การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษา

Main Article Content

ชลพร กองคำ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร 2) พัฒนารูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ ในการเสริมสร้างแรงจูงใจเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษา และ3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการในการเสริมสร้างแรงจูงใจเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษา


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง คณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 341 คน เป็นกล่มุ ที่ใช้ในการศึกษาลักษณะของแรงจูงใจเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษา และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการทดลอง จำนวน 16 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกนักศึกษากลุ่มที่ 1 มีคะแนนแรงจูงใจเป้าหมายในการเรียน ตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง โดยสุ่มอย่างง่าย (random sampling) เป็น 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 8 คน กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ ส่วนกลุ่มควบคุมให้เป็นไปสภาพตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดแรงจูงใจ เป้าหมายในการเรียนมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .94 และ 3) รูปแบบให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ มีค่า IOC เท่ากับ ได้ค่า 0.66 - 1.00 


ผลการศึกษา : พบว่า 1. แรงจูงใจเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 341 คน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง แรงจูงใจเป้าหมายในการเรียนรายด้าน ประกอบด้วย 1) การรับรู้ความสามารถแห่งตน 2) การมองโลกทางบวก 3) การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน 4) ความสามารถในการวางแผน และ 5) การควบคุมตนเอง2. แรงจูงใจเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการและหลังการติดตามผลสูงกว่าก่อนนักศึกษากลุ่มทดลองเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 3. แรงจูงใจเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการและหลังการติดตามผลสูงกว่าแรงจูงใจเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


สรุป: รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ สามารถเสริมสร้างแรงจูงใจเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษาได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัญญา ภาคอุทัย และวรากร ทรัพย์วิระปกรณ์. (2558). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการเรียนรู้ ด้วยการนำตนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 12(2),81-91.

ทศพร อันสงคราม. (2545). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นฤมล สุ่นสวัสดิ์. (2558). การตั้งเป้าหมายของชีวิตและการทำงาน. วารสารสารสนเทศ, 14(2), 21-36.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2543). ทฤษฎีและเทคนิคการให้คำปรึกษา. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.

พรรณภา ส่งแสงแก้ว. (2556). ผลของโปรแกรมพัฒนาแรงจูงใจและการตั้งเป้าหมายในการเรียนที่มีต่อนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 14(3), 103-108.

ภวิกา ภักษา. (2559). เรื่องพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบตั้งเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 22(1), 137-151.

มงคล ศักยยกุล. (2556). รูปแบบการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาราชภัฏ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: ม.ป.ท.

ยุวดี เฑียรประสิทธิ์. (2536). เอกสารประกอบการสอนวิชา จิตวิทยาวัยรุ่น. ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนวคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2555). พลังกระบวนการเรียนรู้มโนทัศน์ใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ-มหานคร: เอส อาร์พริ้นติ้ง.

สายสมร เฉลยกิตติ. (2554). การพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพยาบาลวิชาชีพโดยการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สิริพร ดาวัน. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนคิดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการเรียนรู้และการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2560). สถิติข้อมูลทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (อัดสำเนา).

หัสดิน แก้ววิชิต. (2559). ทำการศึกษาปัจจัยเชิงเหตุและผลของแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน: การทดสอบทฤษฎีการกำหนดตนเอง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 22 (2), 48 - 64.

อนุวัตร ศรีนวล. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะรอพินิจทางการศึกษาของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตลำปาง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อริยา คูหา. (2546). แรงจูงใจและอารมณ์. ปัตตานี:สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

อริสา ภูริวัฒน์. (2553). ผลของโปรแกรมพัฒนาการตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. สารนิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการแนะแนว, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อุรปรีย์ เกิดในมงคล. (2557). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความหวังทางการศึกษาของนักเรียนวัยรุ่น. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

Atkonson, R. C. (1990). Introduction to Psychology. New York: Harcourt Brace Javanavich.

Corey, G. (2000). Theory and practice of group counseling (5thed.). CA: Thomson Brooks.

Corey, G. (2004). Theory and practice of group counseling (6thed.). CA: Thomson Brooks.

Corey, M. S., & Corey, G. (2006). Groups: Process and practice (7th ed.). Belmont, CA: Thompson Higher Education.

Deckers, L. (2014). Motivation: Biological, psychological, and environmental (4th ed.).

Boston, MA: Allyn & Bacon. Dinkmeyer, C. (1968). Reading in group counseling. Pennsylvania: International Textbook Company.

Forsyth, D. R. (2006). Group dynamic. CA: Thomson Higher Education.

Houston, J. P. (1985). Motivation. London: Collier Macmillan Publishers.

Jacobs, E., Masson, L., & Harvill, L. (2002). Group counseling: strategies and skills (4thed.). CA: Brooks/Cole.

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1999). Lisrel 18: New statistical features. Chicago: Scientific Software International.

Lambert, D. (2002). Motivation. Ball State University.

Lunenburg, F. C. (2011). Goal-setting theory of motivation. International. Journal of Management, Business, and Administration, 15(1), 1-6.

Mansfield, C. F., & Wosnitza, M. (2010). Motivation goals during adolescence: A cross-sectional perspective. Issues in Educational Research, 20(2), 149-165.

Ohlsen, M. M. (1970). Group counseling. New York: Rinehart and Winston.

Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2004). An Overview of self-determination theory: an organismic R. M. Ryan (Eds.), Handbook of Self-Determination Research (p.1-36) Rochester, New York, United States of America: The University of Rochester Press.

Van Nuland, H. J. C., Taris, T. W., Boekaerts, M., & Martens, R. L. (2012). Testing the hierachicak SDT model: The case of performance-oriented classrooms. European Journal of Psychology of Education, 27(4), 467 - 482.

Wilson, H. S., & Kneisl, C. R. (1996). Psychiatric nursing (5thed.). CA: Addison - Wesley Nursing.

Yamane, T. (1967). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper and Row.