การเยียวยาผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าด้วยธรรมะ: ธรรมชาติตามแนววิถีพุทธ

ผู้แต่ง

  • ศรีสกุล เฉียบแหลม วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
  • เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชุติมา มาลัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ธรรมะ, ธรรมชาติตามแนววิถีพุทธ

บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ โดยแสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์ซึมเศร้า มีความ รู้สึกเบื่อหน่าย หดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง การเคลื่อนไหวช้า เซื่องซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับ พบใน เพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบได้ในทุกช่วงอายุ ตามแนววิถีพุทธมีความเชื่อว่าภาวะซึมเศร้า เป็นความรู้สึกที่เกิดจากความคิดฟุ้งซ่านที่ไม่มีสติ ในการควบคุมระวังความคิด เมื่อไม่มีแนวทาง ในการดับความคิดหรือความทุกข์นั้นทำให้จิตตก จนเกิดภาวะซึมเศร้าได้ การฝึกสติเป็นวิธีแก้ไข โดยให้บุคคลอยู่กับปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นการหยุดความคิดซ้ำๆ ที่ทำให้เกิดความทุกข์ใจ และกังวลใจ จนก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า ชาวพุทธส่วนใหญ่ใช้ หลักคำสอนทางศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวในการ ดำเนินชีวิต ความเชื่อทางศาสนามีผลต่อความ รู้สึกและการกระทำของมนุษย์ ช่วยทำให้ชีวิตมี ความสุข จิตใจสงบเย็น และมีกำลังใจที่จะต่อสู้ กับอุปสรรคต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต การป้องกัน ภาวะซึมเศร้าโดยอาศัยธรรมะและ การนำหลัก ธรรมชาติของชีวิตตามแนววิถีพุทธมาใช้ จะช่วย เยียวยาตนเองให้ห่างไกลจากภาวะซึมเศร้าได้

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2550). การสำรวจภาวะสุขภาพจิตของประชาชนในปี พ.ศ. 2555. นนทบุรี :กระทรวงสาธารณสุข.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2552). แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อการบำบัดทางสังคมจิตใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในสถาน บริการระดับทุติยภูมิ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์พระศรีมหาโพธิ์.

จุฑามาศ วารีแสงทิพย์. (2552). การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยธรรมปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธรณินทร์ กองสุข, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, เกษราภรณ์ เคนบุปผา, สุพัตรา สุขาวห, ศิริจันทร์ สุขใจ, และ จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. (2551). ความชุกของโรคซึมเศร้าในคนไทย: การสำรวจระบาดวิทยาโรคทางจิตเวช ระดับชาติปี 2551. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ธวัลรัตน์ ศรีวิลาศ. (2553). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในพระภิกษุสูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทิรา หงส์ศรีสุวรรณ์. (2559). ภาวะซึมเศร้า. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 19(38), 105-118.

ปุณยภพ สิทธิพรอนันต์. (2550). ฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้า. กรุงเทพมหานคร: ใกล้หมอ. พระปราโมทย์ ปาโมชโช. (2561). ธรรมะกับโรคซึมเศร้า [วีดิโอ]. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2561, จาก https://www.youtube.com/watch?v=tk662-M-3Y0

พระปลัดสมชาย ปโยโค และอุทัย สุดสุข. (2558). พุทธบูรณาการการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(2), 45-64.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พุทธธรรม ตอนที่ 1 บทที่ 1 ขันธ์ 5 (พิมพ์ครั้งที่ 39). พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพรเทพ อ.ต.ตโม (เดชประสาท). (2553). การศึกษาวิเคราะห์วิธีบำบัดโรคซึมเศร้าตามแนวพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2560). เดี๋ยวมันก็ผ่านไป [วีดิโอ]. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2562, จากhttps://www.youtube.com/watch? v=t28zU09jfA4.

พระมหาสมปอง. (2562). คนแท้ไม่ท้อ [วีดิโอ]. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2562, จาก https://www.youtube.com/watch?v=kT5gKc3_Jcs

พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ. (2551). จิตบำบัดแนวพุทธ: การบำบัดด้วยสติ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 16(2), 119-129.

พุทธทาสภิกขุ. (2559). บทความสู่สุขคติ: สัพเพ ธัมมานาลัง อภินิเวสายะ. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2562, จาก https://chapanakij.com/ article/58.

มาโนช หล่อตระกูล และ ปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.

มาริสา อุทยาพงษ์. (2560). การประยุกต์ใช้การเจริญสติเพื่อป้องกันผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(2), 109-122.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2559). ประสิทธิผลของ โปรแกรมการฝึกสมาธิต่อพหุปัญญาของ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(3), 44-53.

สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี. (2560). สร้างเสริมสุขภาพด้วยสมาธิบำบัดแบบ SKT 1-7. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561, จาก https:// goodlifeupdate.com/healthy-mind/dham¬ma/9742.html

สายฝน เอกวรางกูร. (2554). รู้จัก เข้าใจ ดูแล ภาวะ ซึมเศร้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริรัตน์ จันทรมะโน และเจนระวี สว่างอารีย์รักษ์. (2554). แบบแผนการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่มีคุณภาพชีวิตดี. วารสารสภาการพยาบาล, 26(2), 57-68.

สุนันทา เอ๊าเจริญ, ชิดชนก เทพพิทักษ์, ศศิสังวาลย์ ศรีสังข์, พระปลัดสมชาย ปโยโค (ดำเนิน), และพระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท. (2560). ผลของโปรแกรมการลดภาวะซึมเศร้าในโรคติดต่อ ไม่เรื้อรังด้วยพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(1), 89-102.

หลวงปู่ เทสก์ เทสรังสี .(2560). ศีลสู่สมาธิ. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2562, จาก https://www.dhammathai.org/articles/dbview.php?No=1118

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย และ พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2553). การบำบัดรักษาทางจิตสังคมสำหรับโรคซึมเศร้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัครพิชญ์ หลอดทอง. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหวในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 11(1), 30-37.

World Health Organization. (2012). Depression health topic. Retrieved January 10, 2019, from https://www.who.int/mediacentre/ factsheets/fs369/en

World Health Organization. (2018). Depression. Retrieved September 12, 2018, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27