ผลของโปรแกรมการบำบัดครอบครัวต่อการทำหน้าที่ของครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

Main Article Content

ลักษ์ขณา พานิชสรรค์
เพ็ญพักตร์ อุทิศ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการทำหน้าที่ของครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท ในชุมชนก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการบำบัดครอบครัวและเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดครอบครัว กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 ครอบครัว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 20 ครอบครัว กลุ่มควบคุม 20 ครอบครัว เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการบำบัดครอบครัว ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 2) แบบประเมินการทำหน้าที่ของครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท 3) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภท 4) แบบวัดความรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคจิตเภท และ 5) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม เครื่องมือที่ 2) และ 5) มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82 และ .81 ตามลำดับ เครื่องมือชุดที่ 3) และ 4) มีค่าความเที่ยงคูเดอร์ริชาร์ดสัน เท่ากับ .84 และ .82 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)


ผลการศึกษา: 1. คะแนนเฉลี่ยการทำหน้าที่ของครอบครัวของครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดครอบครัวสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการบำบัดครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 8.52)  2. คะแนนเฉลี่ยการทำหน้าที่ของครอบครัวของครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดครอบครัวสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 6.93)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2555). จำนวนผู้ป่วยจิตเวชจำแนกตามกลุ่มโรค. ใน รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2555. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.

จิราพร รักการ. (2549). ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตครอบครัวต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตวงรัตน์ แซ่เตียว. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการเผชิญความเครียดการสนับสนุนทางสังคมการดูแลตนเองด้านสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล สุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทีปประพิณ สุขเขียว. (2543). การสนับสนุนทางสังคมกับภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รจนา ปุณโณทก. (2550). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สกาวเดือน กลิ่นน้อย. (2554). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ของครอบครัวตามการรับรู้ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี ศรีสุพรรณ. (2547). ผลของโปรแกรมการดูแลแบบองค์รวมต่อความสามารถในการดูแลตนเองและอาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2553). การให้คำปรึกษาทางสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ซันต้าการพิมพ์.

Blanchard, J. J., & Panzarella, C. (1998). Affect and social functioning in schizophrenia. In K. T. Mueser & N. Tarrier (Eds.), Handbook of social functioning in schizophrenia (pp. 181-196). Needham Heights, MA, US: Allyn & Bacon.

Cain, C. I., & Wick, M. N. (2002). Caregiving attitudes as correlates of burden in family caregiver coping with chronic obstructive pulmonary disease. Journal of Family Nursing, 6, 46-47.

Chein, T. W. (2008). Effectiveness of psychoeducation and mutual support group program for family caregivers of chinese people with schizophrenia. The Open Nursing Journal, 2, 28-39.

Cook, J. A., Lefley, H. P., Pickett, S. A., & Cohler, B. J. (1994). Age and family burden among parents of offspring with severe mental illness. American Journal Orthopsychiatry, 64, 435-447.

Fadden, G. (1998). Research update: Psychoeducation family intervention. Journal of Family Therapy, 20, 293-309.

Hegde, S., Rao, S. L., & Raguram, A. (2007). Integrated psychological intervention for schizophrenia. International Journal of Psychosocial Rehabilitation, 11(2), 5-18.

House, J. S. (1980) Social support occupational stress and health. Journal of Health and Social Behavior, 21, 202-218.

Kay, S. R., Fiszbein, A., & Opler, L. A. (1987). The Positive and Negative Syndrome Scale (PANSS) for schizophrenia. Schizophrenia Bulletin, 13(2), 261-276.

King, S., & Dixon, M. J. (1999). Expressed emotion and relapse in young schizophrenia outpatients. Schizophrenia Bulletin, 25(2), 377-386.

Kuipers, E. (2006). Family interventions in schizophrenia: Evidence for efficacy and proposed mechanisms of change. Journal of Family Therapy, 28(1), 73-80.

Lazarus, R. S., De Longis, A., Folkmam, S., & Gruen, R. (1984). Stress and adaptational outcome: The problem of confound measures. American Psychologist, 40, 770-779.

Lefley, H. P. (1987). Aging parents as caregivers of mentally ill adult children: An emerging social problem. Hospital and Community Psychiatry, 38(10), 1063-1070.

McFarlane, W. R., Dixon, L., Lukens, E., & Lucksted, A. (2003). Family psychoeducation andschizophrenia: A review of the literature. Journal of Marital & Family Therapy, 9(2), 223–245.

Murphy, N. (2007). Development of family interventions: A 9 – month pilot study. British Journal of Nursing, 16(15), 948-952.

Talamo, A., Centorrino, F., Tondo, L., Dimitri, A., & Hennen, J. (2006). Comorbid substance use in schizophrenia: Relation to positive and negative symptoms. Schizophrenia Research, 86, 251-255.

Taylor, M. C. (1994). Essentials of psychiatric Nursing. (4th ed). St. Louis: Mosby.

Yamashita, M. (1996). A study of how families care for mental III relatives in Japan. International Nursing Review, 43, 121-125.