ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจ ต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความรู้สึกมีคุณค่า ในตนเองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก่อนและหลัง ได้รับโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและ เปรียบเทียบความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย โรคซึมเศร้าระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการ สร้างความเข้มแข็งทางใจกับกลุ่มที่ได้รับการ พยาบาลตามปกติ
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรค ซึมเศร้าที่มารับบริการ ที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคกลาง จำนวน 40 คน โดยการจับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงด้วยอายุ และเพศ จากนั้นจัดเข้ากลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่ม ควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจ 2) แบบ ประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เครื่องมือ ทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความเที่ยงแอลฟ่าของ ครอนบาค เท่ากับ.87 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิง พรรณนาและสถิติทีและทีคู่
ผลการศึกษา: ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลังได้รับโปรแกรมการ สร้างความเข้มแข็งทางใจสูงกว่าก่อนทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความรู้สึก มีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลังได้รับ โปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจสูงกว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุป: โปรแกรมการสร้างความเข้มแข็ง ทางใจสามารถเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ให้แก่ผู้ป่วยโรคจิตเวชอื่น ๆ ได้ โดยโปรแกรมช่วยปรับวิธีการคิดทางบวกและช่วยแก้ปัญหาของ ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย
References
กรรณิการ์ ผ่องโต. (2555). ผลของโปรแกรมเสริม สร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความคิดฆ่า ตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ พยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะ พยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐปนีย์ ตั้งจิตภักดีสกุล. (2545). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเองและความรู้สึก สิ้นหวังในเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดใน สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กลาง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต วิทยาศาสตร์ (จิตวิทยาศึกษา) มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณรงค์ สหเมธาพัฒน์. (2556). บทความเหตุการณ์ ความเครียด. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2557, จากwww.prachachat.net/news_detail.php
เทียนทอง หาระบุตร. (2555). ปัจจัยคัดสรรที่มี ความสัมพันธ์กับพลังสุขภาพจิตของผู้ดูแล ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและ การพยาบาลจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธรณินทร์ กองสุข. (2558). โรคซึมเศร้าความ สูญเสียอันยิ่งใหญ่แห่งมวลมนุษยชาติ: การแก้ไขปัญหาความสูญเสียอันเนื่อง มาจากโรคซึมเศร้าและผลการดำเนินงาน ในระบบการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า ของไทย. การประชุมวิชาการสุขภาพจิต นานาชาติ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2558. ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์
คอนเวนชั่น, กรุงเทพฯ.
นพมาศ อุ้งพระ. (2555). จิตวิทยาสังคม (พิมพ์ ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรพรรณ สุดใจ และเพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2555). ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดทางจิตสังคม แบบบูรณาการต่อภาวะซึมเศร้าและการทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าใน ชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 24 (พิเศษ), 53-63.
พัชรี คำธิตา, อัมพวรรณ ถากาศ และชนากานต์ แสงสิงห์ชัย. (2550). รูปแบบการดูแลและ ช่วยเหลือผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายซ้ำโดย กระบวนการสร้างความเข้มแข็งทางใจ. การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 6 เรื่อง สุขภาพจิต: ชีวิตชาวเมือง โรงแรมปรินซ์พาเลซ, กรุงเทพมหานคร.
รังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2554). คู่มือการบำบัดทาง จิตสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: มิสเตอร์ ก๊อปปี้.
วชิระ เพ็งจันทร์. (2556). Quality of Life manager online. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2557, จาก www.manager.co.th
สมชาย จักรพันธุ์. (2551). สถานการณ์ข่าวสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557, จาก https:// www.hiso.or.th/hiso/health_event/ghealth
สำนักพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กระทรวง สาธารณสุข (2552). อัตราป่วยโรคซึมเศร้า. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2558, จาก http// www.hiso.or.th/hiso/visualize/index.php
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2554). การพยาบาล สุขภาพจิตและจิตเวช (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Beck, A. T. (1967). Depression: Clinical, experi¬mental, and theoretical aspects. New York: Hoeber.
Coopersmith, S. (1981). The Antecedent of self-Esteem 2. California: Consulting Psychologist.
De Raedt, R., Schacht, R., Franck, E., & De Houwer, J. (2006). Self-esteem and depression revisited: Implicit positive self-esteem in depressed patient? Behaviour Research and Therapy, 44, 1017-1028.
Franck, E., & Raedt, R. D. (2007). Self-esteem reconsidered : Unstable self –esteem outperforms level of self-esteem as vulnerability marker for depression. Behavior Research and Therapy, 45, 1531-1541
Grotberg, E. (1995). A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. Retrieved Fabruary 2, 2014 from: https://resilience.uiuc.edu/library/ grotb95.html.
Grotberg, E. H. (1999). Countering depression with the five building blocks of resilience. Reaching Today’s Youth, 4, 66-72.