การประเมินผลโครงการ การพัฒนาคุณภาพบันทึกทางการพยาบาลจิตเวช งานบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจิตเวชสวนปรุง

Main Article Content

ประหยัด ประภาพรหม
ราณี พรมานะจิรังกุล
มธุริน คำวงศ์ปิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการพัฒนาคุณภาพบันทึกทางการพยาบาลจิตเวช งานบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสวนปรุง ตามซิปโมเดล (Stufflebeam, 2003) ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์โครงการ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยใน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2552 - 30 มิถุนายน 2551 จำนวน 125 คน และเวชระเบียนผู้ป่วย 125 แฟ้ม เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบประเมินผลบันทึกทางการพยาบาลที่สร้างมาจากแนวทางบันทึกและตรวจ

ประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน (สปสช. และสรพ., 2551) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดหมวดหมู่ตามประเด็นปัญหา และใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผล ด้านบริบท วัตถุประสงค์โครงการสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ พยาบาลวิชาชีพได้รับการอบรมศึกษาต่อด้านการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ร้อยละ 82.48 บุคลากรพยาบาลทุกระดับหมุนเวียนการปฏิบัติงานทุก 2 ปี ด้านปัจจัยนำเข้า แผนการดำเนินงานตามข้อกำหนดการออกแบบ ISO 9001:2000 ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้นำทางการพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถด้านการพยาบาลจิตเวชและการพัฒนาคุณภาพ ด้านกระบวนการ มีการประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับทีมพยาบาลวิชาชีพ และใช้กระบวนการ Plan Do Study Act ด้านผลลัพธ์ ความสมบูรณ์ของบันทึกทางการพยาบาลจิตเวช และพยาบาลวิชาชีพผ่านเกณฑ์ประเมินผลการบันทึกทางการพยาบาลจิตเวช เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 74.58 และร้อยละ 42.40 ตามลำดับได้องค์ความรู้เรื่องการบันทึกทางการพยาบาลจิตเวช มีการจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติ และกำหนดเป็นตัวชี้วัดรายบุคคล

คำสำคัญ : การประเมินผลโครงการ, คุณภาพบันทึกทางการพยาบาลจิตเวช

 

Abstract

The objective of this descriptive research was to evaluate the quality psychiatric nursing record project, inpatients departments in SuanPrung Psychiatric Hospital based on the CIPP Model including Context, Input, Process, and Product. The subjects were 125 registered nurses (RNs) who cared for inpatients department during 1 January 2009 to 30 June 2010 and 125 files of medical record. The instrument was evaluated form of nursing record based on the Medical Record Audit Guideline (NHSO & HAI, 2008). Problem category and descriptive statistics were performed for data analysis.

The results showed 4 dimensions of data; context, input, process and product. For the Context; objective of the project was relevant to vision & mission, 82.48 % of the RNs were trained in mental health and psychiatric nursing, and staffs were rotated every two years. For the Input; planning of project was reliance on ISO 9001:2000, and charged by nurse’s leadership knowledgeable in psychiatric nursing and quality improvement. For the Process; included meeting between the team project and RNs, and applying the Plan- Do-Study-Act process. For the Outcome; the integrity of nursing record increase of 74.58 %, 42.40 % of RNs were met the psychiatric nursing record criteria. Knowledge gains in this study contribute to use in psychiatric nursing record, the group of practitioners and individual score card were set.

Key Words : Evaluate, quality of psychiatric nursing record

Article Details

บท
บทความวิจัย