-962.

Spiegelhalder, K., Regen, W., Feige, B., Hirscher, V., Unbehaun, T., Nissen, C., Riemann, D., & Baglioni, C. (2012). Sleep-related arousal versus general cognitive arousal in primary insomnia. Journal of Clinical Sleep Medicine, 8(4), 431-7.